วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีกำจัดมดให้ปลอดภัย


        ไม่ว่าบ้านแบบไหนๆ ไม่ว่าบ้านใคร มักจะหนีปัญหาเรื่องมดชอบมาเดินเล่นสวนสนามกัน ถ้าหากพากันไปเดินบริเวณอื่นๆ ก็กำจัดได้ไม่ยาก แค่ใช้สเปรย์ฆ่ามดหรือสเปรย์ฆ่าแมลงฉีดพ่น รับรองตายกันเรียบ แต่พากันมาเดินสวนสนามในครัวนี่ซิปัญหาใหญ่ ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายไม่ได้ด้วยซิ ขืนฉีดสเปรย์ฆ่ามดไป อาจไปโดนอาหารแล้วจะกลายเป็นไปฆ่าลูกฆ่าหลานหรือว่าฆ่าตัวเองไปด้วย  แต่เรามีวิธีกำจัดมดในครัวแบบปลอดภัยหลากหลายวิธีมาฝาก แต่อื่นเรามาทำความรู้จักกับน้องมดกันก่อนดีกว่า


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมด
       การหาอาหารของมด   ถ้าดูที่ส่วนปากของมดแล้วพบว่า จะมีส่วนที่ใช้กัดและกินรวมไปถึงส่วนที่ใช้ดูดด้วย ดังนั้นมดส่วนมากสามารถดูดน้ำเลี้ยงพืชหรือของเหลวจากแมลงที่ขับถ่ายออกมาได้ รวมไปถึงการกัดและกินพืชที่ตายแล้วหรือชิ้นส่วนของสัตว์ มดงานส่วนใหญ่เป็นพวกตัวห้ำหรือกินซากสัตว์ (scavengers) อาหารของมดนั้นค่อนข้างกว้าง ประกอบด้วย สัตว์ที่ขาเป็นปล้องและเมล็ดพืช มดตัวเต็มวัยกินอาหารที่เป็นของเหลว โดยสะสมของเหลวจากเหยื่อที่จับได้หรือขณะที่ดูแลพวกเพลี้ยต่างๆ และแมลงกลุ่มอื่นๆ เหยื่อที่เป็นของแข็งนั้นก็จะนำกลับไปที่รังโดยมดงาน ตามปกติจะเป็นอาหารของตัวอ่อนมด ตัวเต็มวัยที่อยู่ในรังได้แก่ ราชินี ได้รับอาหารจำนวนมากหรือทั้งหมดจากมดงานที่หาอาหารได้โดยตรง ระหว่างที่หาอาหาร มดงานจะสะสมของเหลวซึ่งจะเก็บสะสมไว้ที่ส่วนบนของระบบย่อยอาหาร เมื่อกลับไปยังรัง มดงานเหล่านี้จะสำรองของเหลวที่สะสมไว้และผ่านเข้าไปยังมดงานตัวอื่นๆ ขณะที่มดงานส่วนมากจะกินอาหารแตกต่างกันออกไป มีมดบางชนิดเจาะจงอาหารในวงแคบๆ

       มดจำนวนมากชอบกินพวกแมลงหางดีดเป็นอย่างมาก ส่วนมดบางชนิดชอบกินไข่ของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง มดบางชนิดจะเข้าไปยังรังมดชนิดอื่นอย่างรวดเร็ว เพื่อจับตัวอ่อนมดและดักแด้ มดจำนวนมากที่มีความจำเพาะกับอาหาร ที่กินนั้นจะมีการดัดแปลงลักษณะทางสัณฐาน ตัวอย่างเช่น กรามที่พบในพวกกลุ่มตัวห้ำชั้นสูงจะเรียวยาวมาก และมีฟันขนดใหญ่ โดยเฉพาะตอนปลาย เมล็ดของพืชจำนวนมาก มีอาหารที่จำเพาะเรียกว่า elaiosomes ซึ่งจะดึงดูดมดให้เข้ามา มดจะสะสมเมล็ดโดยกินส่วนนี้เป็นอาหาร บางครั้งกินเมล็ดด้วย เมล็ดจำนวนมากยังคงงอกได้หลังจากส่วนที่มีอาหารถูกกินไป เมล็ดจะถูกวางไว้ภายในรังหรือบนกองตรงกลางที่มดสร้างขึ้นมา เป็นบริเวณที่เมล็ดจะมีการงอกในเวลาต่อมา มีความเชื่อว่าเมล็ดที่สะสมโดยมด มีโอกาสสูงมากในการงอกและรอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับ เมล็ดที่ไม่ได้มีการสะสมจากมด เนื่องจากเมล็ดถูกทำลายน้อยมาก โดยพวกกินเมล็ด และเนื่องจากเมล็ดถูกเก็บไว้ในร่มใกล้กับกองดินที่มีธาตุอาหาร

