วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เพลงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง


เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เพลงพื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้านพื้นเมือง

เพลงพื้นบ้าน

UploadImage

เพลงพื้นบ้านเกิดจากชาวบ้านเป็นผู้สร้างบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากต่อปากโดยการจดจำบทเพลง
เป็นคำร้อง  ง่าย   ๆ ที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวในท้องถิ่นนั้น ๆ จึงทำให้เพลงพื้นบ้านขชองไทยในภาคต่าง ๆ มีความแตกต่างกันออกไปดังนี้
 
เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  การประกอบอาชีพวิถีการดำเนินชีวิต พิธีกรรม และเทศกาลต่าง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้คือ
 UploadImage
  1. เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
  2. เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียวเพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟางเพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
  3. เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่เพลงสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อยเพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้างและเพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อเพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
  4. เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆโดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกันได้แก่ เพลงเทพทองเพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น
เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใดๆซึ่งใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจโดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวลสอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ
 
 UploadImage
  1. เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
  2. เพลงจ๊อยเป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆโดยเนื้อหาของคำร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรักความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียวและจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่นจ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจจ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
  3. เพลงเด็กมีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็กและเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา
เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ (เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน )ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่มวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราชและกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ดังนี้
 UploadImage
 
  1. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำแบ่งการลำและการร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลินและลำผีฟ้า ส่วนเซิ้งหรือคำร้อง จะใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟการแห่นางแมว การแห่นางด้งโดยเนื้อเรื่องในการเซิ้งอาจเป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญการเซิ้งอวยชัยให้พร หรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตามแต่โอกาส
  2. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานานในจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราชซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชายพร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลงซึ่งเพลงโคราชนี้นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม
  3. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึมที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึมซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆและเจรียงหมายถึง การขับหรือการร้องเพลงมี 2 แบบคือเจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่งดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงานโดยจะขับร้องไปเรื่อย ๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาล
เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด มรทั้งการ้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

 UploadImage
·  เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาคหรือเพลงแห่นาคเป็นต้น
·  เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่เพลงตันหยง ซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานอตางงานงานขึ้นปีใหม่ และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับและเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลู ที่เป็นการร้องคล้าย ๆ ลำตัด โดยมีรำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษาท้องถิ่นคือภาษามลายูเป็นกลอนโต้ตอบก

ที่มาของเพลงพื้นบ้าน


ที่มาของเพลงพื้นบ้าน

   เพลงพื้นบ้านของไทยเรานั้นมีมาช้านานแล้ว ถ่ายทอดกัน โดยทางมุขปาฐะ จำต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน เชื่อกันว่า มีกำเนิด ก่อนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสียอีก ต่อ มาค่อยมีชื่อ เสียง มีแบบสัมผัสคล้องจอง ท่วงทำนองไป ตามภาษาถิ่นนั้นๆ ใน การขับร้องเพื่อความบันเทิงต่างๆ จะมี
จังหวะดนตรีท้องถิ่น (Folk music) เข้ามา และมีการร้อง รำทำเพลงไปด้วยจึงเกิดเป็นระบำชาวบ้าน (Folk dance)เพลงพื้นบ้านใช้ร้องรำในงานบันเทิงต่างๆ มีงานลงแขกเกี่ยว
ข้าว ตรุษสงกรานต์ ฯลฯ
   สำหรับประวัติ ความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านในประเทศไทยนั้น มีมา นาน แล้วดังข้อความในศิลาจารึก หลักที่ 1 กล่าวว่า “เสียงพาทย์ เสียงพิน เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว” และในไตร ภูมิพระร่วงของพญาลิไท กล่าวว่า “…บ้างเต้น บ้าง รำ บ้างฟ้อนระบำ บรรฤาดุริยดนตรี บ้างดีด บ้างสี บ้างตี บ้างเป่า บ้างขับสรรพสำเนียง เสียงหมู่นักคุณจนกันไปเดียรดาษ…" ต่อ มาในสมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ มีข้อความใน กฎมณเฑียรบาล ตอนที่ 15 ได้กล่าว ถึงการเล่นร้องเรือ เป่าขลุ่ย เป่า ปี่ ตีทับ ขับรำ ซึ่งเป็นเพลงและดนตรีสมัยนั้น
   นอกจากนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กล่าวถึงการเล่นเพลง เทพทองของพระมหานาค วัดท่าทราย ไว้ในหนังสือปุณโณวาทคำ ฉันท์ เป็นการแสดงที่เป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ในงานสมโภชพระพุทธบาท สระบุรี ดังนั้นกล่าวได้ว่า ในสมัยอยุธยา มีการกล่าวถึงเพลงพื้น บ้านอยู่ 2 ประการ คือ เพลงเรือ และเพลงเทพทอง ต่อมาใน สมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านชนิดต่าง มากที่สุด ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 เป็น “ยุคทอง” ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิพากย์ (ร้อง โต้ตอบกัน) เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง หลังสมัย รัชกาลที่ 5 อิทธิ พลวัฒนธรรมตะวันตกทำให้เกิดเพลงไทยสากลขึ้น เพลงพื้นบ้านจึงเริ่มหมดความนิยมลงทีละน้อยๆ ปัจจุบันเพลงพื้นบ้าน ได้รับการฟื้นฟูบ้าง จากหน่วยงานที่เห็นคุณค่า แต่ก็เป็นไปในรูปของการอนุรักษ์ไว้ เท่านั้น ปัญหาเนื่องมาจากขาดผู้สนใจสืบทอด เพลงพื้นบ้านจึงเสื่อมสูญไปพร้อมๆ กับผู้เล่น

