วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครื่องโทรศัพท์

เครื่องโทรศัพท์

 
รูปที่ 2.1 แสดงลักษณะของเครื่องโทรศัพท์แบบต่างๆ
         เครื่องโทรศัพท์ ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หลายรูปแบบ หลายรูปร่าง หลายขนาดหลายราคา มีทั้งแบบรูปที่ทันสมัย หรือแบบทรงโบราณ บางรุ่นมีหน่วยความจำ หรือมีปุ่มอำนวยความสะดวกมากมาย มีทั้งแบบกดปุ่มหรือแบบหมุน ให้ประชาชน ได้เลือกใช้ตามความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามเครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่องมีหน้าที่เหมือนกันคือ ใช้สำหรับสนทนากัน ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามานั้นเป็นการช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย ในการใช้งานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง


รูปที่ 2.2 แสดงสัญลักษณ์ของเครื่องโทรศัพท์
2.1 ส่วนประกอบเบื้องต้นของเครื่องโทรศัพท์
        เนื่องจากเครื่องโทรศัพท์ที่อยู่ในท้องตลาดปัจจุบันนี้ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเข้าไปมากมาย แท้จริงแล้วถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เครื่องโทรศัพท์ก็สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงขอกล่าวเฉพาะส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้น
รูปที่ 2.3 แสดงส่วนประกอบภายนอกของเครื่องโทรศัพท์

รูปที่ 2.4 แสดงวงจรของเครื่องโทรศัพท์เบื้องต้น 
2.1.1 ปากพูด (Transmitter) 
         โดยทั่วไป เราเรียกว่า "ปากพูด" อุปกรณ์ตัวนี้แท้จริงแล้วก็คือ ไมโครโฟน (Microphone) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ปากพูดที่ใช้อยู่ ในเครื่องโทรศัพท์ปัจจุบันมี 3 แบบ คือ
         1. คาร์บอน (Carbon)
         2. ไดนามิกส ์(Dynamic)
         3. คอนเดนเซอร ์(Condenser)
เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะนิยมใช้ คอนเดนเซอร์ เป็น ปากพูด เพราะขนาดเล็ก ราคาถูก ความไวสูงกว่าแบบอื่น ๆ

2.1.2 หูฟัง (Receiver) 

         โดยทั่วไปเรียกว่า "หูฟัง" ซึ่งก็คือ ลำโพง (Speaker) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง ลักษณะโครงสร้างของ หูฟัง อาจไม่เหมือนลำโพง ทั่ว ๆ ไปนักเพราะต้องออกแบบให้มีขนาดเล็กและอยู่ในรูปร่างที่ถูกจำกัดไว้ด้วยพื้นที่ แต่หลักการทำงานก็ยังคงเหมือนเดิม

2.1.3 ฮุคสวิตช์ (Hook Switch) 
         ลักษณะของ ฮุคสวิตช์ ก็คือ สวิตช์ 2 ทาง ทำหน้าที่เลือกว่าจะให้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับวงจรกระดิ่ง (Ringer) หรือต่อกับวงจรปากพูดหูฟัง ดังแสดงตาม รูปที่ 2.6


รูปที่ 2.5 ลักษณะและสัญลักษณ์ของฮุคสวิตช์ (Hook Switch)

รูปที่ 2.6 บล็อคไดอะแกรม (Block Diagram) แสดงหน้าที่ฮุคสวิตช์ (Hook Switch)

         ในขณะที่ไม่มีการใช้โทรศัพท์ ฮุคสวิตช์จะต่อสายโทรศัพท์ (L1 , L2) เข้ากับวงจรกระดิ่ง แต่เมื่อมีการยกหู ฮุคสวิตช์จะต่อสายเข้ากับวงจรปากพูดและหูฟังทันที โดยตัดวงจรกระดิ่งออกไป
ฮุคสวิตช์จะทำงานเมื่อมีการยกหูหรือวางหูเพราะหูฟังโทรศัพท์ (Hand Set) จะวางทับฮุคสวิตช์ไว้เวลายกขึ้นก็จะปล่อย เวลาวางหูฟังโทรศัพท์ ลงก็จะทับ ทำให้ ฮุคสวิตช์ทำงาน

