วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน


ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
ตัวละครในเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
ตัวละครในเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
ชื่อไทยยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
ชื่อญี่ปุ่น名探偵コナン
ชื่ออังกฤษDetective Conan
สหรัฐอเมริกา Case Closed
ประเภทโชเน็ง
แนวสืบสวน
มังงะ
เขียนเรื่องอาโอยาม่า โกโช
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น โชงะกุกัง
ไทย วิบูลย์กิจ
ลงนิตยสารญี่ปุ่น โชเน็งซันเดย์
ไทย นีออซ
เมื่อ2537 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่มญี่ปุ่น 82 เล่ม (17-01-2557)
ไทย 75 เล่ม (29-01-2557)
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์
ผู้กำกับโคดามะ เคนจิ,
ยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่
ผลิตโดยโยมิอุริ เทเลแคสติ้ง คอปอเรชั่น และ ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ลิขสิทธิ์ไทย บริษัท วิดีโอสแควร์ จำกัด (เดิม)
ทีไอจีเอ
ฉายทางญี่ปุ่น นิปปอนทีวี ,โยมิอุริทีวี
ไทย โมเดิร์นไนน์ ทีวี
ไทย ช่อง7 (เฉพาะมูฟวี่และภาคคนแสดง)
ไทย ทรู สปาร์ค
ไทย Cartoon Club Channel
ฉายครั้งแรก8 มกราคม 2539 - ปัจจุบัน
จำนวนตอนญี่ปุ่น 728 ตอน (01-02-2557)
ไทย โมเดิร์นไนน์ ทีวี
ช่วง โมเดิร์นไนน์การ์ตูน (ปี 11) :
479 (520) ตอน (02-02-2557)
ไทยTIGA (ปี 10) :
471 (511) ตอน
ไทย ทรู สปาร์ค (ปี 13) :
612 (663) ตอน
Wikikartoon.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่น
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (ญี่ปุ่น名探偵コナン Meitantei Conan ?) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาวแนวสืบสวนสอบสวน เรื่องและภาพโดย อาโอยาม่า โกโช ซึ่งตีพิมพ์บนนิตยสารรายสัปดาห์โชเน็งซันเดย์ โคนันได้ถูกตีพิมพ์ในหลายภาษา นอกจากภาษาญี่ปุ่นต้นฉบับแล้ว ยังมีภาษาจีน, ฝรั่งเศส, อินโดนีเซีย, อังกฤษ, ฟินแลนด์, เยอรมัน, อิตาลี, มาเลเซีย, เกาหลี, สเปน, สวีเดน, นอร์เวย์, สิงคโปร์, ไทย, ฮ่องกง, เวียดนาม, สหรัฐฯ, แคนาดาและไต้หวัน รวมทั้งสิ้น 19 ประเทศ นอกจากนี้ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ยังได้มีการนำมาทำเป็นการ์ตูนโทรทัศน์, การ์ตูนภาพยนตร์, และไลฟ์ แอ็คชั่น ซี่รี่ส์ อีกด้วย

เนื้อเรื่อง[แก้]