พัฒนาการของเพลงพื้นบ้าน

ความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านไทย การสืบหากำเนิดของเพลงพื้นบ้านของไทย ยังไม่สามารถยุติลงได้ แน่นอน เพราะเพลงพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์ แต่ คาดว่าเพลงพื้นบ้านคงเกิดมาคู่กับสังคมไทยมาช้านานแล้ว เช่น เพลงกล่อมเด็กก็คงเกิดขึ้นมา พร้อมๆ กับการเลี้ยงดูลูกของหญิงไทย การศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงพื้นบ้านของไทยมีผู้สนใจ เอนก นาวิกมูล เขียนไว้ในหนังสือชื่อ เพลงนอกศตวรรษ และสุกัญญา สุจฉายา เสนอไว้ในงานวิจัย เรื่อง“เพลงปฏิพากย์ : การศึกษา ในเชิงวรรณคดีวิเคราะห์” ซึ่งได้กล่าวถึงพัฒนาการของเพลงพื้นบ้าน โดยเฉพาะเพลงปฏิพากย์ ซึ่งค้นคว้าและสืบค้นจากวรรณคดีลายลักษณ์ และการสัมภาษณ์พ่อเพลงแม่ เพลง พอสรุปได้ ดังนี้
  • สมัยอยุธยาในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการกล่าวถึง “การขับซอ”ซึ่งเป็นประเพณีของชาวไทยภาคเหนือ ปรากฏใน วรรณคดี ทวาทศมาส และ ลิลิตพระลอ และ กล่าวถึง "เพลงร้องเรือ"หรือ “เพลงเรือ” ซึ่ง เป็นเพลงที่ชายหญิงชาวอยุธยาร้องเล่นในเรือ มี เครื่องดนตรีประกอบ ปรากฏใน กฎมณเทียรบาลที่ตราขึ้นสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ในสมัยอยุธยา ตอนปลายในรัชกาล พระเจ้าบรมโกศ มีการกล่าว ถึง “เพลงเทพทอง” ว่า เป็นเพลงโต้ตอบที่เป็น มหรสพชนิดหนึ่ง ในงานสมโภชพระพุทธบาท สระบุรี ปรากฏใน ปุณโณวาทคำฉันท์  ของพระ มหานาควัดท่าทราย
  • สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่มีหลักฐานเกี่ยวกับเพลง พื้นบ้านชนิด ต่างๆ มากที่สุดตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็น "ยุคทอง" ของเพลงพื้นบ้านที่เป็นเพลงปฏิ พากย์จะเห็นจากการปรากฏเป็นมหรสพใน งานพระ ราชพิธี และมีการสร้างเพลงชนิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงส่งเครื่อง ซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวบ้าน ไม่แพ้มหรสพอื่น
       ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีหลักฐานว่า
     เพลงเทพทอง เป็นเพลงปฏิพากย์เก่าที่สุดที่สืบ ทอดมาจากสมัย อยุธยา มีการกล่าวถึงในฐานะเป็นมหรสพเล่นในงานพิธี ถวายพระเพลิงพระชนก และพระชนนีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และ เพลงปรบไก่ มีการกล่าวไว้ใน จารึกวัดพระเชตุพนฯ ว่าเป็นมหรสพชนิดหนึ่งที่เล่นในงานฉลองวัดในสมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจาก นี้ยังมีการอ้างถึงเพลงทั้งสองใน วรรณคดีอีกหลายเล่ม เช่น บทละครอุณรุท อิเหนา และขุนช้าง
    ขุนแผน เป็นต้น
      ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการกล่าวถึงเพลงปฏิพากย์ ในโคลงพระราช พิธีทวาทศมาสว่าในงานลอยกระทงมีการเล่นสักวา เพลงครึ่งท่อน เพลงปรบไก่และดอกสร้อย เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ที่เคยรุ่งโรจน์มา แต่ รัชกาลต้นๆ เริ่ม ซบเซาลง เพราะเกิดกระแสความนิยม “ แอ่วลาว ” ขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ ชนชั้นสูง รัชกาลที่ ๔ ทรง เกรงว่าการละเล่นพื้นบ้านของไทยจะสูญหมด จึงทรงออกประกาศ ห้ามเล่นแอ่วลาวต่อไป
   ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านเล่นเพลงพื้นบ้าน ถวายให้ ทอดพระเนตรในขณะที่ประทับ ณ พระราชวังบาง ปะอิน เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำ เพลงชาวบ้านมาเล่นถวาย พระมหากษัตริย์ให้ทอดพระเนตร และในรัชสมัยนี้การละเล่นพื้น บ้านยังเป็นที่นิยมอยู่ โดย เฉพาะทางด้านศิลปะการแสดงที่เป็น มหรสพ นอกจากจะมี โขน ละคร หุ่น หนังใหญ่ หนังตะลุง แล้ว ยังมีลิเก และลำ ตัดเกิดขึ้นใหม่ และแพร่ไปยังชาวบ้านตาม ท้องที่ต่างๆ อย่างรวดเร็วด้วย
   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมเพลงพื้นบ้าน โดยทรงบรรจุบทร้องที่ใช้
ทำนองเพลงปรบไก่ไว้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องศกุนตลา สำนวนที่เป็น บทละคร รวมทั้งได้ทรงพระราชนิ พนธ์ เรื่องพระหันอากาศและนางอุปโกศาไว้เป็นเค้าโครงเรื่องสำหรับแสดง ลิเก และโปรดเกล้าฯ ให้มี ีการแสดงลิเกในการสมโภชพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ ด้วย ใน สมัยนี้เพลงพื้นบ้านยัง คงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ได้แก่ เพลงส่งเครื่อง หรือเพลงทรงเครื่อง และเพลงฉ่อย เป็น ต้น  โดยเฉพาะ
เพลงฉ่อยนิยมเล่นกันทั่วไป และในสมัยนี้มีการนำเพลงพื้นบ้านมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม เช่น เพลงระบำ ชาวไร่ ของนายบุศย์ เพลงเรือชาวเหนือ ของนายเจริญ เป็นต้น

   นอกจากนั้นยังมีการบันทึกเสียงเพลงพื้นบ้านลงบนแผ่นเป็นครั้งแรก แผ่นเสียงที่ได้รับความนิยมมาก เป็นแผ่นเสียงเพลงฉ่อยของนายเป่ (เอนก นาวิกมูล)

