วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการตกปลา


เทคนิคการตกปลา 

     สำหรับผู้ต้องการความรู้ ไม่ได้เป็นการอวดรู้นะครับสำหรับท่านที่ผ่านมาอ่านและอาจจะคิดว่าไม่ใช่หรือไม่ตรงกับความคิดของท่านก็ผ่านไปนะครับ สำหรับให้นักตกปลาเริ่มต้น หรือเยาวชนได้อ่านกันแล้วกันครับ
1.     ปลากินยาก อาจจะต้องใช้ตัวเบ็ดเล็ก + ตัวเกี่ยวเล็ก เพราะปลาระแวงในการกิน จะมาเก็บเหยื่อชิ้นเล็กๆ ทำให้การได้ตัวปลาง่ายขึ้น          
2.     บางครั้งปลากินเหยื่อยากใช้เทคนิคข้อ 1 แล้วปลากินอาจจะไม่ลากเหยื่อ ก็ต้องถือคันรอ ปลากินแบบปลาตอดเหยื่อเบาๆ เราก็ต้องตวัดคันเลยโดยปลาไม่ลากเหยื่อ ก็จะทำให้ได้ตัวปลาเช่นกัน ปลาสวายนะครับกินเหมือนปลาเล็กๆ
3.     สายหน้าจากตะกร้อเหยื่อ สั้นหรือยาว ก็ต้องแล้วแต่สถานที่ที่เราตกปลาอยู่ ถ้าเป็นบ่อไม่นานมาก พื้นก้นบ่อแข็งไม่มีเลนมาก สายหน้าก็ไม่ต้องยาวมาก (อันนี้ไม่ตายตัวนะครับบางทีปลาก็กินสายหน้าสั้น บางทีก็กินสายหน้ายาว คงต้องปรับเปลี่ยเอาครับ) แต่ถ้าเป็นบ่อเก่าๆ เลนตรมก้นบ่อมีมากสายหน้าก็ต้องยาวกว่าปกติ เพราะเวลาเหยื่อกองบนพื้นก้นบ่อ การเก็บกินของปลาก็จะง่ายไม่ใช่จมอยู่กับเลนตรมก้นบ่อ
4.     จากข้อ ตะกร้อใส่ตะกั่ว หนัก,เบา ถ้าใช้ตัวใส่ตะกั่วหนัก แล้วมีเลนมากก็จะจม ปลาก็จะเก็บกินเหยื่อยากหมายถึงเหยื่อที่หุ้มตะกร้อ เพราะธรรมชาติของปลาจะมาเก็บกินเหยื่อขนมปังชิ้นเล็กๆ อีกอย่างที่เราใส่ตะกั่วที่ตะกร้อ ก็เพื่อให้ปลาตกใจเวลาที่ดูดกินเหยื่อแล้วเบ็ดติดปาก ทำให้ปลาออกตัววิ่งๆๆๆๆ และความหนักของตะกั่วก็ทำให้คมเบ็ดฝังลงลึก ก่อนที่เราจะตวัดคันอีกที  อีกอย่างเป็นการโชว์เสียงรอกที่ดังๆก็ได้นะครับ 
5.     ในปัจจุบัน บ่อตกปลาเป็นสถานที่ พักผ่อนให้นักตกปลา และหลายๆบ่อตอนนี้ ให้ใช้เฉพาะเปลือกขนมปัง เสียเป็นส่วนมาก โดยมีเปลือกขนมปังเปลือกล้วน,เปลือกขนมปังเปลือกเนื้อ(นิ่มกว่า)  รำข้าว และโดยส่วนมากจะไม่ให้นักตกปลานำเหยื่อมาเอง ซึ่งที่ผ่านมาจะเป็นพวกเหยื่อหมักมีทั้งหอม, และเหยื่อหมักเปรี้ยว รวมทั้งความมันของเหยื่อหมัก บ่อทั่วๆส่วนมากก็ห้ามใช้ เหตุผลที่บอกมาทำให้น้ำเสีย แต่ก็ต้องเข้าใจครับ ธุระกิจ บ่อตกปลาเขาจะอยู่ได้ ก็ต้องอยู่ที่การขาย เหยื่อตกปลา อาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ต่างๆอีกด้วย ไม่ใช่เฉพาะแค่ค่าชั่วโมงอย่างเดียว ต้องเข้าใจ
6.     เทคนิคต่างๆ นักตกปลาต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะตกหน้าดิน หรือทุ่นลอย ปลาขึ้นน้ำช่วงไหน ปลากินหน้าดิน หรือใช้ทุ่นลอย ช่วงไหนดีกว่ากัน เวลาตกทุ่นลอยความลึกของเหยื่อลึกมากน้อยขนาดไหน    ต้องทดลองอยู่ตลอดเวลาอย่าลืมนะครับ