ดูตัวละครทั้งหมดที่ รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน
นักเรียนมัธยมปลายวัย 17 ปีคนหนึ่ง ชื่อคุโด้ ชินอิจิ มีทักษะพิเศษในการไขคดีจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วญี่ปุ่น จนได้รับขนานนามว่า เชอร์ล็อก โฮล์มส์แห่งยุคเฮเซ วันหนึ่งเขาได้ไปเที่ยวกับเพื่อนสมัยเด็กที่ชื่อ โมริ รัน ที่สวนสนุกท็อปปิโคว์แลนด์และได้ไขคดีการฆาตกรรมบนรถไฟเหาะ ระหว่างทางกลับบ้าน ชินอิจิได้ไปเห็นชายสวมชุดดำ วอดก้ากำลังเจรจาแลกของต้องสงสัย แต่หารู้ไม่ว่ามีชายชุดดำอีกคน ยิน แอบอยู่ด้านหลังอยู่และใช้ไม้ฟาดหัวชินอิจิและเอายาพิษAPTX4869 ให้กิน ยาพิษนี้ทำให้ชินอิจิตัวหดเล็กลงเท่าเด็กประถม และเพื่อจะสืบหาความจริงว่าคนพวกนั้นเป็นใคร และหายาแก้พิษเพื่อที่จะกลับคืนร่างเดิมอีกครั้ง ชินอิจิจึงกลับไปที่บ้านและไปปรึกษากับดร.อากาสะ ฮิโรชิ นักวิทยาศาสตร์ที่อาศัยอยู่ใกล้บ้านของชินอิจิ หลังจากที่รันกลับจากสวนสนุกทรอปิคอลแลนด์ ก็รีบมาหาชินอิจิที่บ้าน แต่ได้พบกับชินอิจิในร่างเด็กกับดร.อากาสะในห้องหนังสือ เมื่อรันถามชื่อชินอิจิ ชินอิจิจึงตอบไปว่า เอโดงาวะ โคนัน ดร.อากาสะจึงแนะนำให้ชินอิจิไปอาศัยอยู่ที่สำนักงานนักสืบโมริ สำนักงานของโมริ โคโกโร่พ่อของรันนั่นเอง เพื่อว่าจะมีข่าวคราวใดเกี่ยวกับพวกชายชุดดำ ที่พ่อของรันที่มีอาชีพเป็นนักสืบ โดยที่ไม่บอกความจริงกับใครว่าตนคือคุโด้ ชินอิจิ
เพื่อต้องการหาข่าวคราวของพวกชายชุดดำ โคนันจึงต้องให้โคโกโร่มีชื่อเสียงโด่งดัง ซึ่งจะทำให้มีผู้จ้างวานไปสืบคดีมากขึ้น และจะทำให้มีโอกาสที่จะได้เบาะแสขององค์กรชุดดำมากขึ้นเช่นกัน โดยใช้อุปกรณ์หลักๆ 2 อย่างคือ นาฬิกายิงยาสลบ ยิงให้โคโกโร่สลบ และ หูกระต่ายเปลี่ยนเสียง เพื่อเปลี่ยนเสียงเป็นเสียงโคโกโร่แล้วคลี่คลายคดีแทน จึงทำให้เกิดฉายาว่า โคโกโร่นิทรา ขึ้นเพราะเวลาคลี่คลายคดีจะเหมือนกำลังนอนหลับอยู่นั่นเอง
ชินอิจิเมื่ออยู่ในร่างของเด็กจึงต้องกลับไปเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนประถมเทตันใหม่อีกครั้ง และได้รู้จักกับ โยชิดะ อายูมิซึบุรายะ มิซึฮิโกะ, และโคจิมะ เก็นตะเพื่อนร่วมชั้นแล้วได้ก่อตั้งขบวนการนักสืบเยาวชนขึ้นมา
การสืบหาองค์กรชุดดำและยาแก้พิษของโคนันก็ได้ดำเรื่อยมา ได้เกิดคดีต่างๆ และค้นพบบุคคลสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพวกชายชุดดำ หรือองค์กรชุดดำมากขึ้น ไฮบาระ ไอหรือ มิยาโนะ ชิโฮะ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นยา APTX4869 เธอได้ทรยศองค์กร เพราะว่ายิน ได้สังหารพี่สาวของเธอ มิยาโนะ อาเคมิโดยไม่ให้คำอธิบายต่อเธอ เธอจึงถูกควบคุมตัวแล้วขังในห้องก๊าซเพื่อรอคำสั่งประหารชีวิตเท่านั้น เธอคิดว่ายังไรก็คงตายจึงกรอกยาที่เธอประดิษฐ์ขึ้น APTX4869 แล้วกลับเป็นเด็กแล้วออกมาจากช่องทิ้งขยะในห้องขัง แล้วได้มาอยู่บ้านของดร.อากาสะ เพื่อคิดค้นยาถอนพิษของAPTX4869
โคนันได้ทำความรู้จักกับพนักงานสืบสวน FBI ได้แก่ โจดี้ สตาร์ลิ่ง, อากาอิ ชูอิจิ, และเจมส์ แบล็ค ซึ่งมีจุดประสงค์สืบสวนเกี่ยวกับองค์กรชุดดำ โคนันยอดนักสืบ ได้เผชิญซึ่งๆหน้ากับ คริส วินยาร์ด หรือเบลม็อท หนึ่งในสมาชิกขององค์กรชุดดำ โคนันหวังว่าจะเป็นไปตามแผนที่จะจับคริส วินยาร์ดให้กับตำรวจ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ โดยหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวโคนันได้เบาะแสว่า เพลงนานาซึโนะโกะ (ลูกทั้ง 7) เป็นหมายเลขติดต่อถึงหัวหน้าขององค์กรชุดดำได้ แต่ไฮบาระออกมาเตือน และบอกว่า เป็นกล่องของแพนโดร่าที่จะเปิดออกมาไม่ได้
อย่างไรก็ดี ยอดนักสืบจิ๋วโคนันยังไม่มีข้อมูลตอนจบที่ชัดเจน