เพลงเขมรไทรโยค


เพลงเขมรไทรโยค

เพลงเขมรไทรโยค เถา

ประวัติและที่มาของทำนอง

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงอาศัยเค้าโครงจากเพลงเขมรกล่อมลูก ชั้นเดียวของเก่า ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนละ ๔ จังหวะ แต่งเป็นเพลงเขมรไทรโยค อัตรา ๒ ชั้น ส่วนบทร้องทรงแต่งจากความทรงจำตั้งแต่โดยเสด็จพระราชดำเนินประพาสตำบลไทรโยคครั้งแรกมาเป็นแนวพระนิพนธ์ และนำออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๑ เนื่องจากลีลาท่วงทำนองของเพลงเขมรไทรโยค เหมาะที่จะเป็นเพลง ๓ ชั้น ปรมาจารย์ทางดนตรีไทยจึงให้ตีหน้าทับปรบไก่ ๓ ชั้นโดยอนุโลม
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีบทร้องเพลงเขมรไทรโยคขึ้นอีกบทหนึ่ง นอกเหนือจากบทร้องที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงนิพนธ์ บทร้องใหม่นี้ ต่อมา นายจอน สุนทรเกศ นักร้องจากกรมทหารมหาดเล็กที่ ๓ ได้ร้องบันทึกแผ่นเสียงไว้เป็นครั้งแรก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการนำเพลงเขมรไทรโยคมาใช้ประกอบกับละครอย่างน้อย ๓ เรื่อง คือ เรื่องพระยศเกศ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย บทพระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงและเรื่องวั่งตี่ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ.๒๔๙๑ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงเขมรไทรโยคมาแต่งขยายขึ้นอีกเท่าหนึ่ง และตัดลงเป็นชั้นเดียว ให้ชื่อว่า เพลงเขมรไทรโยค เถา ส่วนบทร้องนางจันทนา พิจิตรคุรุการ แต่ง และหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้ร้องบันทึกเสียงด้วยตนเองในอัตราชั้นเดียว
อนึ่ง บทร้องเพลงเขมรไทรโยค ชั้นเดียว ที่หลวงประดิษฐ์ไพเราะร้องบันทึกเสียงนั้น ตรงกับที่นายจอน สุนทรเกศ ขับร้องไว้ ผิดกันเพียง ๒ - ๓ คำเท่านั้น
เพลงเขมรไทรโยค เถา มีความไพเราะเรียบง่าย เหมาะกับเครื่องดนตรีทุกประเภทและสามารถบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีประเภทใดก็ได้ ดังจะเห็นได้จากงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีเพลงเขมรไทรโยค เถา จัดขึ้น ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ ๒๕๓๑ ซึ่งได้ดัดแปลงบรรเลงเพลงนี้ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งทำเป็นจังหวะบินอละแทงโกสำหรับลีลาศ และยังสามารถทำทางบรรเลงสำหรับดนตรีสากลได้อีกด้วย




บทร้องเพลงเขมรไทรโยค เถา
บทร้องที่ ๑ (เถาใหญ่)

๔ ชั้น บรรยายความ ตามไท้ เสด็จยาตร (หนาน้องเอย)
ยังไทรโยค ประพาส พนาสณฑ์ (เจ้าก็ ไม่เคยเห็น)
ไม้ไล่ หลายพันธุ์คละ ขึ้นปะปน (หนาน้องเอย)
ที่ชายชล เขาชะโงก เป็นโตรกธาร
น้ำพุพุ่งซ่า ไหลฉ่าฉาดฉาน
เห็นตระการ มันไหลจ้อกโครม จ้อกโครม
มันดัง จ้อก จ้อก จ้อก จ้อก โครมโครม

๓ ชั้น น้ำใส ไหลจนดู หมู่มัสยา
กี่เหล่าหลายว่ายมา ก็เห็นโฉม (น้องเอ๋ย เจ้าไม่เคยเห็น)
ยินปักษา ซ้องเสียง เพียงประโคม
เมื่อยามเย็น พยับโพยม ร้องเรียกรัง
เสียงนกยูงทอง มันร้องโงดัง
หูเราฟัง มันร้องกะโต้งโห่ง
มันดัง กอก กอก กอก กอก กะโต้งโห่ง

พระนิพนธ์ใน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวงศ์

๒ ชั้น เสด็จไพรไทรโยค ยลประพาส
ระดาดาด รุกขา พนาศรี (น้องเอย ไม่เคยเห็น)
เขาชะงุ้ม โงกเงื้อม เหลื่อมคีรี
อยู่ริมที่ ช่องธาร ลานศิลา
น้ำพุพุ่งโพน ไหลโจนแผ่นผา
เห็นเหมาะตา มันไหลมาคั่กคั่ก คั่กคั่กกระเซ็น

นางจันทนา พิจิตรคุรุ แต่ง




ชั้นเดียว พระดำเนิน เพลินพิศ ภูผาสูง
ยางยูง เถาวัลย์หวาย หลายหลากเห็น
อวลตลบ งามเด่น ละม้ายแม้น แดนสวรรค์

ไม่ทราบนามผู้แต่ง

บทร้องที่ ๒

๓ ชั้น บรรยายความ ตามไท้ เสด็จยาตร (หนาน้องเอย)
ยังไทรโยค ประพาส พนาสณฑ์ (เจ้าก็ ไม่เคยเห็น)
ไม้ไล่ หลายพันธุ์คละ ขึ้นปะปน (หนาน้องเอย)
ที่ชายชล เขาชะโงก เป็นโตรกธาร
น้ำพุพุ่งซ่า ไหลฉ่าฉาดฉาน
เห็นตระการ มันไหลจ้อกโครม จ้อกโครม
มันดัง จ้อก จ้อก จ้อก จ้อก โครมโครม

๒ ชั้น น้ำใส ไหลจนดู หมู่มัสยา
กี่เหล่าหลายว่ายมา ก็เห็นโฉม (น้องเอ๋ย เจ้าไม่เคยเห็น)
ยินปักษา ซ้องเสียง เพียงประโคม
เมื่อยามเย็น พยับโพยม ร้องเรียกรัง
เสียงนกยูงทอง มันร้องโงดัง
หูเราฟัง มันร้องกะโต้งโห่ง
มันดัง กอก กอก กอก กอก กะโต้งโห่ง

พระนิพนธ์ใน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวงศ์






ชั้นเดียว เสด็จไพรไทรโยค ยลประพาส
ระดาดาด รุกขา พนาศรี (น้องเอย ไม่เคยเห็น)
เขาชะงุ้ม โงกเงื้อม เหลื่อมคีรี
อยู่ริมที่ ช่องธาร ลานศิลา
น้ำพุพุ่งโพน ไหลโจนแผ่นผา
เห็นเหมาะตา มันไหลมาคั่กคั่ก คั่กคั่กกระเซ็น

นางจันทนา พิจิตรคุรุ แต่ง

เต้นกำรำเคียว


เต้นกำรำเคียว

รูปภาพของ lilla
 ประวัติความเป็นมา
             แถบจังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะอำเภอพยุหะคีรี ประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลัก หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวนารู้สึกเหน็ดเหนื่อย และด้วยนิสัยรักความสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทยด้วย ก็ชักชวนกันผ่อนคลายความเมื่อยล้า ด้วยการตั้งวงเต้นกำรำเคียว การเล่นเต้นกำรำเคียวมักเริ่มเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนเสมอ เต้นกำรำเคียวเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบท สันนิษฐานว่า เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นครั้งแรกที่บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เล่นกันแพร่หลายในบ้านสระทะเล และตำบลใกล้เคียง เช่น ตำบลม่วงหัก เป็นต้น อนึ่ง มีผู้รู้เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านคนหนึ่ง กล่าวว่า แต่เดิมชาวบ้านเรียกการละเล่นชนิดนี้ว่า “เต้นกำ” แต่กรมศิลปากรได้ไปถ่ายทอด และนำไปเผยแพร่ ก็ได้เพิ่มคำว่า “รำเคียว” ต่อท้าย จึงทำให้ประชาชนทั้งหลายรู้จักการละเล่นแบบนี้ในชื่อของ “เต้นกำรำเคียว” การนำเพลงเต้นกำรำเคียวไปเผยแพร่นั้น กรมศิลปากรได้ดัดแปลงท่ารำและเนื้อร้องใหม่ เพื่อให้สุภาพขึ้น และใช้ระนาดเป็นเครื่องดนตรีประกอบในตอนต้นและตอนท้าย เพลงเต้นกำรำเคียวนั้น ถือเป็นเพลงพื้นบ้านประจำจังหวัดนครสวรรค์ และในบางครั้งก็ใช้แทนเพลงพื้นบ้านในนามภาคกลางด้วย