7.     การปั้นเหยื่อ สำคัญมากนะครับอย่ามองข้าม เคยมีการทดลองมาแล้ว เหยื่อถังเดียวกัน คนตกปลาหลายๆคน เทคนิคของแต่ละคนต่างกัน บางคนกินเร็ว บางคนกินช้า บางคนไม่กินเลย ทั้งๆที่เหยื่อถังเดียวกัน ปั้นเหยื่ออย่างไรให้ปลากิน ขนมปังผสมน้ำแล้วนิ่มมากน้อย แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ปั้นเหยื่อให้แน่นพอเหมาะ ลองทำดูนะครับ ถ้าเหยื่อที่เราปั้นแล้วตีออกไป ตกน้ำแล้วเหยื่อไม่แตกตัวออกเป็นชิ้นเล็กๆ ปลาจะเข้ามาเก็บกินเหยื่อได้อย่างไร และโดยเฉพาะชิ้นเหยื่อที่เป็นตัวเกี่ยวเบ็ด เสียงของเหยื่อที่ตกน้ำดังไม่เหมือนกัน ปั้นเหยื่อแน่นมากๆ ตกน้ำแล้วดังเหมือนก้อนดิน แสดงว่าบีบแน่นเกินไป (ปลากินยาก ตัวเบ็ดเล็ก + ตัวเกี่ยวเล็ก หรือตัวเบ็ดอาจจะเบอร์ใหญ่หน่อย ก็เกี่ยวขนมปังให้ชิ้นเล็กได้ ไม่ใช่ชิ้นใหญ่ขนาดปลายข้อนิ้วหัวแม่มือ แล้วยังบีบให้แน่นอีก ไม่ต้องกลัวตัวเกี่ยวหลุด หรือ ปลาจะไม่เห็นครับ เราไม่ได้ตีเหยื่อแช่นานมากๆ เราต้องเปลี่ยนเหยื่อบ่อยครั้งอยู่แล้วเวลาปลากินช้า เทคนิคนี้จะทำให้ปลาก็จะกินง่ายกว่า เพราะปลาระแวงน้อยกว่าในการเก็บกินชิ้นขนมปังเล็กๆ) เทคนิคเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการสังเกตุและเรียนรู้ครับ 
8.    การกำเหยื่อครับ จากที่บอกไว้ถึงการผสมเหยื่อในเว็ปฯเรา บางบ่ออาจจะไม่ให้ใช้หัวเชื้อ ก็ขนมปังปั่น เป็นขอบล้วน หรือขอบเนื้อ ผสมน้ำให้พอเหมาะแล้วทิ้งไว้สักครู่ขนมปังจะนุ่ม (หรือจะเป็นหัวเชื้ออะไรก็แล้วแต่ที่ทางบ่อให้ใช้ได้ หรือหัวเชื้อสูตรของท่านเอง) กำเหยื่อชั้นแรกให้แน่นกับตะกร้อ ขนาดอาจจะพอดีกับตะกร้อ แล้วกำชั้นนอกให้นุ่มถ้าตีเบ็ดแล้วแตกก็กำแน่นขึ้นอีกหน่อย ไม่ใช่เอาขนมปังปั่นแห้งมาใส่หัวเชื้อ หรือกำแน่นๆ ปลาจะกินยากกว่ามากๆ ทดลองดูนะครับ (เทคนิคนี้ใช้ได้หมดครับ_แม้กระทั่งขนมปั่งเปล่าๆ) 
   **เสียเวลาอ่านสักนิด การผสมเหยื่อ ตามนี้เลยครับ ----> :-)  การผสมเหยื่อ ปั้นเหยื่อ กำเหยื่อ เกี่ยวชิ้นขนมปัง  
   อ่านกันแล้วคิดอย่างไร... เทคนิคที่บอกมาใช้ได้ผลแน่นอน และให้ได้ผลดีมากๆ อย่าลืมทดลองสั่ง NKA หัวเชื้อหอม ไปลองตกกันบ้างนะครับ เพื่ื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้นกับเทคนิคต่างๆ ที่บอกไว้ข้างบนนะครับ เพราะรับประกันว่าหัวเชื้อตัวนี้ กินดีแน่นอนครับ....ไม่ว่าจะเป็นสูตรแดง หรือสูตรเขียว :-) ขอให้ทุกคนๆสนุกกับการตกปลานะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น