เจาะลึกข้อมูล ไวรัสตับอักเสบบี
เจาะลึกข้อมูล ไวรัสตับอักเสบบี

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ได้ยินชื่อกันอยู่บ่อย ๆ สำหรับ ไวรัสตับอักเสบบี หรือ โรคไวรัสตับอักเสบบี แต่หลายคนก็ยังไม่ทราบว่า ไวรัสตับอักเสบบี เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีอันตรายมากน้อยขนาดไหน วันนี้เรามาเจาะลึกเรื่อง ไวรัสตับอักเสบบี กันดีกว่า
ไวรัสตับอักเสบบี คือ โรคตับอักเสบ ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส บี แต่ถ้าหากเกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่น ๆ เช่น ไวรัส เอ ไวรัส ซี ก็จะเรียกชื่อต่าง ๆ กันไป แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ ไวรัสตับอักเสบบี เป็นตัวที่อันตรายและรุนแรงมากที่สุด เพราะเชื้อไวรัสจะซ่อนตัวอยู่ในคน ก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งตับ , ตับอักเสบเรื้อรัง หรือตับแข็งได้

ในประเทศไทยพบผู้ป่วย ไวรัสตับอักเสบบี มานานแล้ว และพบค่อนข้างมาก โดยใน 100 คน จะพบคนที่เป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบบี อยู่ประมาณ 8-10 คน ซึ่งคนที่เป็นพาหะนั้น ไม่ได้เป็นโรค ไม่มีอาการป่วยไวรัสตับอักเสบบี เพียงแต่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกายนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป และสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่น ซึ่งสามารถตรวจเลือดพิสูจน์ได้ว่า เป็นพาหะหรือไม่
ปัจจุบันมีการคาดคะเนกันว่า มีคนไทยประมาณ 5 ล้านคน เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ขณะที่คนทั่วโลกมีผู้เป็นพาหะประมาณ 200 ล้านคน โดยจะพบมากที่ตอนกลางของแอฟริกา ตอนใต้ของประเทศจีน ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาทั้งสิ้น และในผู้ใหญ่ทุก ๆ 100 คน จะมีคนที่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี นี้มาแล้ว 50 คน คือครึ่งต่อครึ่งนั่นเอง

เชื้อไวรัสตับอักเสบบีนี้จะพบในเลือดมากที่สุด รองลงมาพบในน้ำลาย น้ำตา น้ำอสุจิ น้ำเมือกในช่องคลอด น้ำดี และน้ำนมของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ และสามารถติดต่อกันได้ผ่านช่องทางเดียวกับการติดต่อโรคเอดส์ คือ

ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ปกติ หรือแบบรักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จึงถือว่า โรคไวรัสตับอักเสบบี จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง

เช่น การถ่ายเลือด หรือการฟอกเลือดด้วยไตเทียม ซึ่งเลือดทุกขวดที่จะถ่ายไปสู่ผู้อื่น หรือที่ได้รับการบริจาคมา ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเสียก่อน

เช่น การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การสัก การเจาะหูที่ไม่สะอาด การใช้มีดโกน มีดตัดเล็บ หรือ แปรงสีฟัน ร่วมกัน

แม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะกำลังคลอด โดยหากแม่มีเชื้อนี้อยู่ ลูกมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อด้วยถึง 90% และส่งผลอันตรายต่อทารก
ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หรือป่วยเป็นโรคนี้ จะไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปได้เอง เหมือนกับผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อมาจากสาเหตุอื่น โดยทารกแรกเกิดมักไม่มีอาการว่า ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี แต่จะกลายเป็นพาหะเรื้อรังนานหลายสิบปี หรือตลอดชีวิต และเมื่อทารกเหล่านี้โตขึ้นอยู่ในวัยกลางคน จะมีโอกาสเป็นโรคตับเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ โดยเพศชายจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคทางตับมากกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงก็จะเป็นพาหะถ่ายทอดโรคไปสู่ลูกต่อไป ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดวงจร เด็กทารกทุกคนที่เพิ่งคลอดมา ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันไม่ให้โรคดำเนินต่อไป