ผู้เล่น
       การเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวนั้นผู้เล่นเป็นชาวบ้านที่มาเกี่ยวข้าว ไม่จำกัดจำนวน ชาย หญิง จะจับคู่เล่นกันเป็นคู่ๆ ประมาณ 5 คู่ ถึง 10 คู่
การแต่งกาย
      ทั้งของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง คือ  ชุดที่ใส่ในการทำนา ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย   และสวมเสื้อม่อฮ่อมสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มมีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหมวกสานใบลาน ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนสีดำ หรือโจงกระเบนผ้าลายก็ได้ และสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม สวมงอบ
อุปกรณ์ในการเล่น
    เคียวเกี่ยวข้าวคนละ 1 เล่ม พร้อมกับกำรวงข้าวคนละ 1 กำ
สถานที่เล่น
    เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าว หรือลานดินกว้างๆ ในท้องนา 


วิธีเล่น
        ในการเล่นจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่ละฝ่ายจะยืนอยู่คนละครึ่งวงกลม แต่ละคนถือเคียวเกี่ยวข้าวไว้ด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายกำรวงข้าวไว้ เมื่อการเล่นเริ่มต้นขึ้น ฝ่ายชายที่เป็นพ่อเพลง จะเป็นผู้เต้นออกไปกลางวง ตามจังหวะปรบมือของลูกคู่ พ่อเพลงจะร้องชักชวนแม่เพลงก่อน เพื่อให้ออกมาเพลงแรกคือ เพลงมา สำหรับลูกคู่ที่เป็นชาย จะนำเคียวและรวงข้าวมาเหน็บไว้ข้างหลัง เพื่อตบมือให้จังหวะ ส่วนลูกคู่ฝ่ายหญิงยังคงถือเคียวและรวงข้าวเหมือนเดิม แล้วเดินตามกันไปเป็นวงกลม สำหรับพ่อเพลงและแม่เพลงนั้น จะเปลี่ยนกันหลายคนก็ได้ นอกนั้นก็เป็นลูกคู่คอยร้องรับ นอกจากนี้ยังมีการรำร่อหรือเรียกว่า “ร่อกำ” กล่าวคือ เมื่อพ่อเพลงเดินเข้าไปใกล้แม่เพลง ก็หาทางเข้าใกล้ฝ่ายหญิงให้มากที่สุด เมื่อสบโอกาสก็ใช้ด้ามเคียวหรือข้อศอก กระทุ้งให้ถูกตัวฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงจะใช้เคียวและรวงข้าวปัดป้อง ถ้าหากพ่อเพลงเข้าไปผิดท่า ก็อาจถูกรวงข้าวฟาด การร่อกำนี้ พ่อเพลงที่เต้นเก่งๆ จะทำได้น่าดูมาก เพราะท่าทางสวยงามเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง ในขณะที่ร้องพ่อเพลงจะแสดงท่าทางให้สอดคล้องกับเนื้อเพลงด้วย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด  11  บท

ตัวอย่างเนื้อเพลงเต้นกำรำเคียว
 เพลงมา
ชาย   มากันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่มามารึมา แม่มา (ซ้ำ) มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติ๊ดตอด น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถินะแม่มา มารึมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันในนานี้เอย
หญิง  มากันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อมามารึมา พ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย

เพลงไป
ชาย   ไปกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ไปไปรึไป แม่ไป ไปชมนกกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันในไพร ไปชม   ชะนีผีไพรกันเล่นที่ในดงเอยหญิง  ไปกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อไปไปรึไป พ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ ตามก้นพี่ชายไปเอย

เพลงเดิน
ชาย   เดินกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่เดินเดินรึเดิน แม่เดิน ย่างเท้าขึ้นโคก เสียงโพระดกมันเกริ่น (ซ้ำ) จะชวนหมู่น้องไปท้องพะเนิน ชมเล่นให้เพลินใจเอย
หญิง  เดินกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อเดินเดินรึเดิน พ่อเดิน หนทางก็รกระหกระเหินแล้วน้องจะเดินอย่างไรเอย

เพลงรำ
ชาย   รำกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่รำรำรึรำ แม่รำ ใส่เสื้อดี แม่ห่มแต่สีดอกขำ น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอย
หญิง  รำกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อรำรำรึรำ พ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย

เพลงร่อน
ชาย   ร่อนกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ร่อนร่อนรึร่อน แม่ร่อน (ซ้ำ) รูปร่างเหมือนนางระบำ แม่เอ๋ยช่างรำ แม่คุณช่างร่อน (ซ้ำ) อ้อนแอ้นแขนอ่อน รูปร่างเหมือนมอญรำเอย
หญิง  ร่อนกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อร่อนร่อนรึร่อน พ่อร่อน สีนวลอ่อนๆ ร่อนแต่ลมบนลมเอย

เพลงบิน
ชาย   บินกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่บินบินรึบิน สองตีนกระทืบดิน ใครเลยจะบินไปได้อย่างเจ้า (ซ้ำ) ใส่งอบขาวๆ รำกำข้าวงามเอย
หญิง  บินกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อบิน บินรึบิน พ่อบิน มหาหงส์ทรงศีล บินไปตามลมเอย
เพลงยัก
ชาย   ยักกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ยักยักรึยัก แม่ยัก ยักตื้น กระไรติดกึก ยักลึก กระไรติดกัก (ซ้ำ) แม่หงส์ทองน้องรัก ยักให้หมดวงเอย    
หญิง  ยักกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อยักยักรึยัก พ่อยัก (ซ้ำ) อย่าเข้ามาใกล้น้องนัก จะโดนเคียวควักตาเอย

