วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ดาวพลูโต( Pluto)


ดาวพลูโต( Pluto)เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลจาก ดวงอาทิตย์ มากที่สุด และมีขนาด เล็กมาก
ประวัติดาวพลูโต
.....ในเทพนิยายโรมัน พลูโตเป็นเทพเจ้าแห่งเมืองบาดาลซึ่งดาวพลูโตได้ชื่อนี้ คงเป็นเพราะมันอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากและได้รับแสงน้อย ดาวพลูโตถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2473 โดยบังเอิญ ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่ไม่เคยมีการส่งยานอวกาศไปสำรวจแม้แต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ยังทำการสำรวจรายละเอียดไม่ได้มาก เรายังไม่ทราบขนาดรัศมีของที่แท้จริงดาวพลูโตแต่ NASA ประมาณว่าเท่ากับ 1,127 ก.ม. นักวิทยาศาสตร์บางคนคิดว่า เราควรจะจัดประเภทของดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง มากกว่าที่จะเป็น ดาวเคราะห์บางคนก็ว่าเราควรจะพิจารณามันเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดใน แนวเข็มขัดคุยเปอรของดาวเนปจูน แต่ในปัจจุบันมนุษย์เรายังถือว่า ดาวพลูโตเป็นเทหวัตถุประเภทดาวเคราะห์ 
วงโคจร: 5,913,520,000 ก.ม. จากดวงอาทิตย์เส้นผ่านศูนย์กลาง: 2274 ก.ม.
มวล: 1.27 x 1022 ก. ก.

....วงโคจรของดาวพลูโตรีมาก และ ดาวพลูโตหมุนรอบตัวเองในทิศทางที่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่น อุณหภูมิที่พื้นผิวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณว่าอยู่ระหว่าง 35 - 45 เคลวิน (-228 ถึง -238 C)....เรายังมิทราบองค์ประกอบของดาวพลูโตที่แน่ชัด แต่ค่าความหนาแน่นอยู่ที่ประมาณ 2 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยอาจมีส่วนผสมเป็นหิน 70% น้ำแข็ง 30% คล้ายกับดวงจันทร์ทายตันของเนปจูน บริเวณพื้นที่สว่างอาจปกคลุมด้วยน้ำแข็งไนโตรเจน ผสมกับมีเทนและคาร์บอนโมนอกไซด์แข็ง บริเวณที่เป็นสีคล้ำยังไม่มีข้อมูล บางทีมันอาจจะเป็นองค์ประกอบของวัตถุในยุคแรก หรือปฏิกริยาโฟโต้เคมี ซึ่งถูกขับโดยรังสีคอสมิก....ดาวพลูโตมีบรรยากาศเล็กน้อย องค์ประกอบหลักอาจเป็นไนโตรเจน และมีคาร์บอนโมนอกไซด์และมีเทนจำนวนเล็กน้อย บางครั้งบรรยากาศ ของดาวพลูโตเป็นก๊าซ แต่ส่วนมากแล้วบรรยากาศจะแข็งตัวกลายเป็นน้ำแข็ง
บริวารของดาวพลูโต
แครอน เป็นดวงจันทร์บริวารดวงเดียวชองดาวพลูโต
....แครอนถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.2521 แครอนจัดเป็นดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุด บางคนคิดว่าดาวพลูโตและแครอนควรจะเป็นดาวเคราะห์คู่ มากกว่าที่จะเป็นดาวเคราะห์กับดวงจันทร์ ขนาดของแครอนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่ NASA ประเมินว่าควรจะอยู่ในราว 586 ก.ม. แครอนมีความหนาแน่นต่ำ ราว 2-3 กรัม / ลบ.ซม. แครอนไม่มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดีเหมือนพลูโตแครอนอาจเป็นผลจากการกระแทกระหว่างดาวพลูโตกับเทหวัตถุอื่น ในลักษณะเดียวกันกับการเกิด ดวงจันทร์ของโลกเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น