วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่1

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่1
เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ขึ้นในยุโรป ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ ในความเป็นกลาง แต่พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อน ไหวของคู่สงครามอย่างใกล้ชิด
การสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนี และออสเตรีย -ฮังการี เมื่อ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่ง ไปช่วยสงครามยุโรป การส่งทหารไปรบครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียนรู้ วิชาการทางเทคนิคการรบ และ การช่างในสมรภูมิ
จริง ๆ เมื่อเสร็จสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซา ยด้วย ผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่าง ๆ ที่ไทยทำ กับเยอรมนี และ ออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลง ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่น ๆ แต่ ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วย เหลือ จาก ดร. ฟราน ซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกา ซึ่ง เคยเป็นที่ปรึกษา ต่างประเทศ จนได้รับพระ ราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยากัลยา ณ ไมตรี ใน ที่สุด ประเทศต่าง ๆ 13 ประเทศ รวม ทั้ง อังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. ๒๔๖๘ และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๖๗ ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมี เงื่อนไขบางประการ เช่น จะ ยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และ ยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอาการ ยกเว้น บางอย่าง ที่ อังกฤษขอลดหย่อนต่อไป อีก ๑๐ ปี เช่น ภาษี สินค้า ฝ้าย เป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่าง ๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และ เปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่ กับ ไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ไทยได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และ ภาษีอากร คืนมา โดย สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น