เพลงย่อง
ชาย   ย่องกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ย่องย่องรึย่อง แม่ย่อง บุกพงอะไรแกรกๆ สองมือก็แวกนัยน์ตาก็มอง (ซ้ำ)
พบฝูงละมั่ง กวางทอง พวกเราก็จ้องยิงเอย

หญิง  ย่องกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อย่องย่องรึย่อง พ่อย่อง ฝูงละมั่งกวางทอง ย่องมากินถั่วเอย

เพลงย่าง
ชาย   ย่างกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ย่างย่างรึย่าง แม่ย่าง ย่างเถิดย่างเถิดแม่ย่าง ย่างรึย่างแม่ย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอะกระทิงพี่ก็จะย่าง (ซ้ำ)            ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้าง จะย่างไปฝากเมียเอย
หญิง  ย่างกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อย่าง ย่างรึย่างพ่อย่าง เนื้อเสือเนื้อช้าง ย่างไปฝากเมียเอย

เพลงแถ
ชาย   แถกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่แถแถรึแถ แม่แถ (ซ้ำ) จะลงหนองไหน พี่จะไปหนองนั้นแน่ (ซ้ำ) นกกระสาปลากระแห แถให้ติดดินเอย
หญิง  แถกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อแถแถรึแถ พ่อแถ (ซ้ำ) นกกระสาปลากระแห แถมาลงหนองเอย

เพลงถอง
ชาย   ถองกันเถิดนางเอย เอ๋ยรา แม่ถองถองรึถอง แม่ถอง (ซ้ำ) ถองรึถองแม่ถอง ถองซิถองแม่ถอง คอยขยับจับจ้อง ถองให้ถูกนางเอย
หญิง  ถองกันเถิดนายเอย เอ๋ยรา พ่อถองถองรึถอง (ซ้ำ) กล้าดีก็เข้ามาลอง จะโดนกระบองตีเอย

ประวัติความเป็นมาของเพลงพื้นบ้าน

ประวัติความเป็นมาของเพลงพื้นบ้าน

ในสมัยอยุธยา มีหลักฐานกล่าวถึงเพลงพื้นบ้านเป็นครั้งแรกในกฎมณเฑียรบาล ที่ตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการกล่าวถึงเพลงชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงเรือ เป็นเพลงที่ชายหญิงร้องเล่นในเรือ ซึ่งประกาศมิให้มาร้องในท่าน้ำสระแก้ว และใกล้เขตพระราชฐานที่กำหนดไว้

ต่อมา สมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีเพลงชื่อว่า เพลงเทพทอง ปรากฏในหนังสือเรื่อง "ปุณโณวาทคำฉันท์" ของพระมหานาค ดังนี้

"เทพทองคนองเฮ    ชนเปรประดับสรวล
โต้ตอบก็ไป่ควร    ประถ้อยแถลงกัน"

จนถึงสมัยธนบุรี กล่าวถึงเพลงเทพทอง ดังปรากฏหลักฐานการมหรสพในงานพระเมรุใหญ่ ๒ งาน คือ งานพระเมรุพระอัฐิกรมพระเทพามาตย์ พระพันปีหลวง พ.ศ. ๒๓๑๙ ว่า มีเทพทอง ๒ โรง และงานพระเมรุกรมขุนอินทรพิทักษ์ มีเทพทอง ๑ โรง

สมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๑ ครั้งจัดงานฉลองพระแก้วมรกตและพระบาง ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ นั้น การมหรสพสมโภชมีเพลงพื้นบ้านอยู่ ๒ ชนิด คือ เพลงปรบไก่ และเพลงเทพทอง

สมัยรัชกาลที่ ๒ เพลงปรบไก่ยังเป็นมหรสพที่ใช้ในงานสมโภชพระยาเศวตกุญชรที่ได้มาจากเมืองโพธิสัตว์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ และสมัยรัชกาลที่ ๓ ปรากฏหลักฐานดังใน "โคลงพระราชพิธีทวาทศมาส" กล่าวถึงงานลอยกระทงว่า มีการเล่นเพลงสักวา เพลงครึ่งท่อน เพลงปรบไก่ และดอกสร้อย

ต่อมา ในรัชกาลที่ ๔ เกิดกระแสความนิยมแอ่วลาว จึงทรงออกประกาศห้ามเล่นแอ่วลาวขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ และทรงขอให้ฟื้นฟูเพลงครึ่งท่อน เพลงปรบไก่ เพลงสักวา เพลงไก่ป่า เพลงเกี่ยวข้าว ขึ้นใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ มีการประสมเพลงฉ่อยเข้ากับละครรำ เกิดเพลงพื้นบ้านชนิดใหม่เรียกว่า เพลงทรงเครื่อง หรือเพลงส่งเครื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ เพลงพื้นบ้านยังเป็นมหรสพที่ได้รับความนิยมไม่แพ้มหรสพอื่นๆ

เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เกิดความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมอย่างมาก รัฐบาลควบคุมการละเล่นพื้นบ้าน ใน พ.ศ. ๒๔๘๖ กรมศิลปากรได้กำหนดระเบียบการควบคุมการละเล่นพื้นบ้าน ให้อยู่ในกฎเกณฑ์บังคับ ส่งผลให้พ่อเพลงแม่เพลงไม่สามารถว่าเพลงได้ดังเดิม ในขณะเดียวกัน รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการรำวง อาทิ บังคับให้ข้าราชการฝึกซ้อมรำวงทุกบ่ายวันพุธ และให้รำวงในโอกาสต่างๆ การรำวงจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ส่วนเพลงพื้นบ้านดั้งเดิมก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เพลงลาวดวงเดือน

เพลงลาวดวงเดือน

  ท่อน 1  โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย                     พี่มาเว้า รักเจ้าสาว คำดวง
             โอ้ดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง                 อกพี่เป็นห่วงรัก เจ้าดวงเดือนเอย
 ท่อน 2  ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม                     พี่นี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
             จะหาไหน มาเทียม                             โอ้ เจ้าดวงเดือนเอย
 ท่อน 3  หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้                  หอมกลิ่นคล้าย เจ้าสูของเรียมเอย
             หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยัง บ่ เลย      เนื้อหอมทรามเชย เราละหนอ

