วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเริ่มพัฒนาการควบคุมแบบไร้สาย

การเริ่มพัฒนาการควบคุมแบบไร้สาย  
 
       
   
 
ทดลองใช้งานเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบพื้นฐานก่อนที่จะไปใช้เทคโนโลยีระดับสูงกันดีกว่า !!!
การเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีไร้สาย
ปัจจุบันการสื่อสารเกือบทุกชนิดที่เราได้สัมผัส เป็นการสื่อสารแบบไร้สายก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีบลูทูซ WIFI อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าพูดถึงงานทางด้านเทคนิคและการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้แล้ว ค่อนข้างหาคนที่สามารถพัฒนาได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ใช้งานเทคโนโลยี แต่ถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่กำลังมีความสนใจเกี่ยวกับงานด้านนี้ หรือกำลังเริ่มที่จะศึกษาเทคโนโลยีไร้สาย เพื่อนำไปใช้ในงานต่างๆ ที่ท่านสนใจ เช่น การเปิด,ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า การสั่งงานเครื่องจักร เครื่องที่อำนวยความสะดวกให้มนุษย์ หรือแม้กระทั้งระบบรักษาความปลอดภัย
วิธีการที่จะสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีไร้สายก็มีหลายวิธี
 ซึ่งปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น บลูทูซ ก็มีเป็นโมดูลมาขายให้ทดลองเล่นกันแล้ว ราคาก็ไม่แพงจนเกินไป เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่ซื้อมา แต่บางครั้งงานที่ต้องการนำเทคโนโลยีไร้สายเข้าไปช่วย ก็ไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีที่สูงมากนัก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเร็ว โปโตคอลที่ทันสมัย แต่กับต้องการระยะทางที่ไกลมากขึ้น โดยมีข้อมูลที่ส่งเพียงไม่กี่บิต ถ้าจะไปเอาโมดูลที่กล่าวมาแล้วมาใช้งาน ก็คงต้องซื้อแบบที่มีกำลังส่งสูงๆ มา ซึ่งราคาก็จะสูงตามไปด้วย ยิ่งถ้าหากระยะทางในการส่งข้อมูลไกลมากขึ้น ก็คงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มกันแน่ ผมเองกลับคิดว่าถ้าเราหาเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดบ้านเรา ที่ราคาไม่แพงมากนัก สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ก็น่าที่จะเป็นเรื่องดี ผมเองจึงได้คิดโมดูล รับ-ส่ง หรือจะพูดว่าเป็นโมเด็มเอนกประสงค์ก็คงไม่ผิด ซึ่งมีความเร็วที่ไม่มากนัก เหมาะสำหรับงานที่ต้องการระยะทางควบคุมไกลๆ ข้อมูลที่ส่งไม่เร็วมากนัก เช่น สัญญาณควบคุมต่างๆ หรือแม้กระทั้งการนำไปประยุกต์ใช้กับโครงงานที่ต้องการควบคุมระยะทางไกลๆ (หุ่นยนต์สำรวจ) ได้ จึงได้ทดลองและสร้างโมเด็มเอนกประสงค์ขึ้น มีรายละเอียดและการทำงานดังนี้
 
 
 คุณสมบัติ  
  
  1. ความเร็วในการส่งสัญญาณ 1200 bps
  2. มอดูเลทแบบดิจิตอล (FSK)
  3. รับสัญญาณดิจิตอลอินพุทและส่งสัญญาณดิจิตอลเอาท์พุทเป็นแบบ TTL
    (ต่อใช้งานกับไมโครคอนโทรเลอร์ได้โดยตรง)
  4. มีช่องสัญญาณตรวจสอบสัญญาณคลื่นพาหะ
    (ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเครื่องส่งหยุดส่งสัญญาณหรือยัง)
  5. มีภาคจ่ายไฟให้วงจรในตัว ผู้ใช้สามารถใช้แหล่งจ่ายได้หลายรูปแบบ
  6. สามารถปรับความเร็วให้เหมาะสมกับการใช้งานได้
  7. สามารถสื่อสารแบบ HALF และ FULL DUPLEX ได้
  8. ชิพที่ใช้เป็นมาตรฐาน CCI
 