       โดยทั่วไป มดชอบออกหากินไม่ช่วงกลางวันก็กลางคืน การออกหากินของมดบางชนิดเกิดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน ในบริเวณที่แห้งแล้ง กิจกรรมการหาอาหารของมดจำนวนมากขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ บางชนิดมีกิจกรรมระหว่างช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ส่วนบางชนิดมีกิจกรรมระหว่างตอนที่ร้อนที่สุดของวัน


ชนชั้นต่างๆ ของมด
1. ราชินี
2. มดเพศผู้
3. วรรณะทหาร (major worker)
4. วรรณะกรรมกร (minor worker)

      ภายในมดกลุ่มๆหนึ่งจะมี ราชินี ที่ทำหน้าที่วางไข่และมดงานที่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากซึ่งรวมถึง ไข่ ตัวหนอน และดักแด้ มดงานเป็นมดที่มีมากที่สุดในแต่ละรัง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างรังและดูแลรัง หาอาหาร ดูแลครอบครัวและราชินี และป้องกันรัง ราชินีและเพศผู้ที่มีปีกจะอยู่ในรังช่วงสั้นๆเท่านั้น ในเวลาต่อมาก็จะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ราชินีโดยทั่วไปคล้ายกับมดงาน ต่างกันตรงที่มีส่วนท้องใหญ่กว่า มดเพศผู้นั้นมีขนาดเท่ากับมดงานหรือเล็กกว่าเล็กน้อย มีหัวเล็กกว่าและตาเดี่ยว ส่วนมากดูคล้ายกับต่อมากกว่ามด มดงานเป็นวรรณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะขณะที่มดงานหาอาหารบนพื้นดิน หรือเมื่อขอนไม้ผุหรือที่อยู่อาศัยถูกรบกวน อย่างไรก็ตาม มดงานบางส่วนเท่านั้นที่ออกไปหาอาหาร เนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่การทำงาน อย่างชัดเจนภายในรัง บางกรณีหน้าที่ที่เจาะจงนั้นขึ้นอยู่กับอายุของมดงาน ตัวอย่างเช่น มดงานที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ จะคงอยู่ภายในรังและดูแลไข่ ตัวหนอน และดักแด้ เมื่อมีอายุมากขึ้น มดงานก็จะเปลี่ยนกิจกรรม จากดูแลครอบครัวและเริ่มงานใหม ่ในการสร้างรังและทางเดิน ในที่สุดมดงานก็จะเป็นผู้ออกไปหาอาหาร แต่มดงานบางตัวอาจดำเนินกิจกรรมที่เหมือนกันตลอดทั้งชีวิต หรือบางกรณีมดงานทั้งหมดอาจดำเนินกิจกรรมทั้งหมดภายในกลุ่ม ในกลุ่มมดงานที่มีสองรูปแบบและหลายรูปแบบ ขนาดของมดงาน จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรม ตัวอย่างเช่น มดงานที่เป็น major อาจจะพบภายในรังหรือใกล้รังเท่านั้น ขณะที่มดงานที่เป็น minor เท่านั้นออกไปหาอาหารไกลจากรัง

