วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ที่มาของเพลงพื้นบ้าน


ที่มาของเพลงพื้นบ้าน

   เพลงพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีมาช้านานแล้ว ถ่ายทอดกัน โดยทางมุขปาฐะ จำต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน เชื่อกันว่า มีกำเนิด ก่อนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสียอีก ต่อ มาค่อยมีชื่อ เสียง มีแบบสัมผัสคล้องจอง ท่วงทำนองไป ตามภาษาถิ่นนั้นๆ ใน การขับร้องเพื่อความบันเทิงต่างๆ จะมี
จังหวะดนตรีท้องถิ่น (Folk music) เข้ามา และมีการร้อง รำทำเพลงไปด้วยจึงเกิดเป็นระบำชาวบ้าน (Folk dance)เพลงพื้นบ้านใช้ร้องรำในงานบันเทิงต่างๆ มีงานลงแขกเกี่ยว
ข้าว ตรุษสงกรานต์ ฯลฯ
   สำหรับประวัติ ความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านในประเทศไทยนั้น มีมา นาน แล้วดังข้อความในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวว่า “เสียงพาทย์ เสียงพิน เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว” และในไตร ภูมิพระร่วงของพญาลิไท กล่าวว่า “…บ้างเต้น บ้าง รำ บ้างฟ้อนระบำ บรรฤาดุริยดนตรี บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเป่า บ้างขับสรรพสำเนียง เสียงหมู่นักคุณจนกันไปเดียรดาษ…" ต่อ มาในสมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีข้อความใน กฎมณเฑียรบาล ตอนที่ 15 ได้กล่าว ถึงการเล่นร้องเรือ เป่าขลุ่ย เป่า ปี่ ตีทับ ขับรำ ซึ่งเป็นเพลงและดนตรีสมัยนั้น
   นอกจากนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กล่าวถึงการเล่นเพลง เทพทองของพระมหานาค วัดท่าทราย ไว้ในหนังสือปุณโณวาทคำ ฉันท์ เป็นการแสดงที่เป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ในงานสมโภชพระพุทธบาท สระบุรี ดังนั้นกล่าวได้ว่า ในสมัยอยุธยา มีการกล่าวถึงเพลงพื้น บ้านอยู่ 2 ประการ คือ เพลงเรือ และเพลงเทพทอง ต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านชนิดต่าง มากที่สุด ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็น “ยุคทอง” ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้อง โต้ตอบกัน) เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง หลังสมัย รัชกาลที่ 5 อิทธิ พลวัฒนธรรมตะวันตกทำให้เกิดเพลงไทยสากลขึ้น เพลงพื้นบ้านจึงเริ่มหมดความนิยมลงทีละน้อยๆ ปัจจุบันเพลงพื้นบ้าน ได้รับการฟื้นฟูบ้าง จากหน่วยงานที่เห็นคุณค่า แต่ก็เป็นไปในรูปของการอนุรักษ์ไว้ เท่านั้น ปัญหาเนื่องมาจากขาดผู้สนใจสืบทอด เพลงพื้นบ้านจึงเสื่อมสูญไปพร้อมๆ กับผู้เล่น