       เพลงลาวดวงเดือน  เป็นเพลงไทยเพลงหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยนานมาแล้วจนกลายเป็นมรดกตกทอดอยู่ในวงการเพลงไทยมานานนับร้อยปี ผู้ที่แต่งเพลงนี้ คือ เสด็จพระองค์เพ็ญ (พระเจ้าบรม-วงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงษ์ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดามรกฎ)
       เพลงลาวดวงเดือน ได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2446 ในขณะที่เสด็จพระองค์เพ็ญทรงงานในกระทรวง 
เกษตราธิการ มีหน้าที่หลักที่ต้องรับผิดชอบ คือ การปรับปรุงพัฒนาการเลี้ยงไหมไทย ดังนั้นงานส่วนใหญ่ต้องเสด็จหัวเมืองมณฑลต่างๆ ทั้งอีสานและเหนือ ซึ่งการเดินทางไกลในสมัยนั้น มีเพียงการเดินทางทางเรือและเกวียนเท่านั้น
       เมื่อเสด็จพระองค์เพ็ญ ทรงรอนแรมเป็นเวลานานๆ ประกอบกับความเหงาในระหว่างเสด็จทรงงาน ทั้งยังคิดถึงความรักของพระองค์กับเจ้าหญิงชมชื่น (ธิดาของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับเจ้าหญิงคำย่น)
ซึ่งเป็นความรักที่ไม่สมหวัง เพราะทรงถูกคัดค้านจากพระบรมชนก ทำให้พระองค์ทรงปวดร้าวพระทัยจากสาเหตุนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้เกิดเพลง ลาวดวงเดือนขึ้น ในครั้งแรกพระองค์ทรงตั้งชื่อเพลงนี้ว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน เพราะทรงนิพนธ์ในระหว่างเดินทางด้วยเกวียน และเป็นเพลงสำเนียงลาว 

 
        ภายหลังชื่อเพลง ลาวดำเนินเกวียน ถูกเปลี่ยนไปเป็นชื่อ เพลงลาวดวงเดือน เพราะผู้คนไม่ทราบชื่อ และที่มาของเพลง จึงเรียกเอาตามสำเนียงและเนื้อร้องของเพลง ซึ่งในเนื้อร้องจะปรากฎคำว่า ดวงเดือน อยู่หลายครั้ง จึงเรียกเพลงนี้ว่า เพลงลาวดวงเดือน ส่วนทำนองเพลงนี้เสด็จพระองค์เพ็ญ ทรงดัดแปลงมาจากเพลงลาวดำเนินทราย ซึ่งแต่งโดยพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) อดีตเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง
       เนื้อเพลงลาวดวงเดือน หรือเพลงลาวดำเนินเกวียน พรรณนาถึงความปวดร้าวเนื่องจากการพลัดพรากได้อย่างละเมียดละไมมากที่สุดเพลงหนึ่ง ทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมสืบทองต่อกันมาจนกลายเป็นเพลงอมตะที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์เป็นมรดกอยู่กับตำนานเพลงไทยตลอดไป
 

เพลงฉ่อย


เพลงฉ่อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นเมืองที่ไม่ทราบถิ่นกำเนิด เป็นการละเล่นเพลงพื้นเมืองที่แพร่หลายมากที่สุดเพลงหนึ่ง มีคนร้องเล่นกันอย่างกว้างขวาง ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบการร้องนั้น มีแต่การปรบมือเป็นการให้ประกอบจังหวะอย่างเดียว แต่ส่วนภายหลังเขาเอา "กรับ" มาตีด้วย การแต่งตัวนั้น ชายหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อคอไทย คอกลมกระดุม 3 เม็ด มีผ้าขาวม้าเคียนพุง ส่วนหญิงใส่เสื้อสบาย ๆ แต่มีสไบเฉียง ทุกครั้งและขาดมิได้ เวลาเขียนคิ้วใช้ผงถ่านกากมะพร้าว

[แก้]เพลงฉ่อย มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เพลงไอ้เป๋ เนื่องจากพ่อเพลงฉ่อย ยุคแรกชื่อ ตาเป๋ มี ยายมา เป็นภรรยา เริ่มแรกเพลงฉ่อย หรือ เพลงเป๋ เป็นที่นิยมในแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และ จังหวัดใกล้เคียง ประมาณก่อนยุค พ.ศ. 2437 เป็นต้นมา ส่วนครูเพลงฉ่อย ยุคแรกเริ่มก็มี ครูเปลี่ยน - ครูเป๋ - ครูฉิม - ครูศรี - ครูบุญมา - ครูบุญมี ครูเพลงเหล่านี้มีแค่ชื่อ และ ตำนานส่วนประวัติไม่มีเลย เพลงฉ่อย นี้ปรับปรุงและดัดแปลงมาจาก เพลงโคราช - เพลงเรือและเพลงปรบไก่ เป็นต้น ก็สาเหตุเนื่องจาก เวลาปรบมือเป็นจังหวะเพลงปรบไก่ ร้องบทไหว้ครูและเกริ่นอย่างเพลงโคราช ใช้กลอนก็ใช้คล้ายกับเพลงเรือ แต่อย่างไรเพลงฉ่อย ก็น่าจะอยู่ในยุคต้นสมัยรัชกาลที่ 5ประวัติ

โคลงของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ ..มีว่าดังนี้..
บางคนเล่นเรื่องร้องขับขาน
แพนขลุ่ยซอประสานแอ่วชู้
อย่างต่ำขับขอทานโทนฉิ่ง กรับนา
ริเล่นตามตนรู้ดอกสร้อยเพลงสวรรค์
ปรบไก่ครึ่งท่อนทั้งสักวา
ร้องยักลำนานาปลอบพ้อ
แก้โต้ตอบไปมาไม่สุด สิ้นเอย
ออดแอดอ้อยอิ่งจ้อจากแล้วพายตาม
นอกจากนี้แล้วเพลงฉ่อย ยังมีชื่ออื่นอีก "ฝ่ายเหนือ" อาจหมายถึงจังหวัดทางล่างเช่น จังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ - จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
ส่วนคำว่า "เพลงตะขาบ" (ต้นฉบับเดิมใช้ ข.ขวด) คนเพลงเก่า ๆ เรียกเพลง..วง.. เพราะของเดิมยืนเป็นวง เล่นกับลานดิน เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเวที ดั่งกับปัจจุบันนี้ ส่วนบ้างคนก็เรียกว่า "เพลงฉ่า" เพราะเวลารับเพลง รับว่า เอ่ชา เอ๊ช้า ชาฉ่าชา หนอยแม่ เลยเรียกติดกัน จนปัจจุบันคนก็ยังเอามาร้อง เล่นกันส่วนมากเป็นท่อนนี้ ชาวโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ก็เรียกศัพย์บัญญัติแปลก ๆ พิสดารอีกว่า "เพลงทอดมัน"
  • รวมอายุของบทเพลงฉ่อยแล้ว อายุไม่น่าเกิน 126 ปี