 มาถึงตรงนี้ท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างดีก็คงจะสนใจวงจรโมเด็มเอนกประสงค์นี้แล้วใช้ไหมครับ แต่สำหรับท่านที่ไม่มีพื้นความรู้ทางนี้มาก ก็คงที่จะยัง งง... อยู่ใช้ไหมครับ ผมจะขออธิบายต่อละกันครับ สำหรับหลักการที่จะนำวงจรนี้ไปประยุกต์ใช้งาน
     
 
ป้ายแสดงหน้าที่สายสัญญาณต่างๆ
สายสัญญาณanalog เข้า ออก
มีภาคจ่ายไฟที่เพียงพอกับวงจรไม่ต้องแบ่งไฟจาก CPU มาเลี้ยง
ขนาดวงจรเล็กกะทัดรัด เพียง 5.5 Cm
ปรับความเร็วของการส่งสัญญาณด้วย DIP SW ง่ายกับการทดลองเมื่อใช้ในงานพัฒนาหรือทดลอง LAB
เมื่อต้องการใช้งานต้องมีภาคส่งและรับ ในรูปเป็นวงจรแบบ ใช้งานได้ทั้ง FULL และ HALF DUPLEX
 
   
 
หลักการมีอยู่ว่า โดยทั่วไปแล้วช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายจะเป็นแบบอนาล็อกอยู่แล้ว (คลื่นวิทยุ) ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณที่เป็นดิจิตอลไปในช่องสัญญาณเหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องทำการมอดูเลทสัญญาณแบบดิจิตอล เพื่อให้สัญญาณดิจิตอลกลายเป็นสัญญาณอนาล็อกก่อน จากนั้นจึงทำการมอดูเลทสัญญาณดิจิตอลที่เปลี่ยนเป็นอนาล็อกแล้ว เข้ากับคลื่นวิทยุ เพื่อส่งออกอากาศ หลายคนคงสงสัยว่าทำไม จึงไม่นำสัญญาณดิจิตอลมามอดูเลทกับคลื่นวิทยุเลย เหตุผลก็มีอยู่ว่าสัญญาณดิจิตอลเองมีองค์ประกอบของความถี่อนาล็อกที่มากๆ (Harmonic) แต่ช่องสัญญาณที่จะส่งออกไปมีแบนด์วิท (ความกว้างของความถี่ที่ใช้งาน) ที่จำกัด ดังนั้นหากเรานำสัญญาณดิจิตอลมามอดกับคลื่นวิทยุเลย ก็จะเกิดสัญญาณลบกวนสูงมาก และเมื่อสัญญาณไปถึงปลายทาง ก็จะเกิดความผิดเพี้ยนขึ้น แต่ถ้าหากเรานำสัญญาณดิจิตอลมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณอนาล็อกในย่านของช่องสัญญาณที่รับได้ เช่น เปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลให้อยู่ในย่านของความถี่ ตั้งแต่ 300 - 3.4 KHz (ย่านเสียงของคนเราในระบบโทรศัพท์) ก่อนก็จะสามารถส่งสัญญาณนั้นไปได้ในระบบโทรศัพท์ เช่นโมเดมที่เราใช้เล่นอินเตอร์เน็ต เป็นต้น วิทยุสื่อสารก็เช่นกัน หากต้องการจะส่งสัญญาณดิจิตอลไปในก็ต้องนำมาเปลี่ยนเป็นอนาล็อกก่อนเช่นกัน โดยเทคนิคการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อกหรือเรียกว่าการมอดูเลทแบบดิจิตอลนั้น ทางเทคนิคมีด้วยกันหลายวิธีมาก เช่น FSK, PSK, QPSK, BPSK, DM อื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีการใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการนำไปใช้งาน แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป จากที่ทราบแล้วว่าหลักการการส่งสัญญาณดิจิตอลไปในสื่อต่างๆ สามารถทำได้อย่างไร ไปบ้างแล้ว ก็คงจะพอเข้าใจว่าวงจรที่ผมนำเสนอมีประโยชน์อย่างไร ไม่ว่าจะนำมาประยุกต์เข้ากับวิทยุสื่อสาร ก็สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลไปได้ ยิ่งถ้าหากกำลังส่งของวิทยุสื่อสารสูงมากๆ ก็จะทำให้เราสามารถส่งสัญญาณดิจิตอลที่เราจะนำไปควบคุมอุปกรณ์อะไรสักอย่าง ครอบคลุมพื้นที่ได้ไกลมากขึ้น อาจจะเป็น 10 กิโลเมตรขึ้นไป ก็สามารถทำได้ น่าสนใจใช้ไหมครับ มาถึงวงจรที่จะนำเสนอบ้างครับ จะใช้มันได้อย่างไรและ ประยุกต์กับอะไรได้บ้าง วงจรที่นำเสนอ เมื่อดูตามคุณสมบัติแล้วก็เพียงพอต่อการนำไปใช้งานส่งสัญญาณควบที่ไม่เร็วมากนัก คือ ในหนึ่งวินาทีสามารถส่งสัญญาณควบคุมได้สูงสุด 1200 Bit ถ้าคิดเป็นตัวอักษรก็ประมาณ 150 ตัวอักษรต่อหนึ่งวินาที หรือ 150 bps ก็นับว่าไม่ช้ามากนัก การใช้งานถ้าหากเป็นโครงงานที่สร้างด้วย MCS51 หรือไมโครคอนโทรเลอร์ตระกูลต่างๆ ก็สามารถนำวงจรนี้ไปต่อร่วมกับ Port (RS232) ของ ไมโครคอนโทรเลอร์ได้เลยหรือ Port อื่นๆที่ต้องการ จากนั้นอาจนำเอาท์พุทไปต่อที่ MIC ของเครื่องส่งวิทยุก็ได้ และชุดรับก็นำสัญญาณจากลำโพงของเครื่องรับมาต่อเข้ากับอินพุทอนาล็อก เพียงเท่านี้เมื่อมีการส่งสัญญาณดิจิตอลเข้ามาที่ชุดส่งๆ ก็จะส่งสัญญาณอนาล็อกไฟผสมกับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกอากาศ เมื่อชุดรับรับได้ก็จะส่งสัญญาณดิจิตอลคืนออกมาให้ ระยะทางขึ้นอยู่กับกำลังส่งของเครื่องวิทยุและระบบสายอากาศครับ และวงจรที่ออกแบบมายังสามารถปรับระดับสัญญาณรบกวนได้อีกด้วย ก็คือ เมื่อในบริเวณเดียวกันมีการใช้คลื่นวิทยุความถี่เดียวกันอาจจะทำให้เกิดการรบกวนกันของความถี่ วงจรนี้สามารถปรับระดับความแรงของสัญญาณที่ต้องการรับได้ เพื่อไม่ให้สัญญาณที่อ่อนกว่าเข้ามา
ลองคิดดูครับว่าถ้าหากเราต้องการจะศึกษาระบบสื่อสารไร้สายที่เข้ามาในบ้านเรามากขึ้นเลื่อยๆ โดยที่เราเองยังไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานเลย เป็นแต่ผู้รับเทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีที่รับมาเท่านั้น ไม่เริ่มที่จะคิดสร้างเทคโนโลยีเองบ้าง เราก็ต้องรับเทคโนโลยีของคนอื่นต่อไป....

