วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ยาลดกรดในกระเพราะ


ยานี้ใช้สำหรับ  
  1. ใช้รักษาอาการหลอดอาหารอักเสบ หรือหลอดอาหารและคอหอยอักเสบ จากการที่กรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารบวม ฉีกขาด และมีอาการแสบในอก
  2. ใช้รักษาโรคที่เกิดจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร หรือเรียกย่อว่า GERD ซึ่งทำให้มีอาการแสบในอกและหลอดอาหารเป็นแผล
  3. ใช้รักษาอาการปวดในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน
  4. ใช้รักษาแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็ก ในผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
  5. ใช้รักษาแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็ก ที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเทอร์ พัยโรไล โดยใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย
  6. ใช้ป้องกันการสำลักกรดเข้าไปในปอด เช่น ใช้ก่อนการผ่าตัด
  7. ใช้รักษาการมีกรดในกระเพาะมากเกินไป จากการเจริญที่ผิดปกติของตับอ่อน หรือกลุ่มอาการโซลลิงเกอร์-เอลลิสัน
วิธีใช้ยา 
  • ยานี้อยู่ในรูปแบบแคปซูล ใช้สำหรับรับประทาน โดยทั่วไปรับประทานวันละ 1-2 ครั้ง ก่อนอาหาร ประมาณ 30-60 นาที และดื่มน้ำประมาณ ½ - 1 แก้ว ทุกครั้งหลังกินยา อย่างน้อย 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือตามแพทย์สั่ง
  • ใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยา ไม่ควรใช้ยาในขนาดที่มากหรือน้อยกว่าที่ระบุ และหากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
  • ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยามากกว่า 2 สัปดาห์หรือเป็นเดือน ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษา แม้ว่าอาการของโรคจะหายไป
  • ไม่ควรแบ่ง หรือเคี้ยวเม็ดแคปซูลเพื่อรับประทาน แต่ถ้าไม่สามารถกลืนเม็ดแคปซูลให้แกะเม็ดแคปซูลแล้วผสมผงยาทั้งหมดลงในในน้ำธรรมดาประมาณ 2 ช้อนชา หรือใส่น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำสัปปะรด หรือโยเกิรต์ ต้องคนให้ยากระจายตัวก่อนกินและใช้น้ำล้างยาที่ติดในภาชนะที่ผสมยาให้หมด แล้วดื่มน้ำตามอีกอย่างน้อย 1 แก้ว ต้องใช้ยาที่ผสมแล้วทันที อย่าทิ้งไว้เกิน 30 นาทีหลังจากผสมยา
  • รับประทานยาพร้อมน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) เท่านั้น ไม่ควรรับประทานยานี้ร่วมกับน้ำชนิดอื่น
สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ 
  • การแพ้ยาโอมิพราโซล (omeprazole) หรือแพ้ยาอื่นๆ
  • ยาอื่นๆ ทั้งยาที่แพทย์สั่งจ่ายและยาที่ใช้เอง เนื่องจากประสิทธิภาพของยาที่ใช้อยู่อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้ยานี้
  • มีโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้ อุจจาระมีสีดำคล้ำหรือมีเลือดปน เจ็บหน้าอก มีอาการกลืนลำบาก มีอาการแสบร้อนกลางอกเป็นระยะเวลามากกว่า 3 เดือน
  • อาการแสบยอดอกร่วมกับอาการมึนงง ปวดศีรษะเล็กน้อยหรือเหงื่อออก
  • มีโรคตับ ปวดท้อง น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาเจียนมีเลือดปน หายใจหอบ
  • การตั้งครรภ์ การวางแผนในการตั้งครรภ์ หรือการให้นมบุตร
  • การมีความผิดปกติของการทำงานของตับ
  • กรณีใช้ยา 14 วันอย่างต่อเนื่อง (2 สัปดาห์) แล้วอาการของโรคไม่ดีขึ้น ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ 
ข้อห้ามใช้ยา
  1. ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยาโอเมพราโซล และส่วนประกอบอื่นๆในยานี้ หรือยากลุ่มกลุ่มยับยั้งการสูบโปรตอนตัวอื่น เช่น เอสโอเมพราโซล แลนโสพราโซล แพนโทพราโซล ราบีพลาโซล หรือเมื่อกินยาโอเมพราโซลแล้วมีอาการ ผื่น คัน ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ตาบวม