สื่อ[แก้]

ฉบับหนังสือการ์ตูน[แก้]

หน้าปกของเล่มที่ 1 ที่พิมพ์โดยโชงะกุกัง
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (มังงะ)
ในปี พ.ศ. 2537 ตลาดหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นได้มีการปรากฏการ์ตูนแนวสืบสวนมากขึ้น หลังจากการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องคินดะอิจิยอดนักสืบอาจารย์อาโอยาม่า โกโชเริ่มที่จะวาดตัวการ์ตูนเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันในช่วงนี้ ผลงานบทแรกของเขาได้ปรากฏในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์โชงะกุกังโชเน็งซันเดย์ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน อาจารย์อาโอยาม่า โกโชได้นำเค้าโครงเรื่องมากจากเรื่อง อาร์แซน ลูแปงเชอร์ล็อก โฮล์มส์, และหนังซามูไรของ อากิระ คุโรซาวา อาจารย์อาโอยาม่า โกโชเคยบอกไว้ว่าอาจารย์จะใช้เวลาเฉลี่ยในการคิดคดีใหม่ๆในการ์ตูนราว 4 ชั่วโมง ถ้าคดีไหนยิ่งซับซ้อนมากก็จะใช้เวลามากกว่า 12 ชั่วโมง คดีทุกคดีจะประกอบด้วยหลายๆบท และจะถูกคลี่คลายในตอนจบทุกครั้งโดยตัวละครจะอธิบายในรูปแบบง่ายๆ อาจารย์อาโอยาม่า โกโชยังคงใช้ภาษาง่ายๆให้ผู้อ่านได้ติดตามผลงานของเรื่องไปเรื่อยๆ
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้กลายเป็นหนังสือการ์ตูนเรื่องยาวที่มีมากกว่า 700 บท โดยทุกๆบทได้ถูกรวบรวมโดยโชงะกุกัง โดยเล่มแรกได้ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2537 และผู้ช่วยของอาจารย์อาโอยาม่า โกโช ก็ได้เขียนและจัดพิมพ์โคนันแบบ Side Story จำนวน 36 เล่มแล้วด้วยกัน
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้ขอลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์ไปทั่วโลกเช่น จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินโดนีเซีย ฟินแลนด์ และไทย โดยในสหรัฐอมเริกาได้ถูกตีพิมพ์โดยวีซ มีเดีย โดยได้ใช้ชื่อเรื่องว่า "Case Closed"

ฉบับการ์ตูนโทรทัศน์[แก้]

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชั่น)
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ผลิตขึ้นโดย โยมิอุริ เทเลแคสติ้ง คอปอเรชั่น และ ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ กำกับโดยโคดามะ เคนจิ และ ยามาโมโตะ ยาซุยจิโร่ ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้ออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นมาแล้วมากกว่า 600 ตอน โดยจัดลำดับให้เป็นการ์ตูนโทรทัศน์เรื่องยาวที่มีความยาวมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 โดยเริ่มแรก โชงะกุกังได้ออกวางจำหน่ายแต่ละตอนในรูปแบบวิดีโอ (VHS Video Cassettes) ในระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2539 - เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549
ส่วนยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนโทรทัศน์ในประเทศไทย เดิมเจ้าของลิขสิทธิ์คือบริษัท วิดีโอสแควร์ จำกัด โดยน่ามีการจัดจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอ หรือ (VHS Video Cassettes) และในรูปแบบวีซีดี โดยรูปแบบวีซีดี จัดจำหน่ายโดย บริษัท ฮิต เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ จำกัด แต่ต่อมา บริษัท ทีไอจีเอจำกัด ก็ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเวลาถัดมา

ข้อมูลการออกอากาศในประเทศไทย[แก้]