[แก้]เอกลักษณ์เพลงฉ่อยบางส่วน

  • ทางจังหวัดอุทัยธานี - จังหวัดนครสวรรค์ รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา เอ๊ชา ฉ่าชาเอย
  • ส่วนทาง จังหวัดอยุธยา - จังหวัดอ่างทอง - จังหวัดสุพรรณบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา ชา ชาฉ่าชาเอย
  • ส่วนทางใต้ กรุงเทพมหานคร - จังหวัดราชบุรี รับเพลงว่า เอ่ชา เอชา ชาชาฉ่าชา หนอยแม

[แก้]ยกตัวอย่างเพลงฉ่อย

  • วันนี้เป็นงานวันเกิด กินเลี้ยงกันเถิดสนุกกันดี น้องทำอาหารต้องการเลี้ยงพี่ กับข้าววันนี้อร่อยถึงใจ ... ( ดนตรี )
เอ๋ย...เรื่องฝีมือทำกับข้าวใครไม่เท่าฉันคนเขาเลื่องลือกันทั้งเหนือใต้
วันนี้รวมกลุ่ม กันทั้งหนุ่มสาวทั้งอาหารหวานคาว ทำไว้
ไม่ต้องลงขันกินกันเถิดวันนี้เป็นงานวันเกิดหนอไม่เป็นไร
ขอเชิญลิ้มรสเข้ามาทดลองว่าฝีมือของน้องเด็ดแค่ไหน
ผัดเผ็ดแมวดำต้มยำช้างเฮ้ยแกงจืดเนื้อค่างกับกอไผ่
ฉู่ฉี่คางคกจิ้งจกปิ้งทั้งตุ๊กแกผัดขิงลิงยัดไส้
ลูกปืนแกงส้มรสกลมกล่อมเกาเหลาลูกบอมบ์ใส่หอมหัวใหญ่
ช้อนผัดพะแนงชะแลงเปรี้ยวหวานกระบองทอดมัน หัวขวานชุบไข่
ซุปไข่ ใส่ลูกระเบิดใส่ใบบัวบกสะระหมั่นมีดพก ห่อหมกปืนใหญ่
ของหวานก็มีรสดีเด่นนั่นคืออีโต้แช่เย็นเสียวจนแสบไส้
ตะพดหวานกรอบจอบแช่อิ่มถ้าไม่เชื่อก็ชิมจะติดใจ
ทั้งต้นตาลเชื่อม ต้นกล้วยฉาบแกงบวชอีดาบฉันก็ทำได้
มะพร้าวหรือก็ใส่ กันไปทั้งเปลือกกินแล้วตาเหลือกพากันหลงใหล
เชิญตามสบาย เหอะ ๆ หายห่วงกินแล้วท้องร่วงกันทุกราย ( เอ่ชา )

[แก้]อ้างอิง

ประวัติวันวาเลนไทน์


ประวัติวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์




           วันวาเลนไทน์คงเป็นวันที่ใครหลาย ๆ คนรอคอย... โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ตื่นขึ้นมา พร้อมรอยยิ้ม เพื่อเตรียมของขวัญ คำหวาน และข้อความพิเศษ ๆ มอบให้กับคนรักอย่างแน่นอน..  และในโอกาสวาเลนไทน์วันแห่งความรักวันนี้ กระปุกดอทคอมก็ไม่พลาดหยิบยกเรื่องราวของวันวาเลนไทน์มาฝากกันอีกเช่นเคย มาดูกันซิว่า วันวาเลนไทน์เกิดขึ้นได้อย่างไร และชาวตะวันตกทำอะไรกันบ้างในวันสำคัญสำหรับชาวคริสต์วันนี้
         สำหรับประวัติวันวาเลนไทน์นั้น หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เหตุเป็นเพราะวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้น เป็นวันเสียชีวิตของนักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ นักบุญแห่งความรักนั่นเอง นักบุญวาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้น โรม ต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมด อย่างสิ้นเชิง

           แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง




สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์

          สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์คือ เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมัน ร่างกายเป็นเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยังหัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)  
          ตำนานความรักของ เทพเจ้าคิวปิด นั้น ในอดีต เทพเจ้าวีนัสอิจฉา "ไซกี" ธิดาวัยกำลังแรกรุ่นของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่สำคัญคือไซกีสวยกว่าเทพเจ้าวีนัสมาก นางเลยส่งเทพเจ้าคิวปิดไปหาไซกี เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่เทพเจ้าคิวปิดกลับหลงรักไซกีและพามาที่วัง และลอบมาหาในเวลากลางคืนเพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนยุให้ไซกีแอบดูตอนเทพเจ้าคิวปิดนอนหลับ แต่ด้วยความตื่นเต้นของไซกีที่เห็นเทพเจ้าคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงาม เลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่เทพเจ้าคิวปิด เมื่อเทพเจ้าคิวปิดรู้สึกตัวตื่นขึ้นก็โกรธมากที่นางขัดคำสั่ง จึงทิ้งนางไป

          เมื่อโดนทิ้ง ไซกีก็ออกตามหาเทพเจ้าคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกเทพเจ้าวีนัสกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา จนเทพเจ้าคิวปิดเห็นใจต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจ จึงช่วยให้ทั้งสองได้ครองรักกัน

วันวาเลนไทน์

 ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในวันวาเลนไทน์
 

           หลายร้อยปีก่อนในประเทศอังกฤษ เด็ก ๆ จะแต่งตัวลอกเลียนแบบผู้ใหญ่ในวันวาเลนไทน์ แล้วร้องเพลงจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง ในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจะกล่าวว่า " Good morning to you, Valentine ; Curl your locks as I do mine --- Two before and three behind. Good morning to you, Valentine." 

           ในประเทศเวลส์ ผู้ที่มีความรักและชื่นชมในงานช้อนไม้แกะสลัก จะทำการแกะสลักช้อนและมอบให้เป็นของขวัญในวันวาเลนไทน์ โดยจะสลักรูปหัวใจ และลูกกุญแจไว้บนช้อนนั้น ซึ่งมีความหมายว่า "คุณได้ไขหัวใจของฉัน" (You unlock my heart) 

           เด็กหนุ่มสาวจะทำการเขียนชื่อคนที่ตัวเองชอบ แล้วหย่อนไว้ในอ่างหรือชาม แล้วหยิบขึ้นมาหนึ่งชื่อ เพื่อดูว่าใครจะเป็นคู่ของตัวเองในวันวาเลนไทน์ หลังจากนั้นก็จะเอาชื่อที่หยิบได้นี้มาติดไว้ที่แขนเสื้อเป็นเวลาหนึ่ง สัปดาห์ การทำเช่นนี้มีความหมายว่า คนๆ นั้นต้องการบอกคนทั่วไปรู้ได้ง่าย ๆ ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร

           ในบางประเทศ ผู้หญิงจะได้รับของขวัญเป็นเครื่องแต่งกายจากผู้ชาย แล้วถ้าผู้หญิงคนนั้นเก็บของขวัญชิ้นนี้เอาไว้นั่นหมายถึงหล่อนจะแต่งงานกับเขา
วันวาเลนไทน์

           บางคนมีความเชื่อว่า ถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกโรบินบินผ่านเหนือศีรษะตนเองในวันวาเลนไทน์ นั่นหมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับกะลาสีเรือ หรือถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกกระจอก หล่อนก็จะได้แต่งงานกับชายยากจนและจะมีความสุข และถ้าผู้หญิงคนไหนเห็นนก Goldfinch หมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับมหาเศรษฐี 

           ในบางประเทศจะมีการทำเก้าอี้แห่งรักขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดกว้าง ในครั้งแรกที่มีการทำเก้าอี้นี้ขึ้นมาก็เพื่อจะให้ผู้หญิงที่แต่งตัวในชุดราตรีนั่ง ต่อมาเก้าอี้แห่งรักนี้ได้ทำขึ้นเป็นสองส่วนและมักจะทำเป็นรูปตัวเอส (S) ซึ่งการทำเก้าอี้ทรงนี้จะทำให้คู่รักสามารถนั่งด้วยกันได้ แต่จะไม่ใกล้ชิดกันจนเกินไป

           บางธรรมเนียมในบางแห่งของโลก เด็กหนุ่มสาวจะนึกถึงชื่อของคนที่ตัวเองอยากจะแต่งงานด้วยประมาณห้าถึงหกชื่อ ในขณะที่ปอกเปลือกผลแอปเปิ้ลนั้นให้เป็นขดนั้น ก็ให้เอ่ยชื่อของคนที่นึกถึงออกมาจนกว่าจะปอกเปลือกแอปเปิ้ลได้หมดผล และเชื่อกันว่า คนที่จะได้แต่งงานด้วยนั้นคือคนที่เอ่ยชื่อถึงในขณะที่ปอกเปลือกของแอปเปิ้ล ได้หมดพอดี

           ในบางประเทศมีความเชื่อว่า ถ้าหากผ่าผลแอปเปิ้ลออกมาเป็นสองซีก แล้วให้นับเมล็ดข้างในดู แล้วก็จะสามารถรู้จำนวนบุตรในอนาคตได้ 

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

รายละเอียด พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ No.16363 พร้อมกล่อง (ขายแล้วครับ) - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ 

พระพุทธประทานยศบารมี เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ หมายเลขสวย 16363 (ขายแล้วครับ)

         ออกแบบและควบคุมการจัดสร้างโดย อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จัดสร้างโดย ตำรวจภูธรภาค ๕ พุทธศักราช ๒๕๕๒
พระกริ่ง เนื้อนวโลหะ พิมพ์ใหญ่ กว้าง ๒๖.๕๕ มม. ยาว ๑๖.๖๓ มม. สูง ๔๐.๓๕ มม. จัดสร้างจำนวน ๒๐,๐๐๐ องค์
(หมายเลขกำกับตั้งแต่ 00000 - 20000)
               การจัดสร้างพระพุทธประทานยศบารมีนั้น ตำรวจภูธรภาค 5 ได้รับความกรุณาจาก ท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตกรเอก ผู้สร้างวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย ได้อนุเคราะห์ ช่วยเหลือ
ออกแบบ และควบคุมการจัดสร้าง เมื่อได้จัดสร้างเสร็จได้ทำการพุทธาภิเษกครั้ง ในวันที่ 21 สิงหาคม 2552 โดยทำการพุทธาภิเษกทั้ง 8 จังหวัด ที่อยู่การปกครองของตำรวจภูธรภาค 5 ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน ซึ่งทั้งหมดล้วนมีพระธาตุเจดีย์ทั้งสิ้น ตามลำดับ และครั้งสุดท้ายวันวันที่ 5 กันยายน2552 ณ ที่ทำการตำรวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการจัดพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ตามแบบประเพณีล้านนาโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ 9 วาระ ดังนี้

- วาระ ๑ จ.เชียงใหม่ วันพุธที่ ๑๙ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
- วาระ ๒ จ.ลำพูน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
- วาระ ๓ จ.ลำปาง วันศุกร์ที่ ๒๑ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม
- วาระ ๔ จ.แพร่ วันเสาร์ที่ ๒๒ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดพระธาตุช่อแฮ
- วาระ ๕ จ.น่าน วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดภูมินทร์
- วาระ ๖ จ.พะเยา วันจันทร์ที่ ๒๔ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดศรีโคมดำ
- วาระ ๗ จ.เชียงราย วันอังคารที่ ๒๕ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดพระแก้ว
- วาระ ๘ จ.แม่ฮ่องสอน วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ส.ค. ๒๕๒๒ ณ วัดพระธาตุดอยกองมู
- วาระ ๙ จ.เชียงใหม่ ณ มณฑลพิธีสำนักงานตำรวจภูธรภาค ๕

พระพุทธประทานยศบารมี นั้น มี 5 ขนาด
1.พระพุทธรูปขนาดหน้าตัก 99 ซม. ปางชนะมาร จำทำการประดิษฐานไว้ที่หอพระกด้านหน้าอาคารตำรวจภูธรภาค 5 จำนวน 1 องค์
2.พระพุทธรูปบูชาเนื้อสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ปางชนะมาร จำนวน 355 องค์ มอบให้คณะกรรมการจัดสร้าง 30 องค์ และมอบให้สถานีตำรวจในสังกัด ภ.5 จำนวน 165 องค์ ส่วนที่เหลืออีก 160 องค์ มอบให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคตั้งแต่ 90,000 บาทขึ้นไป จะได้รับ 1 องค์ พร้อมหมายเลขพระ ลายเซ็น และใบรับรองจาก อ.เฉลิมชัยฯ
3.พระกริ่งเนื้อทองคำ พิมพ์ใหญ ่หนัก 15.2 กรัม สร้าง 655 องค์ และพิมพ์เล็ก หนัก 7.6 กรัม สร้าง 655 องค์
4.พระกริ่งเนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ ฐานกว้าง 1.8 ซม. สูง 4 ซม. สร้าง 5,555 องค์ พิมพ์เล็กขนาด 1 ซม. สร้าง 5,555 องค์
5.พระกริ่งเนื้อนวโลหะ ขนาด 2 ซม. สร้าง 20,000 องค์ เพื่อแจกให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรภาค 5 ทุกนาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ใต้ฐานพระทุกองค์มี พ.ศ.ที่สร้าง มีสัญลักษณ์เครื่องหมายตำรวจภูธรภาค 5 และมีหม