  2. ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะ ต้องตรวจให้แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่เป็นมะเร็ง เพราะการใช้ยานี้จะทำให้อาการดีขึ้นและทำให้การวินิจฉัยล่าช้าไป
  3. อย่าใช้ยานี้ก่อนปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร .ในหญิงตั้งครรภ์หรือกำลังจะตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ มีระดับโปตัสเซียมในเลือดต่ำ
หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาโอเมพราโซลหรือไม่
  • หญิงมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ เพราะยาสามารถผ่านรกและเคยมีรายงานความผิดปกติของทารกที่แม่ได้รับยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามแม่ที่ใช้ยาในขนาดการรักษาตามปกติ มีโอกาสทำให้เกิดความพิการในทารกน้อยมาก แต่ก็ควรพิจารณาผลดีผลเสียให้ดีก่อนใช้ยานี้ และอย่าใช้ยานี้ด้วยตนเองก่อนปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • หญิงให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยานี้ เพราะยาสามารถผ่านน้ำนมแม่ไปยังเด็ก หากจำเป็นต้องใช้ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน
อาการข้างเคียงของยาโอเมพราโซลมีอะไร
การใช้ยาโอเมพราโซล อาจมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาดังนี้
  1. อาการข้างเคียงที่รุนแรง ต้องหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที อาการที่พบ เช่น
  • หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก ปวดบริเวณหน้าอก หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ บวมบริเวณมือ เท้า ใบหน้า ตา ปาก ลิ้น ในลำคอ เวียนหัวรุนแรง ชัก มีผื่นขึ้น คัน เป็นลมพิษ มีตุ่มน้ำสีแดง มีอาการแสบและหลุดลอกที่ผิวหนัง ในปาก มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ไอ เจ็บคอ เวลากลืน เสียงแหบ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ บริเวณหลัง หรือขา
  • ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะสีคล้ำขึ้นหรือเป็นสีน้ำตาล เลือดออกในปัสสาวะ ผิวหนังหรือตาเหลือง (เป็นดีซ่าน) หรือเลือดออกง่าย
  • เหนื่อยหรืออ่อนเพลียผิดปกติ เจ็บลิ้น ชาหรือรู้สึกซ่าบริเวณมือและเท้า ซึมเศร้า กระวนกระวายอยู่ไม่สุข สับสน การมองเห็นผิดปกติหรือตาพร่า รวมทั้งอาการอื่นใดที่รุนแรงหรือที่ไม่ยอมหายไป
  1. อาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง หากเกดขึ้นไม่จำเป็นต้องหยุดยา แต่ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ เช่น ท้องร่วง ท้องผูก ท้องเฟ้อ มีลมในกระเพาะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง รู้สึกไม่สบาย ไอ ปวดหัว วิงเวียน ทรงตัวลำบาก รู้สึกหน้ามืด รู้สึกหัวเบาโหงเหวง ง่วงนอนหรือง่วงซึม นอนไม่หลับ ความรู้สึกสัมผั
ทำอย่างไรหากลืมรับประทานยาหรือใช้ยา 
  • โดยทั่วไปหากลืมรับประทานยาก่อนอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับมื้อต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยามื้อต่อไปเลยโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า
การเก็บรักษายา 
  • เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา ปิดภาชนะให้สนิท และเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง และไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
  • ทิ้งยานี้เมื่อยาหมดอายุ
ข้อควรปฏิบัติ ขณะใช้ยาโอเมพราโซล
  1. เด็กที่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานาน ควรระมัดระวังการขาดวิตามินบี 12
  2. ไม่ควรใช้ยานี้ด้วยตนเองเกิน 14 วัน