  • ฟรีทีวี : โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยใช้ชื่อเรื่องว่า โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.30 - 10.00 น. (ขณะนี้ออกอากาศถึงปี 10)[1]
  • ช่อง ทรู สปาร์ค ช่อง 31 (ในระบบดิจิตอล) และช่อง 28 (ในระบบอนาล็อก) ผ่านจานดาวเทียม ทรูวิชั่นส์ ทุกวันวันจันทร์-พุธ เวลา 20.00-20.30 น. (ขณะนี้ออกอากาศปี 13)
  • ช่อง การ์ตูนคลับแชนแนล (ช่อง 8) ผ่านดาวเทียม DTV (ขณะนี้กำลังออกอากาศ ปี 1, ปี 2, ปี3 ,ปี4 ,ปี5 ,และปี6

ฉบับการ์ตูนภาพยนตร์ (โคนัน เดอะมูฟวี่)[แก้]

ดูบทความหลัก และข้อมูลเพิ่มเติมที่ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่
ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนภาพยนตร์มีจำนวนตอนทั้งหมด 17 ตอนด้วยกัน โดยถูกควบคุมการผลิต และผลิตโดย ทีเอ็มเอสเอ็นเตอร์เทนเมนต์โยมิอุริ เทเลแคสติ้ง คอปอเรชั่นสถานีโทรทัศน์นิปปอนโชโปรบริษัท โตโฮ จำกัด โดยยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนภาพยนตร์7ตอนแรกกำกับโดย โคดามะ เคนจิ, และตอนที่8 กำกับโดย ยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่ ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนภาพยนตร์จะถูกฉายในเดือน เมษายนของทุกๆปี โดยชุดแรกถูกฉายในปี พ.ศ. 2540 คดีปริศนาระเบิดระฟ้า จนกระทั่งมาถึงยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับการ์ตูนภาพยนตร์ตอนที่ 17 ซึ่งฉายในญี่ปุ่นเมื่อต้นปี และในไทยเมื่อปลายปี 2556[2]

ฉบับคนแสดง (โคนัน ภาคคนแสดง)[แก้]

ดูบทความหลัก และข้อมูลเพิ่มเติมที่ โคนัน ภาคคนแสดง
ในปี พ.ศ. 2549 ยอดนักสืบจิ๋วโคนันได้เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี จึงมีการจัดทำ ยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับคนแสดง หรือ โคนัน ภาคคนแสดงขึ้น ในชื่อ จดหมายท้าทายถึงคุโด้ ชินอิจิ บทนำก่อนอำลา ซึ่งควบคุมการผลิตโดย โยมิอุริ เทเลแคสติ้ง คอปอเรชั่น โดยนำนักแสดงชื่อดังมาเป็นตัวละครในเรื่องเช่น โอกุริ ชุน รับแสดงเป็น คุโด้ ชินอิจิ เป็นต้น และยังได้มีการจัดทำยอดนักสืบโคนันฉบับคนแสดงภาค 2 อีกด้วย ในชื่อ เผชิญหน้าองค์กรชุดดำ
เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปีของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554 สถานีโทรทัศน์โยมิอุริ ประเทศญี่ปุ่นได้มีการออกอากาศยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับคนแสดงภาคที่ 3 ในชื่อ ชินอิจิปะทะปริศนาวิหคมรณะ โดยมีการนำเค้าโครงเรื่องมาจากยอดนักสืบจิ๋วโคนันฉบับนิยาย โดยมีการเปลี่ยนรายนามนักแสดงไปหลายตัวละครด้วยกันจากสองภาคแรกเช่น มิโซบาตะ จุนเปย์แสดงเป็น คุโด้ ชินอิจิคุซึนะ ชิโอริ แสดงเป็น โมริ รัน[3]

ฉบับละครชุด (ไลฟ์ แอ็คชั่น ซีรีส์)[แก้]

เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปีของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน สถานีโทรทัศน์โยมิอุริ ได้ร่วมกันจัดทำละครชุด (ซีรีส์) ขึ้นชื่อว่า "13 ห้องแห่งความตาย" (工藤新一への挑戦状 ) เริ่มออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นำแสดงโดย มิโซบาตะ จุนเปย์ แสดงเป็น คุโด้ ชินอิจิคุซึนะ ชิโอริ แสดงเป็น โมริ รันจินไน ทาคาโนริ แสดงเป็น โมริ โคโกโร่[4]

การปรากฏตัวของโคนันในสื่ออื่น[แก้]

ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน นอกจากจะปรากฏในภาพยนตร์การ์ตูนของตนเองแล้ว เอโดงาวะ โคนันยังมีการปรากฏตามการ์ตูนภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์, ละครภาพยนตร์ และวิดีโอเกมอื่นๆอีกด้วย เช่นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง แชมเปี้ยนขนมปัง สูตรดังเขย่าโลก ตอนที่ 48, แบล็คแคท ตอนที่ 13 และ 14, เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ตอนที่ 128, ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตอนที่ 30, ละครโทรทัศน์ย้อนเวลาไปหารัก ตอนที่ 10, Sonic X หรือ เจ้าเม่นสายฟ้า, และ สมองกลนักสู้ ตอนที่ 22 และ กินทามะ ปี 1 ตอนที่ 31 [5]

เพลงประกอบภาพยนตร์การ์ตูน[แก้]

ดูบทความหลัก และข้อมูลเพิ่มเติมที่ รายชื่อเพลงประกอบภาพยนตร์การ์ตูนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

ยาในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[แก้]

อาโพท็อกซิน4869
ดูบทความหลักที่ APTX4869
APTX4869 เป็นชื่อย่อของ Apotoxin4869 (อาโพท็อกซิน 4869) (ญี่ปุ่นアポトキシンよんはちろくきゅう Apotokusin yonhachirokukyū ?) รหัสของยาที่อยู่ในขั้นทดลอง ซึ่งอยู่ในรูปแคปซูล ปรากฏอยู่ในเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน แต่งโดยโกโช อะโอะยะมะ เป็นยาที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยไม่ทราบจุดประสงค์ในการพัฒนาอย่างแน่ชัด ถูกพัฒนาโดย มิยาโนะ ชิโฮะ หรือ ไฮบาระ ไอ โดยยา APTX 4869 นี้ถูกใช้เป็นยาพิษที่ทำให้ตาย โดยไม่ปรากฏร่องรอยของยาภายในร่างกาย

ข้อขัดแย้งของเนื้อเรื่อง[แก้]

ข้อขัดแย้งของเนื้อเรื่องในภาคอะนิเมะและเดอะมูฟวี่[แก้]