พัฒนาการของเพลงพื้นบ้าน

ความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านไทย การสืบหากำเนิดของเพลงพื้นบ้านของไทย ยังไม่สามารถยุติลงได้ แน่นอน เพราะเพลงพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์ แต่ คาดว่าเพลงพื้นบ้านคงเกิดมาคู่กับสังคมไทยมาช้านานแล้ว เช่น เพลงกล่อมเด็กก็คงเกิดขึ้นมา พร้อมๆ กับการเลี้ยงดูลูกของหญิงไทย การศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านของไทยมีผู้สนใจ เอนก นาวิกมูล เขียนไว้ในหนังสือชื่อ เพลงนอกศตวรรษ และสุกัญญา สุจฉายา เสนอไว้ในงานวิจัย เรื่อง“เพลงปฏิพากย์ : การศึกษา ในเชิงวรรณคดีวิเคราะห์” ซึ่งได้กล่าวถึงพัฒนาการของเพลงพื้นบ้าน โดยเฉพาะเพลงปฏิพากย์ ซึ่งค้นคว้าและสืบค้นจากวรรณคดีลายลักษณ์ และการสัมภาษณ์พ่อเพลงแม่ เพลง พอสรุปได้ ดังนี้
  • สมัยอยุธยาในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการกล่าวถึง “การขับซอ”ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทยภาคเหนือ ปรากฏใน วรรณคดี ทวาทศมาส และ ลิลิตพระลอ และ กล่าวถึง "เพลงร้องเรือ"หรือ “เพลงเรือ” ซึ่ง เป็นเพลงที่ชายหญิงชาวอยุธยาร้องเล่นในเรือ มี เครื่องดนตรีประกอบ ปรากฏใน กฎมณเทียรบาลที่ตราขึ้นสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยอยุธยา ตอนปลายในรัชกาล พระเจ้าบรมโกศ มีการกล่าว ถึง “เพลงเทพทอง” ว่า เป็นเพลงโต้ตอบที่เป็น มหรสพชนิดหนึ่ง ในงานสมโภชพระพุทธบาท สระบุรี ปรากฏใน ปุณโณวาทคำฉันท์  ของพระ มหานาควัดท่าทราย
  • สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลง พื้นบ้านชนิด ต่างๆ มากที่สุดตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็น "ยุคทอง" ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิ พากย์จะเห็นจากการปรากฏเป็นมหรสพใน งานพระ ราชพิธี และมีการสร้างเพลงชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง ซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวบ้าน ไม่แพ้มหรสพอื่น
       ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีหลักฐานว่า
     เพลงเทพทอง เป็นเพลงปฏิพากย์เก่าที่สุดที่สืบ ทอดมาจากสมัย อยุธยา มีการกล่าวถึงในฐานะเป็นมหรสพเล่นในงานพิธี ถวายพระเพลิงพระชนก และพระชนนีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ เพลงปรบไก่ มีการกล่าวไว้ใน จารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่าเป็นมหรสพชนิดหนึ่งที่เล่นในงานฉลองวัดในสมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจาก นี้ยังมีการอ้างถึงเพลงทั้งสองใน วรรณคดีอีกหลายเล่ม เช่น บทละครอุณรุท อิเหนา และขุนช้าง
    ขุนแผน เป็นต้น
      ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการกล่าวถึงเพลงปฏิพากย์ ในโคลงพระราช พิธีทวาทศมาสว่าในงานลอยกระทงมีการเล่นสักวา เพลงครึ่งท่อน เพลงปรบไก่และดอกสร้อย เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ที่เคยรุ่งโรจน์มา แต่ รัชกาลต้นๆ เริ่ม ซบเซาลง เพราะเกิดกระแสความนิยม “ แอ่วลาว ” ขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ ชนชั้นสูง รัชกาลที่ ๔ ทรง เกรงว่าการละเล่นพื้นบ้านของไทยจะสูญหมด จึงทรงออกประกาศ ห้ามเล่นแอ่วลาวต่อไป
   ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านเล่นเพลงพื้นบ้าน ถวายให้ ทอดพระเนตรในขณะที่ประทับ ณ พระราชวังบาง ปะอิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำ เพลงชาวบ้านมาเล่นถวาย พระมหากษัตริย์ให้ทอดพระเนตร และในรัชสมัยนี้การละเล่นพื้น บ้านยังเป็นที่นิยมอยู่ โดย เฉพาะทางด้านศิลปะการแสดงที่เป็น มหรสพ นอกจากจะมี โขน ละคร หุ่น หนังใหญ่ หนังตะลุง แล้ว ยังมีลิเก และลำ ตัดเกิดขึ้นใหม่ และแพร่ไปยังชาวบ้านตาม ท้องที่ต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วย
   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมเพลงพื้นบ้าน โดยทรงบรรจุบทร้องที่ใช้
ทำนองเพลงปรบไก่ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องศกุนตลา สำนวนที่เป็น บทละคร รวมทั้งได้ทรงพระราชนิ พนธ์ เรื่องพระหันอากาศและนางอุปโกศาไว้เป็นเค้าโครงเรื่องสำหรับแสดง ลิเก และโปรดเกล้าฯ ให้มี ีการแสดงลิเกในการสมโภชพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ ด้วย ใน สมัยนี้เพลงพื้นบ้านยัง คงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ได้แก่ เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง และเพลงฉ่อย เป็น ต้น  โดยเฉพาะ
เพลงฉ่อยนิยมเล่นกันทั่วไป และในสมัยนี้มีการนำเพลงพื้นบ้านมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม เช่น เพลงระบำ ชาวไร่ ของนายบุศย์ เพลงเรือชาวเหนือ ของนายเจริญ เป็นต้น

   นอกจากนั้นยังมีการบันทึกเสียงเพลงพื้นบ้านลงบนแผ่นเป็นครั้งแรก แผ่นเสียงที่ได้รับความนิยมมาก เป็นแผ่นเสียงเพลงฉ่อยของนายเป่ (เอนก นาวิกมูล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น