       ชีวิตของมด รังมดโดยทั่วไปเริ่มด้วย ราชินี 1 ตัว ราชินีจะบินออกจากรังที่เป็นบ้านอาศัย พร้อมด้วยราชินีและมดเพศผู้ตัวอื่น ๆ ด้วย และจากรังอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ราชินีจะค้าหาที่สำหรับผสมพันธุ์ โดยปกติจะถูกดึงดูดด้วยวัตถุขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ต้นไม้สูงๆ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ และยอดเนินเขา บริเวณเหล่านี้จะเป็นที่พบกันสำหรับราชินีและมดเพศผู้ที่มาจากหลายรัง ทำให้สามารถพบกัน ราชินีก็จะผสมพันธุ์กับมดเพศผู้ 1 ตัว หรือ 2-3 ตัว ขณะยังคงบินอยู่ในอากาศแต่เป็นช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นก็จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน ราชินีจะค้นหาพื้นที่ทำรังที่เหมาะสม พื้นที่ราชินีค้นหานั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสามารถมีขอบเขตตั้งแต่ยอดไม้จนถึงใต้ดิน ข่วงที่ราชินีค้นหาหรือขณะที่พบพื้นที่ที่เหมาะสมแล้วราชินีจะกัดปีกหรือสลัดปีกออกเนื่องจากไม่ ต้องการใช้แล้วจากนั้น ราชินีจะห่อหุ้มตัวเองด้วยปลอกขนาดเล็ก ๆ และวางไข่เป็นกลุ่มเล็กๆ ราชินียังคงอยู่ในรังกับครอบครัว

วงจรชีวิตของมด

       ขณะที่กำลังเจริญเติบโต ตัวหนอนที่กำลังเจริญเติบโต จะกินไข่ที่ไม่ได้ผสมซึ่งราชินีจะวางไข่โดย เฉพาะสำหรับเป็นอาหาร มดงานรุ่นที่ 1 มีขนาดเล็กกว่ามดงานรุ่นถัดๆมา เพราะว่าราชินีสามารถจัดเตรียมอาหาร ในปริมาณที่กำจัด เมื่อเปรียบเทียบ กับการหาอาหารของมดงาน เมื่อมดงานเป็นตัวเต็มวัย ก็จะเริ่มออกจากรังและหาอาหาร โดยการจับเหยื่อกลับมาให้ราชินีและครอบครัวที่เพิ่มขึ้น กลุ่มมดพัฒนาขึ้น เพราะว่ามีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดงานรุ่นใหม่ควบคุมดูแลครอบครัวรวมทั้งนำอาหารเพิ่มขึ้น ที่ระยะนี้ ราชินีจะลดกิจกรรม ในการวางไข่และมดงานเข้ารับหน้าที่ทั้งหมดภายในรัง ราชินียังคงมีความจำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตกลุ่มมดทั่วไป เพราะว่าราชินีจะควบคุมกิจกรรมของมดงานทั้งหมดในรังด้วยการส่งสารเคมี

      รูปแบบการค้นหารังเป็นรูปแบบหนึ่งที่พบทั่วไปและแพร่กระจายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีมดอีกจำนวนมากที่แตกต่างไปจากนี้ ตัวอย่างเช่น การผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นบนหรือในรัง ราชินีหลายตัวสร้างรังร่วมกันและอาศัยอยู่ร่วมกัน หรือต่อมาก็ต่อสู้กันในการกำหนดราชินีที่เหลืออยู่ภายในรัง ส่วนราชินีตัวอื่นๆถูกบังคับให้ออกไปหรือถูกฆ่าตาย ส่วนในบางชนิดนั้นกลุ่มใหม่ถูกสร้างเมื่อราชินีใหม่ออกจากรังไป พร้อมกับมดงานจำนวนหนึ่งและกำหนดถิ่นฐานใหม่ที่ห่างไกลออกไป ราชินีหาอาหารข้างนอกรังก่อนที่มดงานรุ่นที่ 1 จะเกิดขึ้น เป็นต้น
       ขณะที่กลุ่มมดงาน จะเข้าสู่วัยแก่ ราชินีจะเริ่มผลิตราชินีและมดเพศผู้ในรุ่นถัดไป ปัจจัยหลายประการ ที่เป็นตัวกำหนดการผลิตราชินีใหม่ประกอบด้วย เวลาในรอบปี อาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดและที่บรรจุไข่ที่วาง ฟีโรโมนหรือฮอร์โมนที่ผลิตโดยราชินี และอายุของราชินี ส่วนการผลิตมดเพศผู้นั้นถูกกำหนดโดยกลไกอย่างง่ายๆกว่าราชินี ตัวหนอนของราชินี และมดเพศผู้ใหม่จะคล้ายกับตัวหนอนของมดงานแต่โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อเป็นตัวเต็มวัยระยะแรกจะยังคงอยู่ในรังก่อนเพื่อคอยภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเริ่มต้นออกจากรัง สภาพที่เหมาะสมนี้จะเป็นสาเหตุสำคัญในการกระตุ้นการออกจากรังของราชินีและมดเพศผู้เมื่อออกจากรังไปแล้ว ราชินีจะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ภายใน 2-3 วันเท่านั้น ขณะที่มดเพศผู้โดยทั่วไปจะตายภายใน 2-3 วันหลังออกจากรัง