หมวดทาคางิ วาตารุ สูบบุหรี่
  • ในแอนิเมชั่นตอน คดีฆาตกรรมจิตกรพเนจร หมวดทาคางิหยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบในห้องสืบสวน จนถูกผู้ต้องสงสัยโวยวายให้ดับบุหรี่และเดินไปเปิดหน้าต่าง แต่ในภาพยนตร์ตอน ปริศนามหาขุมทรัพย์โจรสลัด ถูกสร้างให้หมวดทาคางินั้นสูบบุหรี่ไม่เป็น เมื่อแกล้งสูบบุหรี่เพื่อเก็บลายนิ้วมือจากนักล่าสมบัติ ก็สำลักควันออกมา
โมริ โคโกโร่ เป็นโรคกลัวความสูง
  • ในแอนิเมชั่นตอน ลูกสเมชแห่งความรักและการตัดสินใจ โมริ โคโกโร่ขึ้นไปอยู่เฮลิคอปเตอร์ได้โดยไม่รู้สึกหวาดกลัวเลย แต่ในแอนิเมชั่นตอน ทางเข้าเขาวงกต ความพิโรธของเทวรูปขนาดยักษ์กับเดอะมูฟวี่ตอน คดีฆาตกรรมไพ่ปริศนา กลับสร้างให้โมริ โคโกโร่เป็นโรคกลัวความสูงจนไม่กล้าขึ้นเฮลิคอปเตอร์และกระเช้าไฟฟ้า ในตอนคดีฆาตกรรมไพ่ปริศนา เมื่อถูกสารวัตรเมงุเระบังคับให้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ก็ได้แต่หลับตาไม่กล้ามองออกไปข้างนอก และในตอนท้าย โมริ โคโกโร่ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์โดยไม่รู้สึกตัวเพราะช่วยโมริ รันไว้ได้ แต่เมื่อโคนันมาทักว่า "ไม่กลัวเครื่องบินแล้วเหรอครับ" จากนั้นโมริโคโกโร่ก็หวาดเสียวจนกลัวเหมือนเดิม
สีผมของยิน
  • ในแอนิเมชั่นตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 ยินมีผมเป็นสีทอง และตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป ยินกลับมีผมเป็นสีเงิน เนื่องจากในเดอะมูฟวี่ ตอน คดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ อ.โกโช อะโอะยะมะ ซึ่งเป็นผู้แต่งเรื่องโคนัน ได้ให้ยินออกแสดงในเดอะมูฟวี่เป็นตอนแรก และมีคดีเกิดขึ้นคือ มีการใช้ปืนยิงนายฮาระ โยชิอากิ (32) ฝ่ายบริหาร โทคิวะ กรุ๊ป เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ที่เป็นพวกเดียวกับชายชุดดำจนตาย โดยในมือถือมีดเงินอยู่ ตามต้นฉบับ คำว่า "เงิน" จะตรงกับคำว่า "ยิน" ในภาษาญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงยิน คนที่ดูควรต้องคิดถึงผมสีเงินของยิน แต่ในเดอะมูฟวี่ ตอนนี้ยินมีผมสีทอง อ.โกโช จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนบทให้มีเหล้ายินเข้าไปแทน เรื่องทางแอนิเมชั่นเปลี่ยนสีผมจากเงินเป็นทองเองนั้น ทำให้ไม่ตรงกับต้นฉบับที่เป็นหนังสือการ์ตูน จึงสร้างความไม่พอใจให้กับ อ.โกโช อะโอะยะมะอยู่ไม่น้อย เมื่อเดอะมูฟวี่ตอนนี้กำหนดฉายเสร็จไปแล้ว อ.โกโช อะโอะยะมะ จึงขอให้ทางทีมงานแอนิเมชั่นเปลี่ยนสีผมของยินให้เป็นสีเงิน ตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป
  • ในเดอะมูฟวี่ ช่วงฉากเปิด จะมีฉากยินตีหัวของคุโด้ ชินอิจิ ตอนเล่าเกริ่นนำ ตั้งแต่เดอะมูฟวี่ตอนที่ 1-13 ยินมีผมของเป็นสีทอง ทั้งๆที่เดอะมูฟวี่ 13 ตอน ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ ยินได้ออกแสดงอีกครั้ง ซึ่งในเนื้อเรื่อง ยินมีผมเป็นสีเงิน แต่ตอนที่ตีหัวของคุโด้ ชินอิจิที่สวนสนุกในตอนเกริ่นนำของตอนนี้กลับมีผมสีทอง แต่ในเดอะมูฟวี่ 14 ปริศนามรณะเหนือน่านฟ้า ได้มีการแก้สีผมในตอนที่ตีหัวของคุโด้ ชินอิจิของยินให้เป็นสีเงิน
  • ผมสีเงินของยินเป็นสีที่ถูกออกแบบไว้ตั้งแต่แรก แต่ทางแอนิเมชั่นบอกกับอ.โกโช อะโอะยะมะว่า ผมสีทองจำได้ดีกว่าผมสีเงิน ซึ่งทางอ.โกโชไม่เห็นด้วย และยังยืนยันว่าผมของยินต้องเป็นสีเงินเท่านั้น
สีผมของเจมส์ แบล็ก
  • ในฉบับแอนิเมชั่นปี 6 ตอน บุรุษผู้มาจากชิคาโก้ เจมส์ แบล็กมีผมสีทอง แต่ในปี 8 ใตอน คดีเครื่องหมายที่ติดอยู่ที่ก้น เจมส์ แบล็ก ได้เปลี่ยนเป็นผมสีเงิน

ข้อขัดแย้งอื่นๆ[แก้]

มือข้างที่ถนัดของยิน
  • ตามต้นฉบับ อ.โกโช อะโอะยะมะ ได้แต่งให้ยินเป็นคนถนัดซ้าย ซึ่งในมังงะเล่มที่ 32 หรือแอนิเมชั่นตอนที่ 242 วิกฤตของเก็นตะ ได้รับการเปิดเผยอย่างเป็นทางการจากไฮบาระ ไอว่ายินเป็นคนถนัดซ้าย
  • แต่ในแอนิเมชั่นตอนที่ 128 คดีปล้นเงินพันล้านขององค์กรชุดดำ ยินกลับถือปืนด้วยมือขวา ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดของทีมงานแอนิเมชั่น เนื่องจากตอนนี้เป็นตอนที่สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถดำเนินเรื่องต่อไปได้ เพราะแอนิเมชั่นตอนที่ 13 ซึ่งตรงกับมังงะเล่มที่ 2 ตามต้นฉบับแล้ว มิยาโนะ อาเคมิจะต้องถูกองค์กรชุดดำฆ่าตายในตอนนี้
  • เดอะมูฟวี่ 1-17 ช่วงเปิดฉาก ยินใช้มือขวากรอกยา คุโด้ ชินอิจิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น