วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลิ่นปาก - คุณมีปัญหานี้อยู่หรือไม่?


กลิ่นปาก - คุณมีปัญหานี้อยู่หรือไม่?

ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใส่ใจในความจริงที่ว่า ตนเองกำลังมีกลิ่นปาก หรือ "ลมหายใจมีกลิ่น" ตามที่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรม อ้างอิงถึงในเรื่องนี้เอาไว้ โดยแท้จริงแล้ว หนึ่งในสี่ของคนเรามีกลิ่นปากและงานวิจัยบางอย่าง ได้รายงานไว้ว่า ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรวัยผู้ใหญ่ต่างก็มีกลิ่นปาก (1) ในความเป็นจริงแล้ว มีการประมาณการไว้ว่า ประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกาเกือบ 60 ล้านคนจะมีปัญหาในเรื่องลมหายใจมีกลิ่นเรื้อรัง (2)
อาหารบางอย่าง สภาวะทางสุขภาพและอุปนิสัย จัดอยู่ในกลุ่มสาเหตุของการมีกลิ่นปาก ในหลายกรณีที่เราสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นปากได้ด้วยสุขอนามัยทางช่องปากที่ดี
หากเทคนิคดูแลรักษาด้วยตนเองแบบง่าย ๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ คุณอาจต;้องไปพบทันแพทย์เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิด ปัญหาที่ร้ายแรงในเรื่องการมีกลิ่นปากขึ้นได้
สาเหตุของกลิ่นปาก
กลิ่นปากสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกอาจเป็นเรื่องของประเภทอาหารที่เรา รับประทานเข้าไป เช่น อาหารที่มีรสเผ็ดหรือมีกลิ่นตามธรรมชาติ (เครื่องเทศบางอย่างที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น กระเทียม หัวหอม หรือแม้แต่ปลาทูน่าและทาโก) หากคุณคิดว่ากลิ่นปากของคุณเกี่ยวข้องกับอาหารที่ คุณบริโภค ให้ลองบันทึกอาหารที่คุณรับประทานเพื่อระบุว่าเป็น เพราะเหตุผลนี้หรือไม่ ผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถมี กลิ่นปากได้เช่นกัน
ปัจจัยภายในรวมถึงปัจจัยทางช่องปากที่สามารถมีผลต่อร่างกายอย่างเป็นระบบ ลิ้นก็เป็นส่วนที่แบคทีเรียต่าง ๆ เกาะตัวและเติบโตขึ้นได้เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่แบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นจะผลิตสารที่ก่อ ให้เกิดกลิ่นที่เรียกว่าเป็นสารระเหย (VSCs) โดยสาร VSC เบื้องต้นที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก คือ ไฮโดรเจนซัลไฟด์และเมธิลเมอร์แคบแทน แบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นปากส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณ ส่วนโคนลิ้น
สาเหตุอื่น ๆ ของกลิ่นปากอาจได้แก่สาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้(3):
  • ปัญหาในเรื่องช่องปากและฟัน (อนามัยทางช่องปากที่ไม่ดีพอ โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์)
  • Dentures (plaque and food can develop on dentures)
  • ปากคอแห้ง (ไม่มีการหลั่งน้ำลาย)
  • ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องช่องปาก จมูกและช่องคอ (หากติดเชื้อที่ไซนัสหรือช่องคอและ ทอนซิลอักเสบแบบไม่แสดงอาการ)
  • โรคที่เกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย ต่างๆ (โรคเบาหวาน การติดเชื้อหรือเป็นฝีที่ปอด ตับหรือไตวาย ความเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารต่างๆ)
  • ผู้ป่วยที่ควบคุมอาหารเป็นประจำ
กรุณาพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านทันตกรรมเพื่อทำการ นัดพบทันตแพทย์ในการตรวจหาสาเหตุที่มีกลิ่นปาก และทำความสะอาดช่องปากของคุณให้สะอาดอย่าง ต่อเนื่องด้วย 585;ารใช้ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของ ฟลูออไรด์และช่วยในการป้องกันแบคทีเรีย จัดฟันด้วยไหมขัดฟันทุกวัน และทำความสะอาดลิ้นด้วยแปรงหรือเครื่องขูดลิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น