       รังมด   ถึงแม้ว่าจะพบมดได้ง่ายอย่างไรก็ตาม ตาที่อยู่ของรังมดไม่ค่อยมีใครรู้มากนัก มดถือเป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งที่มีการดัดแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการโดยการสร้างรังอย่างปราณีตในบริเวณที่เลือก บางครั้งมีการใช้พลังงานไปจำนวนมากในการสร้างรัง รังมดโดยทั่วไปมีอายุเป็นปีและบางชนิดมีอายุถึง 10 ปี นอกจากนี้แล้ว มดบางชนิดจะใช้ไฟเบอร์ของพืชหรือดินในการสร้างเป็นเกราะป้องกันบริเวณที่หาอาหาร
       รังมดในดินแตกต่างกันตั้งแต่รังขนดเล็กๆเป็นแอ่งอย่างง่ายๆอยู่ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ หรือวัสดุอื่นๆที่อยู่ตามพื้นดิน จนเป็นอุโมงค์ที่ขายออกไปหลายๆเมตรใต้ดิน โครงสร้างของรังมดนี้แตกต่างไปตามแต่ละชนิดมด ชนิดดินและบริเวณที่สร้างรัง เมื่อมองดูจากด้านบนตั้งแต่ทางเข้าของรังไปในรังใต้ดินมีรูปแบบในขอบเขตที่กว้างมาก มดจำนวนมากมีรูทางเข้าขนาดใหญ่พอเพียงให้มดงาน 1 ตัวเข้าไปได้เท่านั้น บางชนิดเป็นทางเข้าเดี่ยวๆที่มีมูลดินล้อมรอบ ซึ่งแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่มูลดินต่ำและกว้างไปจนถึงมูลดินสูงเป็นป้อมแคบๆ มดจำนวนมากจะมีเศษพืชและดินล้อมรอบทางเข้ารังเป็นกองขนาดใหญ่ซึ่งด้านบนลาดลง บางชนิดมีการเก็บเศษพืชไปสร้างกำบังกองดินที่อยู่เหนือรังใต้ดิน มดบางชนิดสร้างรังอยู่บนต้นไม้ ตามกิ่ง ก้าน หรือลำต้นของต้นไม้ รังส่วนมากที่พบ ทางเข้าของรังมดงานชนิดต่างๆมีขนาดเล็กและวงกลมหรือไม่ก็โดยอาศัยโครงสร้างธรรมชาติของลำต้นและกิ่ง มีมด 2-3 ชนิดที่สร้างรังบนต้นไม้ จะสร้างโดยการใช้ใบไม้ ตัวอย่างเช่น มดแดง จะเชื่อมใบไม้แต่ละใบเข้าด้วยกันโดยเส้นใยที่ผลิตจากตัวอ่อนของมดแดง หรือบางชนิดที่อาศัยตามต้นไม้ จะใช้ไฟเบอร์ของพืชนั้นสร้างสิ่งปกคลุมรังซึ่งเชื่อมติดกับผิวใบ มดก็จะอาศัยอยู่ภายในปลอกหุ้มที่สร้างโดยสิ่งปกคลุมกับใบ ขณะที่มดจำนวนมากจะสร้างรังอย่างพิถีพิถัน แต่บางชนิดสร้างรังอย่างง่ายๆ มีมดจำนวนมากพบในขอนไม้ผุซึ่งจะนำไฟเบอร์พืชออกไปสร้างเป็นหลุมอย่างง่ายๆสำหรับมดงานและครอบครัว หลุมเหล่านี้อาจมีขนาดเล็กหรือขยายใหญ่ได้แต่มีความซับซ้อนของรังน้อยกว่ารังมดที่อยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ มีมดบางชนิดที่ไม่มีรังที่แท้จริง จะพบเป็นกลุ่มเล็กๆบนพื้นดินในซากพืชหรือระหว่างรากพืช มดพวกนี้จะเคลื่อนย้ายรังบ่อยมากและสามารถพบตามบริเวณที่เหมาะสมได้กว้างขวาง

