วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปัญหาใหญ่! ความรุนแรงวัยเด็กในยุคโลกาภิวัฒน์


ปัญหาใหญ่! ความรุนแรงวัยเด็กในยุคโลกาภิวัฒน์
13-12-12 14:38   อ่าน : 6,214
คอลัมน์ : สังคม / อาชญากรรม
"พฤติกรรมก้าวร้าว "ของเด็กเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสมัยนี้ สิ่งยั่วเย้าหลายด้าน เช่น เกมที่ใช้ความรุนแรง และสื่อต่างๆ ทางออกก็ควรจะเดินหนี หรือไม่ก็ไปฟ้องอาจารย์ไม่ใช่มีเรื่องมีราว แล้วจะนึกถึงแต่อาวุธที่จะมาใช้ทำร้ายกัน”
          วันนี้ (13 ธ.ค.) พฤติกรรมรุนแรงของเยาวชนถือว่า น่าวิตกมากขึ้น ล่าสุดเด็กชายวัย 11 ขวบ นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.แจ้ซ้อน จ.ลำปาง ก่อเหตุใช้อาวุธปืนแก๊ปของพ่อลั่นกระสุนใส่อริวัย 13 ปี นักเรียนชั้น ม.1 ซึ่งมีเรื่องมีราวกัน กระสุนเข้าที่ใบหน้าและศีรษะหลายจุด ผงะหงายฟุบลงกับพื้นทันที โชคดีที่ถึงมือหมอได้อย่างรวดเร็ว ช่วยกันยื้อชีวิตไว้ทันจนปลอดภัย แต่ต้องผ่าตัดนำเม็ดตะกั่วที่เป็นกระสุนปืนออกจากศีรษะ สาเหตุที่เคยมีเรื่องชกต่อยกันก่อนที่รุ่นพี่ผู้ถูกยิงในวัย 13 ปี พาพวกไปล้อมบ้านของเด็กมือปืน

ทำให้กลัวว่าจะถูกทำร้ายจึงแอบคว้าปืนแก๊ปของพ่อที่เก็บไว้ออกมายิงสวนไปหน้าบ้าน ก่อนที่กระสุนจะทำให้อีกฝ่ายบาดเจ็บ แต่สุดท้ายตำรวจก็ต้องจับดำเนินคดีในข้อหาพยายามฆ่ามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาตัวไปส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กลำปาง

อีกคดีที่เกือบเกิดเหตุรุนแรง ที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อโรงเรียนแห่งหนึ่งจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน แต่มีนักเรียนชั้น ป.6 ต่างโรงเรียนรู้ข่าวก็พกปืนลูกซองสั้นไปพร้อมกับพวก เพื่อเตรียมไปยิงอริที่อยู่ภายในโรงเรียนนั้น โชคดีที่ว่านักเรียนเห็นเหตุการณ์ก่อนจึงรีบไปบอกอาจารย์ ก่อนที่จะควบคุมตัวนักเรียนต่างถิ่นเอาไว้ได้ และแจ้งตำรวจพร้อมด้วยผู้ปกครองให้มารับทราบ
  
          ต้นตอของปัญหาที่เด็กติดเกม 1. ปัจจัยที่เกิดจากผู้ปกครอง คือ
1) พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เด็กเล่นเกมหรือคอมพิวเตอร์ให้แน่ชัดลงไปเป็นเวลาที่แน่นอนหรือกำหนดว่ากี่ชั่วโมง
2) พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจในเนื้อหาและรายละเอียดของเกม
3) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแบ่งชนิดของเกมตามความเหมาะสมของอายุของผู้เล่นตามที่กำหนดโดย Entertainment Software Rating Board (ESRB)

          พ.ต.ท.พญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล หรือหมอแอร์ จิตแพทย์ ให้ความเห็นว่า ความรุนแรงในวัยเด็ก มีสิ่งเร้าอยู่หลายด้าน เช่น เกมที่มีความรุนแรง หรือแม้แต่สื่อต่างๆ ที่มีข่าวการใช้อาวุธเข้าทำร้ายกัน เด็กจึงซึมซับและชาชินกับความรุนแรง ทำให้หากเห็นอาวุธที่หยิบฉวยได้ง่าย โดยมองไม่เห็นถึงโทษที่จะตามมา พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างถูกจุดและถูกวิธี เพื่อลดความร้อนแรงของวัยเด็กที่ควรจะเติบโตอย่างถูกแนวทาง  หมอแอร์ ย้ำทิ้งท้ายว่า “หากเกิดเรื่องทะเลาะกัน ทางออกก็ควรจะเดินหนี หรือไม่ก็ไปฟ้องอาจารย์เลยจะดีกว่า ไม่ใช่มีเรื่องมีราว แล้วจะนึกถึงแต่อาวุธที่จะมาใช้ทำร้ายกัน”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น