หากผู้มีเชื้อมีบาดแผลถลอก ก็อาจทำให้เกิดการติดต่อได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ไวรัสตับอักเสบบี นี้ไม่ติดต่อกันผ่านทางการสัมผัสทางผิวหนัง กอด จูบ การมองหน้า ไอจามรดกัน รวมทั้งการทานอาหารและน้ำ แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน หากเราไม่แน่ใจก็ควรใช้ช้อนกลาง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากน้ำลายของผู้ที่เป็นพาหะ

เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อผ่านทางของเหลวของร่างกายผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะได้ ดังนั้น บุคคลดังต่อไปนี้จึงมีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อ








ส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี มักไม่มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก โดยผู้ป่วยจะมีอาการเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีไข้ต่ำ ๆ ในวันแรก ๆ มีอาการจุกแน่นท้อง ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง มีปัสสาวะสีเข้ม อาการเหมือนดีซ่าน เป็นอยู่ 2-3 สัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วจะหายเป็นปกติ มีเพียงส่วนน้อยที่อาจทำให้ตับเสีย มีอาการเพ้อคลั่ง ซึม มีน้ำในท้อง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ คือ 30 - 180 วัน โดยเฉลี่ยคือ 60 - 90 วัน โดยทั่วไปผู้ที่ได้รับเชื้อร้อยละ 90 จะสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ และหายเป็นปกติ พร้อมกับสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ตลอดชีวิต ซึ่งเราสามารถตรวจเลือด เพื่อตรวจสอบว่ามีภูมิต้านทานโรคไวรัสตับอักเสบหรือไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบางคนที่ยังมีเชื้ออยู่ในร่างกายอยู่ หรือเรียกว่าเป็นพาหะ แต่ตับยังทำงานได้ตามปกติ ไม่เกิดความผิดปกติแต่อย่างใด แต่ผู้ที่เป็นพาหะนี้ ก็มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติถึง 223 - 250 เท่า และเกือบครึ่งหนึ่งของผู้เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะเสียชีวิต เนื่องจากโรคตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง และมะเร็งตับ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่จะเป็นโรคตับร้ายแรงเหล่านี้ จะต้องมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในตัวนานกว่า 20-30 ปีขึ้นไป นั่นคือ ต้องได้รับเชื้อมาตั้งแต่เด็กนั่นเอง

ผู้ที่เป็นพาหะ ไวรัสตับอักเสบบี ควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้







แม้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี จะสามารถหายได้เอง และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ แต่เมื่อตรวจพบเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ก็ควรปฏิตัวดังนี้










ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีโดยตรง เป็นเพียงแค่การรักษาตามอาการเท่านั้น แต่ดังที่กล่าวข้างต้น ร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถหายได้เองตามธรรมชาติ มีเพียงส่วนน้อยที่จะเกิดอันตรายขึ้น แต่ในบางรายที่มีอาการตับอักเสบร่วมด้วย ก็อาจฉีดยา หรือให้กินยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเสื่อมของตับ

สำหรับคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถป้องกันได้โดย








วัคซีนป้องกัน ไวรัสตับเสบบี มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ที่จะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ต้องตรวจเลือดก่อนว่าเคยได้รับเชื้อหรือไม่ เพราะผู้ที่เคยได้รับเชื้อและหายขาด จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสู้โรคนี้ไปตลอดชีวิต หรือหากใครที่เป็นพาหะแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก เพราะจะไม่สามารถช่วยทำให้เชื้อหมดไปจากร่างกายได้ โดยการตรวจเลือด จะตรวจกันอยู่ 3 อย่างคือ



ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด และควรฉีดเมื่ออายุยังน้อย ๆ เพื่อป้องกันก่อนได้รับเชื้อ
แม้ในประเทศไทยจะพบผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีจำนวนไม่น้อย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกมากเกินไป เพราะผู้ป่วยโรคนี้สามารถดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ และคนส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคได้เองตามธรรมชาติ สิ่งสำคัญ ควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ไม่ควรอดนอน หรือดื่มสุราที่จะส่งผลร้ายต่อตับอย่างเด็ดขาด และหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น