วิธีไล่และป้องกันมดแบบปลอดภัย

วิธีที่ 1: เปลือกไข่ไล่มด จาก หนังสือ Lisa คอลัมน์ รู้รอบครัว
      วีธีการ : ให้นำเปลือกไข่มาเผาไฟแล้วไปวางไว้ที่ๆมดเดินผ่าน มดก็จะไม่กล้ามาอีกจ้า

วิธีที่ 2 : ใช้พริกไล่มด จาก กรมส่งเสริมการเกษตร
       พริก เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ  ไล่ มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ไวรัส ด้วงงวงช้าง แมลง ได้ และผลสุกยังมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมี สารยับยั้งการขยายตัวของไวรัส
       วิธีการ : นำพริกแห้งป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืนกรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำสบู่ 1 : 5 ส่วน ใช้ฉีดพ่น ทุก7 วัน ควรทดลองแต่น้อย ๆ ก่อน และให้ใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจระคาย เคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้ นำใบและดอกของพริกมาคั้นผสมน้ำไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันการ ระบาดของไวรัส โดยฉีดก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัส

วิธีที่ 3 : เทคนิคไล่มดจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
       - ใช้ฟองน้ำเปียกๆ เช็ดตามทางมด มดจะหาทางเดินไม่เจอ
       - โรยพริกป่น สะระแหน่แห้ง กากกาแฟ ตามบริเวณที่มดเดินหรือบีบมะนาวตามรูเข้าของมด หรือทิ้งเปลือกมะนาวไว้ตรงนั้น ปลูกสะระแหน่ไว้รอบบ้าน มดจะไม่กล้าเข้าใกล้
       - ใช้ผงฟูโรยตามทางของมด หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเช็ดตามทางเดินมด แมลงสาบ


วิธีที่ 4: กำจัดมด จาก อาจารย์วิไล จิรมงคลการ นิตยสารบ้านและสวน
       - หาเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาตัดเป็นชิ้น ๆ ความยาวพอประมาณ ชุบกับน้ำมันเครื่องพอหมาดหรือจาระบี แล้วนำมาพันรอบขาตู้หรือโต๊ะ หรือจะใช้ปูนขาวใส่ภาชนะรองที่ขาตู้ก็ได้ และหากพบมดไต่ขึ้นมาตามรอยแตกร้าวของคอนกรีต ให้ใช้น้ำมันก๊าดเทลงไปในร่อง มดก็จะไม่โผล่หน้าขึ้นมาให้เรารำคาญใจอีกนาน
       - ใช้แป้งฝุ่นสำหรับทาป้องกันเห็บหมัดของสุนัขหรือแมวมาโรยตามพื้นหรือบริเวณที่มดขึ้น เมื่อมดเดินผ่านก็จะเกิดการระคายเคืองและตายในเวลาอันรวดเร็ว หรืออาจฝานมะนาวเป็นแผ่นบางๆ มาไปวางในบริเวณที่มดขึ้นก็ได้
       - หากพบว่ามีมดขึ้นอยู่ในขวดน้ำตาลหรือขนมปังที่ใส่อยู่ในกระป๋อง ให้เราปิดฝาขวดหรือกระป๋องนั้นให้สนิท จากนั้นให้ออกแรงเขย่าเพียงเล็กน้อย แล้วเปิดฝาทิ้งไว้หรือนำไปผึ่งแดดสักครู่ มดตัวน้อยตัวนิดก็จะพากันหนีออกมาเอง
        - ในกรณีที่พบรังมด ให้ใช้น้ำที่แช่หน่อไม้สดหรือหน่อไม้ดองเปรี้ยวราดไปที่รัง มดจะอพยพไปอยู่ที่อื่นทันที แต่ถ้าต้องการกำจัดให้สิ้นซาก ให้ใช้การบูรและยาสูบอย่างละ 1 ส่วน นำไปแช่น้ำตั้งไฟให้เดือด จากนั้นเอาไปราดที่รัง มดก็จะตายและไม่กล้ามาทำรังอีกแน่ๆ