  3. ในกรณีที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด ให้ท่านปรึกษาแพทย์ทันที เพราะอาจจะมีเลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร
ถ้าใช้ยาโอเมพราโซลมากเกินไปจะเป็นอย่างไร และควรทำอย่างไร
  • อาการที่มักพบ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดหัว ง่วงนอน เวียนหัว สับสน เหงื่อออกมากผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว ตาพร่า รู้สึกเฉื่อย ไร้อารมณ์ ซึมเศร้า สับสน หน้าแดงร้อน ปากแห้ง
  • ถาสงสัยว่าได้รับยาเกินขนาด ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
  • หากเกิดอาการข้างเคียงชนิดรุนแรง ให้หยุดยาและรีบไปพบแพทย์ทันที (นำยาและเอกสารนี้ไปด้วย)
  • หากเกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่รุนแรงหรือรบกวนท่านมาก ควรไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร (นำยาและเอกสารนี้ไปด้วย)
  • อาจต้องใช้เวลาในการกินยานี้ 1-4 วัน จึงจะทำให้อาการของท่านดีขึ้น จึงควรไปพบแพทย์ ถ้าใช้ยาไปแล้ว 14 วัน อาการยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
ขนาดและวิธีใช้ยาโอเมพราโซล
ขนาดการใช้ยานี้อาจมีความแตกต่างกัน ตามความรุนแรงและการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย
(1)รักษาอาการหลอดอาหารอักเสบ หรือหลอดอาหารและคอหอยอักเสบ หรือโรคที่เกิดจากกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร หรือเรียกย่อว่า โรคเกิร์ด
  • ผู้ใหญ่: กินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
  • เด็ก: กินยาตามน้ำหนักตามที่แพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
(2) รักษาอาการปวดในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน
ผู้ใหญ่: กินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
(3) แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น
ผู้ใหญ่: ให้รับประทานวันละOmeprazole 20 มก วันละครั้งแผลส่วนใหญ่จะหายใน 4 สัปดาห์ หรือกินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
(4)รักษาแผลในกระเพาะ
ให้รับประทานวันละOmeprazole 40 มก วันละครั้งเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์
(5)รักษาภาวะกรดไหลย้อน
ให้รับประทานวันละOmeprazole 40 มก วันละครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์
(6) รักษาและป้องกันแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นในผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ผู้ใหญ่: กินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
(7) รักษาแผลในกระเพาะหรือลำไส้เล็กที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเทอร์ พัยโรไล
ผู้ใหญ่:ให้รับประทานยาสามชนิดได้แก่  Omeprazole วันละ 20 มิลิกรัม ร่วมกับ clarithromycin 500 มิลิกรัม และ amoxicillin 1000 mg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 10 วัน หรือกินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
หรืออาจจะรับประทาน Omeprazole วันละ 40 มิลิกรัมวันละครั้ง ร่วมกับ clarithromycin 500 มิลิกรัม วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน
(8) ป้องกันการสำลักกรดเข้าไปในปอดก่อนผ่าตัด
ผู้ใหญ่: กินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
(9) รักษาการมีกรดในกระเพาะมากเกินไปจากการเจริญที่ผิดปกติของตับอ่อน หรือกลุ่มอาการโซลลิงเกอร์-เอลลิสัน
ผู้ใหญ่: กินยาตามแพทย์สั่งหรือคำแนะนำของเภสัชกร
การให้ยา omeprazole ร่วมกับ Clopidogrel
ไม่ควรให้ omeprazole ร่วมกับ Clopidogrel เพราะ omeprazole จะทำให้ยา Clopidogrel ออกฤทธิ์ลดลง
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น