2.1.4 
หูฟังโทรศัพท์ (Hand Set)
รูปที่ 2.7 ลักษณะของ หูฟังโทรศัพท์ (Hand Set)
         หูฟังโทรศัพท์ โดยทั่วไปเรียกว่า "มือถือ" หรือ หูฟังโทรศัพท์ ดังเช่นเราพูดว่า "ถือหูโทรศัพท์" หรือ "ยกหูโทรศัพท์" เป็นต้น หูฟังโทรศัพท์ จะทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของปากพูดและ หูฟัง ซึ่งจะออกแบบหูฟังโทรศัพท์ ให้เหมาะสม ง่ายต่อการพูดและฟังพร้อม ๆ กัน ซึ่งรูปร่างทั่ว ๆ ไป แสดงตามรูปที่ 2.7
       เนื่องจากภายในหูฟังโทรศัพท์ จะมีปากพูดและหูฟังอยู่ภายใน เวลาโทรศัพท์ต้องให้ตำแหน่งปากพูดอยู่ใกล้ปากและหูฟังอยู่ใกล้หู จึงจะทำให้การสนทนาได้ยิน ซึ่งกันและกัน 
2.1.5 ขดลวดเหนี่ยวนำ (Induction Coil)

        ขดลวดเหนี่ยวนำ ในเครื่องโทรศัพท์จะทำหน้าที่ปรับ อิมพีแดนซ์ (Impedance) ให้เหมาะสมกับสาย และป้องกันไม่ให้เกิด เสียงข้าง (Side Tone) ที่แรงเกินไปหรือเบาเกินไป เพราะถ้าไซด์โทนแรงเกินจะทำให้ผู้พูด พูดเบา และถ้าไซด์โทนเบาเกินจะทำให้ผู้พูด พูดแรง
รูปที่ 2.8 แสดงการต่อขดลวดเหนี่ยวนำ (Induction coil)
2.1.6 หน้าปัดโทรศัพท์ (Dial) 

        ไดอัลหรือหน้าปัดโทรศัพท์ ทำหน้าที่ให้ผู้โทรศัพท์ หมุนหรือกดเลขหมายปลายทางที่ต้องการ เมื่อหมุนหรือกดแล้วก็จะมีวงจรสร้างสัญญาณรหัสขึ้นมา ตามตัวเลขที่เรากดหรือหมุนส่งไปยังชุมสายโทรศัพท์ ให้ถอดรหัสแล้วค้นหาผู้รับต่อไป หน้าปัดของเครื่องโทรศัพท์มี 2 แบบ คือ
       - แบบหมุน (Rotary Dial)
       - แบบกดปุ่ม (Push Button)
รูปที่ 2.9 ลักษณะของหน้าปัดโทรศัพท์
2.1.7 ตัวป้องกัน (Protector) 

        ตัวป้องกัน จะทำหน้าที่ป้องกันโทรศัพท์ไม่ให้ได้รับอันตรายจากไฟสูง หรือ กระชาก ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอโดยเฉพาะ ฟ้าผ่า (ป้องกันได้ระดับหนึ่ง) หรือไฟกระชากที่เกิดจากการยกหู วางหู หรือหมุนหน้าปัดอันจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ โดยทั่วไปจะมีตัวป้องกันไฟ แรงสูงต่ออยู่ ก่อนที่สายโทรศัพท์ จะเข้าบ้านอยู่แล้ว แต่ในเครื่องก็ยังคงมีอีก เพื่อจะ ได้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น
รูปที่ 2.10 สัญลักษณ์ตัวป้องกัน (Protector)
2.1.8 กระดิ่ง (Ringer) 

        กระดิ่ง หรือ เบลล์ (Bell ) เป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียงกระดิ่งดังขึ้น ในเครื่องโทรศัพท์ เพื่อเรียกให้ผู้รับ มารับโทรศัพท์
ปัจจุบันกระดิ่ง มีอยู่ 3 แบบ
              - กระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer)
              - กระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer)
              - กระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)

2.1.8.1 กระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer) 

        เป็นวงจรกระดิ่งที่มีอยู่ในเครื่องโทรศัพท์รุ่นเก่า โครงสร้างแบบกระดิ่งแบบ
แม็กนีโตแสดงตามรูป 2.11
รูปที่ 2.11 โครงสร้างกระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer)
        การทำงานของกระดิ่งแบบแม็กนีโต เมื่อไฟกระดิ่งจากชุมสาย ประมาณ 50 Volt AC มาเข้าขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในขดลวด และทำให้ P1 และP2 เกิดเป็นแม่เหล็กขึ้นมาด้วย โดยมีขั้วสลับ N-S กันตลอดเวลา และดูดก้านตีให้เคลื่อนที่ ก้านตีจะไปตีกระดิ่งให้ดัง ด้วยความเร็วตามความถี่ไฟกระดิ่ง ประมาณ 25 Hz
2.1.8.2 กระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer) 