วิธีที่ 5 : สูตร Boric กำจัดมด เหยื่อกำจัดมดที่ปลอดภัยสูง (แมลงสาปก็ตายด้วย) จาก เว็บไซด์ วิชาการ
วัสดุอุปกรณ์
        1. เยลลี่แบบที่เด็กรับประทานเช่น PEPO
        2. เนยถั่ว
        3. ผง Boric Acid  (ดูแหล่งซื้อได้ท้าย บทความความครับ)

ขั้นตอนการทำ
       1. เอาเยลลี่มาทำให้ร้อนจนละลายหมดครึ่งถ้วย 250 cc (=125 cc)
       2. เอาผง Boric Acid ใส่ลวไปประมาณ 6 % ละลายให้หมด
       3. ใส่เนยถั่วลงไปประมาณ 1 ช้อนชาคนให้ทั่ว

การใช้งาน      
      เอาใส่ขวดพลาสติกเล็กเช่นขวดนมเปรี้ยว ไปวางตามซอกหลังตู้ในบ้าน แล้วมดจะหมดไปจากบ้านในเวลา 1 เดือน
          เป็นเหยื่อฆ่ามดที่ปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงและคนที่ไม่เอาไปรับประทานโดยตรง รับรองฆ่าตายทั้งรังใน 1 เดือน แมลงสาปก็พลอยตายไปด้วย

วิธีที่ 6 : ไล่มดขึ้นข้าวสาร  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
       บ้านไหนซื้อข้าวสารมาครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้เป็นเวลานาน อาจจะเคยเจอปัญหามดขึ้น วันนี้มีวิธีแก้ปัญหานี้มาฝาก อยากรู้ทำยังไงต้องอ่าน
      ให้นำใบมะกรูดไปวางไว้ในภาชนะที่ใส่ข้าวสาร ประมาณ 4-5 ใบ แล้วฉีกเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก กลิ่นจากใบมะกรูดจะช่วยขับไล่แมลงต่าง ๆ ที่มาขึ้นข้าวสารได้ ควรหมั่นตรวจสอบไม่ให้ใบมะกรูดแห้ง เพราะจะทำให้กลิ่นจางไป ให้หาใบใหม่มาเปลี่ยน
      แต่ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นมะกรูด ให้ใช้พริกสดประมาณ 8 เม็ด ผ่าเอาเมล็ดออกเหลือไว้แต่เปลือก นำเปลือกพริกใส่ไว้ในถังข้าวสาร สามารถขับไล่แมลงได้ด้วย หรือจะใช้พริกแห้งก็สามารถแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน
      อีกวิธี อาจเสี่ยงต่อการกินข้าวรสเค็ม แต่ก็ได้ผล คือ ใช้เกลือป่นโรยลงไปในถังข้าวสาร ในอัตราส่วน เกลือ 1 ช้อนชา ต่อข้าว 1 กก. สามารถไล่มดและแมลงได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ใส่เยอะจนเกินไป
      แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ หาภาชนะที่ปิดได้สนิท ไว้ใส่ข้าวสาร หรือถ้ามีปริมาณที่มากเกินกว่าจะหาที่ใส่ได้ ให้ลองวิธีที่เบสิกที่สุด คือหาน้ำใส่ภาชนะไว้รองขาโต๊ะ ที่ใช้วางถังข้าวสาร วางให้ห่างจากผนัง และคอยตรวจตราไม่ให้น้ำแห้ง เพียงเท่านี้ก็ตัดทางเดินของมดแล้ว.

