วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ ขยะมีพิษทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี

ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ ขยะมีพิษทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี

Home » Smart tech » ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ ขยะมีพิษทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี

ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟ ขยะมีพิษทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี

 
หากจะพูดถึงพลังงานที่ถูกบรรจุอยู่ในรูปแบบของ “ถ่าน และ แบตเตอรี่” คงไม่มีใครบนโลกนี้ไม่รู้จัก เรียกว่าเคยผ่านมือกันมาแล้วทั้งนั้น แต่ร้อยทั้งร้อยเมื่อใช้งานเสร็จแล้วก็ทิ้งขว้างมั่วซั่ว แต่มีสักกี่คนกันที่จะมานั่งคิดตระหนักถึงผลกระทบอันเกิดตามมากับสิ่งแวดล้อมจากถ่านก้อนน้อยๆ เหล่านี้
 
ส่วนใหญ่มีความรู้เท่าไม่ถึงการเกี่ยวกับโทษของสารโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท ที่ถูกบรรจุแฝงอยู่ภายในที่พร้อมจะกระจายเป็นมลพิษออกสู่ดิน น้ำ อากาศ และแน่นอนว่าผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับแหล่งทิ้งขยะเหล่านี้ย่อมเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษอันตรายถัดจากคนเก็บขยะไปด้วย
 
ดังนั้นเราจึงควรหันมาใส่ใจกันที่ต้นเหตุนั้นก็คือ การแยกแยะขยะไปทำลายให้ถูกที่ถูกทาง โดยเกรดของขยะจะลดหลั่นกันไปตามสภาพความปนเปและปนเปื้อน  เช่น ขยะจากบ้านเรือนที่ทำการแยกแล้วจัดว่าเป็นขยะอย่างดีกลายเป็นขยะเกรดเอที่มีมูลค่าสูงสุด  ส่วนขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ก็จะถูกส่งเข้าโรงงานรีไซเคิล   นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยประหยัดพลังงานและลดการใช้สารเคมีลงได้อย่างฉลาดและถูกวิธี
 
ก่อนอื่นควรเริ่มจากตัวของเราเองเสียก่อนเพราะในสังคมไทยเรายังไม่ชัดเจนในการรณรงค์ให้มีการทิ้งขยะพิษเหล่านี้ ให้ถูกที่ไม่ว่าจะเป็น ถ่านไฟฉาย,แบตเตอรี่,หลอดไฟ  ทว่าจะให้เอาแน่เอานอนกับหน่วยงานที่จะลุกมาตั้งกล่องรับซากสารพิษ
 
เหล่านี้ก็เห็นทีจะไม่ได้   เพราะไม่มีการลงมือทำอย่างจริงจัง บ้างก็ผลุบๆ โผล่ๆ อยู่เป็นครั้งคราว เพราะหมดช่วงโครงการรณรงค์บ้างละ  หรือไม่ก็อ้างว่าไม่รู้จะไปทิ้งได้ที่ไหนบ้างละ ทั้งที่บางครั้งการจะทำให้ถุกต้องนั้นมีวิธีที่ง่ายไม่ยุ่งยากเลยดดยแถมเราทุกคนสามารถทำได้ดังนี้
วิธีทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วอย่างง่ายที่สุด คือ
1.เก็บรวบรวมถ่านที่ใช้แล้วมาใส่รวมกันไว้ในถุงดำ
2.ติดป้ายว่าเป็นขยะพิษ (ถ่านไฟฉายใช้แล้ว) เพื่อแจ้งคนเก็บขยะให้ทราบ
3.ถ้ามีซากถ่านไฟฉายมากมายหลายกิโล ก็สามารถโทรเรียกฝ่ายรักษาความสะอาดของเขตที่เราอยู่ให้ไปรับได้ถึงที่เลย !!
 
วิธีทิ้งหลอดฟลูออเรสเซนต์อย่างง่ายที่สุด คือ
1.นำหลอดฟลูออเรสเซนต์ใส่ปลอกกระดาษที่เคยใส่มันมาหรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หลายๆ ชั้นแทนก็ได้
2. แล้วทำการเขียนไว้สักหน่อยว่า “หลอดไฟใช้แล้ว”  แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องสเปรย์ และตลับหมึกก็ทำอย่างเดียวกัน
โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นของรีไซเคิลได้เกือบทั้งเนื้อทั้งตัวของมัน (95%) ทั้งแก้ว ทั้งอะลูมิเนียมที่ขั้วหลอด  เว้นก็แต่สารปรอทกับผงฟอสเฟอร์ที่เคลือบหลอด ซึ่งมีผลอันตรายต่อร่างกายมนุษย์สุด  ฉะนั้นแล้วจึงต้องระวังห้ามทำให้หลอดแตก
จากนั้นขยะมีพิษเหล่านี้จะถูกแยกทิ้งลงช่องรับขยะพิษอยู่ที่ท้ายรถเก็บขยะและจะถูกลำเลียงไปยังสถานีขนถ่าย 3 แห่งทั่วกทม. ซึ่งจะมีบริษัทเอกชนมารับไปกำจัด ด้วยการผ่านขั้นตอนบำบัดทางเคมีก่อนจะฝังกลบต่อไป
แหล่งรับขยะพิษจำพวก ถ่านไฟฉาย,ถ่านชาร์จ  (Li-ion และ Ni-MH)  มีดังนี้
- ติดต่อที่ บ. ยูมิคอร์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-678-1122-26
แหล่งรับ หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีดังนี้
- บ. ไทยโตชิบาไลท์ติ้ง จำกัด  โทร. 0-2501-1425-9
- บ. ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด  โทร. 0-2652-8652
“เราทุกคนต้องหันมาทิ้งขยะให้ถูกที่ ถูกทาง เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยืนยาวต่อไปนะจ้ะ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น