วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคจิต


โรคจิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคจิต
(Psychosis)
การจำแนก และแหล่งข้อมูลอื่น
ICD-9290-299
OMIM603342 608923 603175192430
MedlinePlus001553
MeSHF03.700.675
โรคจิต หรือ วิกลจริต (อังกฤษpsychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ)

[แก้]อาการของโรคจิต

อาการของโรคจิตมีดังนี้
  • ประสาทสัมผัสหลอน (hallucination) เช่น ได้ยินเสียงคนที่ตายไปแล้ว ได้ยินเสียงกระแสจิต หรือเห็นภาพที่คนอื่นไม่เห็น ได้กลิ่นที่คนอื่นไม่ได้กลิ่น และอาการเหล่านี้เป็นบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน
  • หลงผิดอย่างรุนแรง (delusion) เช่นคิดว่ามีคนจะมาฆ่า ทั้งที่จริงๆไม่มี หรือคิดว่าตัวเอง เป็นพระเจ้ากลับชาติมาเกิด หรือคิดว่ามีมนุษย์ต่างดาวจับตนไปฝังเครื่องส่งสัญญาณ โดยที่ไม่มีรายละเอียดหรือเหตุผลใดที่น่าเชื่อถือ
  • พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavioral change หรือ disorganized behaviour) ถ้าในช่วงแรกจะสังเกตได้ยาก ต้องเป็นคนใกล้ชิดเท่านั้น ที่พอทราบ แต่ช่วงหลังจะเปลี่ยนหนัก เช่น ไม่หลับไม่นอน ไม่กินอาหาร เดินทั้งคืน พูดคนเดียว

[แก้]สาเหตุของโรคจิต

มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคทางสมองเช่นถูกกระทบกระเทือนสมอง การใช้สารเสพติด เช่น ดมกาว ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี ยาลดความอ้วนบางประเภท กัญชา หรือ แม้แต่สุรา หรือเป็นจากสารพันธุกรรม (มักเริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น) โดยพบว่า ในคน 100 คน จะพบ คนเป็นโรคจิต ประมาณ 3-4 คน โดยในนั้นโรคจิตที่พบบ่อยที่สุด คือ “โรคจิตเภท” ในคน 100 คน พบได้ 1 คน

[แก้]การรักษา

ทางการแพทย์พบว่าคนเป็นโรคจิต มีสารเคมีชื่อ Dopamine ในสมองที่สูงผิดปกติ การรักษาจึงเป็นการใช้ยาปรับสมดุลในสมอง ซึ่งถ้าไม่รักษา ปล่อยให้สารตัวนี้สูงผิดปกติไปเป็นเวลานานๆ สิ่งที่ตามมาคือการทำลายเนื้อสมองถาวร และผู้ป่วยจะไม่กลับคืนปกติ ดังเช่นที่เห็นในผู้ป่วยบางรายที่ญาติคิดว่าผีเข้า ไม่พามารักษา ไปรักษาหมอผี หมดเงินเป็นแสน กว่าจะมาพบแพทย์ก็สายเกิน ไม่สามารถเหมือนเดิมได้ หรือคนที่ใช้สารเสพติดนานๆ สมองจะถูกทำลายไปมาก จนไม่สามารถกลับปกติได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะไม่หักล้างความเชื่อ แต่ถ้าญาติอยากรักษาทางไสยศาสตร์ แพทย์ก็มักจะแนะนำให้รักษาทางยาด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น