วิธีที่ 7 : ไล่มดด้วยขมิ้น จาก Yahoo
      คนโบราณมีวิธีไล่มดง่ายๆดังนี้ ให้เอาขมิ้นพอสมควรมาตำจนละเอียด จากนั้นเทน้ำมันก๊าดผสมลงไป กวนให้ข้นๆ นำขมิ้นพสมน้ำมันก๊าดไปโรยบริเวณที่มีมด มดจะหนีหายไปหมด


วิธีที่ 8 : วิธีการป้องกันมดและแมลงสาบในบ้านเรือน จาก เว็บไซด์ วัดท่าขนุน




วัสดุอุปกรณ์
       - น้ำมันเหลือง
       - สำลี
วิธีการทำ :
       นำสำลีที่เตรียมไว้ไปชุบกับน้ำมันเหลืองแล้วนำไปวางตามจุดที่มีมดและแมลงสาบชุกชุม อาจจะเป็นตามมุมบ้าน ซอกอับหรือในครัวเป็นต้น  กลิ่นของน้ำมันเหลืองจะเป็นกลิ่นที่มดและแมลงสาบไม่ชอบ ส่งผลให้มดและแมลงสาบไม่เข้ามาในบริเวณที่วางสำลีชุบน้ำมันเหลืองไว้


หมายเหตุ : น้ำมันเหลือง นอกจากจะใช้ในการป้องกันมดและแมลงสาบแล้ว  ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย เช่น  ยาคลายเคล็ดขัดยอก, ยาดมแก้วิงเวียนศีรษะ


วิธีที่ 9 : ใช้สารส้มกันมด
       การนำสารส้มมาละลายในน้ำอุ่นที่เราต้มไว้  จากนั้นก็นำไปราดในบริเวณที่เจ้ามดได้เดินผ่าน  เท่านี้ก็จะทำให้มดนั้นก็จะหนีไปไม่มาเดินผ่านอีก  แต่วิธีนี้ใช้ได้ดีสำหรับมดดำเท่านั้นนะ  เพราะมดดำกลัวสารส้ม  และจะไม่มาบริเวณนั้นอีก


วิธีสุดท้าย : การป้องกันที่ดีที่สุด

       - การกำจัดและป้องกัน มด ที่ดีที่สุด คือการจัดการสุขาภิบาลภายในตัวบ้านการดูแลและรักษาความสะอาด ความชื้นในห้องครัว หรือมุมอับให้สะอาดอยู่เสมอ
       - การจัดเก็บขยะหรือเศษอาหารภายในบ้านควรจะทำอย่างสม่ำเสมอและทุกวัน ไม่ควรทิ้งไว้ข้ามคืน ซึ่ง มด อาจจะเข้ามาหาอาหารและเข้ามารบกวนภายในบ้านได้


      สุดท้ายขอขอบคุณข้อมูลเกี่ยวความรู้ทั่วเกี่ยวกับมดจาก บริษัท เพาเวอร์ เพสท์ กรุ๊ป จำกัด ด้วยครับ




------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ร้านขายสารเคมี ที่น่าจำหน่ายสาร Boric Acid ตามข้างล่างนี้
1)  บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด
6 ซ.ลาดพร้าว 110 แยก 3 ถ.ลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0-2530-2754-60 โทรสาร. 0-2530-4619, 0-2530-2761

2) บริษัท กิบไทย จำกัด
44/6 ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทร. 0-2274-8331-3, 0-2693-0186-8 โทรสาร. 0-22748336, 0-22748580

3) บริษัท กิสส์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
1/11-13 ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0-2277-7597, 0-22775940 โทรสาร. 0-2275-5517

4) บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด
769/29-30 ถ.ประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทร. 0-2910-8660-4, 0-25878491-2 โทรสาร. 0-2910-7383, 0-2587-8493

