วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคขาดสารอาหาร


โรคขาดสารอาหาร
   คือ โรคที่เกิดจากภาวะโภชนาการบกพร่องทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด มีสาเหตุดังนี้
  1. รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งไม่มีอะไรทดแทนในการป้องกัน
    โรคอาจเนื่องมาจากความยากจน ห่างไกลความเจริญและแหล่ง อาหาร
  2. รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง อาจเนื่องมาจากการขาดความรู้ ในการเลือกกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการรับประทาน
    อาหารไม่ถูต้อง หรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการรับประทาน อาหารจากผลวิจัยพบว่าขาดธาตุเหล็กมีผลกระทบไม่เฉพาะเด็กหญิง เท่านั้นเพราะธาตุเหล็กทำให้มีสมาธิในการเรียน
  3. มีความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีโรคประจำตัว
สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร
   เกิดจากพฤติกรรมและนิสัยส่วนตัวในการกินอาหาร และด้วยปัจจัยทาง
ด้านเศรษฐกิจ(ฐานะยากจน) จึงทำให้เด็กต้องกินอาหารเท่าที่พ่อแม่จะหา
มาได้การดูแลเรื่องการกินอาหาร (โภชนาการ) ของเด็กในวัยเรียนเหล่านี้ จะเห็นว่าเด็กไม่ได้กินตามหลักโภชนาการ
แต่กินเพียงเพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอดเท่านั้น ส่วนมากคนที่มีความสำคัญที่ต้องคอยดูแลในเรื่อง โภชนาการของเด็ก
คือ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู (ญาติ) ที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทำให้เด็กเกิดโรคขาดสาร
อาหารโดยไม่รู้ตัว
โรคขาดสารอาหารเป็นปัญหาที่สำคัญ
   ของประชากรและเป็นสาเหตุให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น หากไม่ถึงกับเสียชีวิตร่างกายก็จะแคระแกร็น ไม่
เจริญเติบโต ทั้งทางด้านพฤติกรรมและสังคม การแก้ไขปัญหาโรคขาดสารอาหารที่เกิดกับเด็ก ทำได้โดยการทำให้
ประชาชนตระหนักถึงการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่สมบูรณ์และดีที่สุด สำหรับใช้เลี้ยงทารก
หากเป็นไปได้ควรให้เด็กได้ดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองด้วย
ตัวอย่างการแก้ไขและป้องกันโรคขาดสารอาหาร(โปรตีน)
   สำหรับคนที่มีรายได้น้อยโดยการกินอาหารที่ให้โปรตีนจากพืชแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพง โปรตีนจากพืช
เรียกว่า “โปรตีนเกษตร” มีลักษณะคล้ายเนื้อสัตว์และให้คุณค่าทางโภชนาการ (โปรตีน) ไม่น้อยไปกว่าเนื้อสัตว์ ใน
ราคาที่ไม่แพงนัก การนำโปรตีนเกษตรมาประกอบอาหารให้เด็กเล็กกิน จะช่วยให้เด็กได้รับโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหาร
ที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก
โดยสรุปก็คือต้องมีความรู้ทางโภชนาการ
   รู้จักการเลือกกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน และในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน
หากสารอาหารที่จำเป็นมีราคาแพง เช่น เนื้อสัตว์ก็หาสิ่งที่มาทดแทน (โปรตีนเกษตร) เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่
จำเป็น ครบถ้วนและไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร.
โรคขาดธาตุเหล็ก เหล็กเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำ
ไปใช้ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติทั่วไปหญิงมีครรภ์ และหญิงที่มี
ประจำเดือนต้องการธาตุเหล็กมากกว่าชาย เพราะสูญเสียเลือดมากกว่า ทำให้เป็น
โรคโลหิตจางกันมาก และเป็นได้ทุกวัย โรคนี้พบมากในภาคเหนือและภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ 
สาเหตุ
   เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก กินอาหารที่มีเหล็กไม่พอหรือร่างกายเสียเลือดมาก หรือเป็นโรคพยาธิลำไส้ นอกจากนี้อาจเนื่องจากขาดโปรตีน วิตามินบี 12 และกรด
โฟลิค โดยเฉพาะในหญิงมีครรภ์และทารก และเด็กทารกและเด็กเป็นโรคนี้ได้ โดย
เฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเลือดจาง และในทารกที่คลอดก่อน
กำหนด หญิงมีครรภ์และวัยรุ่นซึ่งต้องการเหล็กมากกว่าปกติ อาจเป็นโรคเลือดจาง
ได้ง่าย
อาการ
  1. เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
  2. หงุดหงิด มึนงง ปวดศีรษะ
  3. ผิวพรรณซีด
  4. เล็บบาง เปราะและซีด
โรคเหน็บชา
  เป็นผลจากการขาด วิตามินบี 1 ซึ่งทำหน้าที่ เร่งปฏิกิริยาในการ เผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อร่างกายขาดวิตามิน
บี 1 จะทำให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวนไปจาก
ปกติ เป็นโรคที่พบบ่อยในหญิงมีครรภ์ ผู้ใช้แรงงาน ทารกและ ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ
สาเหตุ
   เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของร่างกายและการขาดความรู้
อาการ
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ชาตามมือและเท้า ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง แขน-ขาลีบ ไม่มีแรงเดินเปะปะ หายใจลำบาก หัวใจบวมโต ถ้าไม่รักษาอาจถึงแก่ชีวิตได้ด้วยโรคหัวใจวาย
การป้องกัน
โรคเหน็บชาไม่ใช่โรคที่เกิดจากความอดอยากหากแต่เกิดเพราะการรับประทานอาหารไม่ถูก สัดส่วนการป้องกันอาจทำได้โดยส่งเสริมให้กินอาหารที่มีวิตามินบี๑ สูง เช่น เนื้อหมู ถั่วเหลือง ผู้ที่ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยวใบเมี่ยงเป็นประจำ ถ้าเลิกได้เป็นการดีที่สุดถ้าทำไม่ได้ก็ดื่มน้ำชาหรือเคี้ยว ใบเมี่ยงให้น้อยลง และควรทำในระหว่างมื้ออาหาร ผู้ที่ชอบกินปลาร้าดิบ ควรเปลี่ยนเป็นต้มให้ สุกเสียก่อน เลิกดื่มเหล้าเป็นประจำเวลาเกิดการเจ็บป่วยก็ไม่อดของแสลง ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นมีคุณค่าทางโภชนาการ การหุงต้มทุกชนิดควรใช้น้ำแต่พอประมาณ เช่น ควรหุงข้าวแบบไม่เช็ดน้ำส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือ และรัฐควรวางมาตรฐานการสีข้าวของโรงสีต่างๆ เพื่อสงวนคุณค่าของวิตามินบี๑ ไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น