หมายเหตุ ความเร็วที่ตั้งได้ตามตารางด้านล่างครับ
M คือ ความถี่เอาท์พุทขณะที่อินพุทเป็นลอจิก "1"
S คือ ความถี่เอาท์พุทขณะที่อินพุทเป็นลอจิก "0"

ส่งท้าย : จากที่ผมเองได้ทดลองสร้างโปรโตคอลของตัวเองขึ้นมาแล้วสร้างบอร์ดทดลอง เพื่อโหลดเฟรมแวร์ที่อัดใส่ MCS51 เข้าไปให้สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้เข้าใจการทำงานของระบบสื่อสารแบบอื่นได้เร็วขึ้น หรือแม้กระทั้งนำโปรโตคอลที่มีใช้งานอยู่แล้ว เช่น X.25 หรือ AX.25 ที่ใช้ในวงการนักวิทยุสมัครเล่น ก็ยิ่งทำให้เข้าใจการส่งข้อมูลแบบแพ็คเก็ตได้ด้วยตัวเอง 
สุดท้ายนี้อยากให้ท่านทดลองเขียนโปรแกรมตามที่ตัวเองถนัด แล้วนำชุดสื่อสารไร้สายเพื่อการพัฒนามาต่อทดลอง สร้างโปรโตคอลเองสิครับแล้วจะรู้ว่าระบบสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น