5) ห้างหุ้นส่วนจำกัด คลีนิคอลไดแอกโนสติคส์
126 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 67 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทร. (02) 881-1800 โทรสาร. (02) 881-1709

6) บริษัท ควอลิฟาย กรุ๊ป จำกัด
19/9 หมู่ 6 ซ.สมปรารถนา ถ.สุขาภิบาล 5 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
โทร. 0-2948-0020-2, 0-2948-9889 โทรสาร. 0-2948-0023, 948-2303

7) บริษัท เค.เค.ไซเอ็นทีฟิค จำกัด
1350, 1352 ถ.สุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0-2693-8123-6 โทรสาร. 0-2693-8127

8) บริษัท เค.วี. ซายน์ จำกัด
580 ซ.ลาดพร้าว 71 ถ.ลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ ฯ 10230
โทร. 0-2539-4309-12, 0-2538-2258 โทรสาร. 0-2538-2166

9) บริษัท เคมีเคิลเฮ้าส์แอนด์แล็บอินสทรูเม้นท์ จำกัด
1937/23-24 ซ.รามคำแหง 21 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทร. 0-2319-0792-3, 0-2318-4739-40 โทรสาร. 0-2718-5008, 0-2318-0489

10) บริษัท โคแอกซ์ กรุป คอร์ปอเรชั่น จำกัด
1131/331 ถ.นครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2668-2436-40 โทรสาร. 0-2243-7386

11) บริษัท จรัญเอสโซซิเอทส์ จำกัด
723/2 ซ.ทองหล่อ ถ.สุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทร. (02) 381-6259-60, 712-5619-20 โทรสาร. (02) 391-2243

12) บริษัท จาร์พา เท็คเซ็นเตอร์ จำกัด
26/171 หมู่ 5 ซ.สุขุมวิท 105 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2748-7292, 0-2748-6970 โทรสาร. 0-2748-6969

13) บริษัท เจ.พี.เอ็ม.เคมีคอลส์ แอนด์ไซทิฟิค จำกัด
104/2 ซ.ลาดพร้าว 124 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0-2539-7027, 0-2539-7008 โทรสาร. 0-2539-7007

14) บริษัท เจ๊บเซ่น แอนด์ เจ๊สเซ่น มาร์เก็ตติ้ง (ที) จำกัด
23/110-117 อาคารสรชัย ชั้น 25-29 ซ.สุขุมวิท 63 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110
โทร. 0-2714-3990-9 โทรสาร. 0-2714-3900

15) บริษัท ชัชรีย์ โฮลดิ้ง จำกัด
2991/18 อาคารชัชรีย์ วิสุทธานี ซ.ลาดพร้าว 101/3 ถ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทร. 0-2370-3161 โทรสาร. 0-2370-2455

16) บริษัท ซายน์เทค จำกัด
321/43 ถ.นางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทร. 0-2285-4101 โทรสาร. 0-2285-4856, 0-2285-4178

17) ห้างหุ้นส่วนจำกัด เซ้าท์ซิตี้ ซัพพลาย
258 อาคารเซ้าท์ซิตี้ พัฒนาการ 30 ถ.พัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทร. 0-2717-1730-48 โทรสาร. 0-2717-1750

18) ห้างหุ้นส่วนจำกัด แซค ซายน์ เอ็น
49/522-523 หมู่ 5 ซ.บุญส่งโสพิศ ถ.นวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240
โทร. 0-2374-1534, 0-2377-0753, 0-2734-7715, 0-2734-8193-4 โทร

19) บริษัท พามาลิน จำกัด
24 ซ.ลาดพร้าว 84 ถนนเอกมัย-รามอินทรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 0-2530-4434, 0-2530-4618, 0-2530-3916-7 โทรสาร. 0-2530-4773

20) บริษัท ไซมิส อินสทรูเม้นท์ จำกัด
1529, 1531 ซ.จรัญสนิทวงศ์ 75 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
โทร. 0-2880-3510-8 โทรสาร. 0-2880-3519

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น