        ในเครื่องรุ่นใหม่จะนิยมใช้ บัสเซอร์ เพราะ บัสเซอร์ นี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก กินกระแสน้อย และยังสามารถเลือกชนิดของเสียงได้ ตามชนิดของ บัสเซอร์ การทำงานกระดิ่งแบบบัสเซอร์ เมื่อมีไฟกระดิ่ง 90 Volts AC 25 Hz เข้ามาจะถูกลดขนาดแรงเคลื่อนลง ให้เหลือพอเหมาะ D1-D4 จะเรียงกระแส และ C1 จะกรอง (Filter) ให้เป็นไฟ DC ส่วน Z1 จะปรับแรงเคลื่อนให้คงที่ เพื่อป้อนไฟเลี้ยงให้ IC1 และ IC2 จะเกิดลูกคลื่น พัลล์( Pulse) ออกมาใหม่มีความถี่ประมาณ 10 Hz เพื่อให้บัสเซอร์ โดยมี R3 และ R4 เป็นตัวเร่งหรือลดเสียง
รูปที่ 2.12 วงจรกระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer)
รูปที่ 2.13 สัญญาณที่จุดต่าง ๆ ในวงจรกระดิ่ง
        ปกติแล้วบัสเซอร์ ที่ใช้จะเป็น ปีโซบัสเซอร์ (Piezo Buzzer) ซึ่งจะทำงานด้วย AC Pulse ถ้าเราเอาสัญญาณ AC 25 Hz ที่เข้ามาแล้วลดขนาดลงให้พอเหมาะ ป้อนให้บัสเซอร์ โดยตรงก็ได้ แต่ความถี่ AC 25 Hz สูงเกินไป ทำให้เสียงที่ออกมา ไม่น่าฟัง จึงต้องมี IC1 สร้าง ลูกคลื่นพัลล์ (Pulse) ที่มีความถี่ ที่เหมาะสมขึ้นมาใหม่

2.1.8.3 กระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)
รูปที่ 2.14 วงจรกระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)

        เครื่องที่มีราคาสูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ๆ เช่น มีวงจรแฮนด์ฟรี (Hand Free)
(สนทนาได้โดยไม่ต้องยกหู) ด้วย ส่วนมากจะใช้ลำโพงเป็น กระดิ่งเพราะในเครื่องมีลำโพง ใช้อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีบัสเซอร์อีก โดยดัดแปลงวงจรกระดิ่ง แบบบัสเซอร์ ให้สามารถใช้กับลำโพงได้ดังรูปที่ 2.14 วงจรกระดิ่งแบบลำโพง จะดัดแปลงมาจากกระดิ่งแบบบัสเซอร์ โดยนำ
สัญญาณจาก IC1 ป้อนเข้าหม้อแปลง (Transformer) เพื่อลด หรือเพิ่มแรงเคลื่อนและลดเหลี่ยมของ ลูกคลื่นพัลล์ให้มี สโลป (Slope) บ้าง ซึ่งจะช่วยทำให้ลำโพงไม่เสียหาย 
รูปที่ 2.15 สัญญาณจุดต่างๆ ในวงจรกระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)

2.2 วงจรเครื่องโทรศัพท์
         วงจรเครื่องโทรศัพท์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน มีมากมายหลายแบบ มีทั้งวงจร ง่าย ๆ มี อุปกรณ์ R - L - C ไม่กี่ตัว และมีทั้ง วงจรที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย บางรุ่นไม่มีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) บางรุ่นจะมีอุปกรณ์ สารกึ่งตัวนำ มากมาย วงจรที่มีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ จะอาศัยไฟเลี้ยงวงจรจากสาย ซึ่งปกติจะมีไฟใน สาย ประมาณ 12 Volts (เวลายกหู) แต่ถ้า สายยาวมาก อาจเหลือประมาณ 5 ถึง 6 Volts เครื่องรุ่นใหม่ก็ยังทำงานได้ เพราะได้ออกแบบให้เครื่องทำงาน ที่ไฟประมาณ 5 ถึง 6 Volts ขึ้นไปจากบล็อกไดอะแกรม (Block Diagram) จะเห็นว่าวงจรโทรศัพท์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ วงจรกระดิ่ง และวงจรปากพูด หูฟัง ซึ่งจะมี ฮุคสวิทช์ เป็นตัวเลือก ว่าจะให้สายต่อเข้ากับวงจรใด ซึ่งในขณะที่วางหูอยู่ ฮุคสวิทช์ จะต่อสาย เข้ากับ กระดิ่ง แต่เมื่อมีการยกหูขึ้น ฮุคสวิทช์จะต่อสาย เข้ากับวงจรปากพูดหูฟังทันที
รูปที่ 2.16 บล็อคไดอะแกรม (Block Diagram) ของวงจรโทรศัพท์ 
         วงจรเครื่องโทรศัพท์ที่กล่าวต่อไปนี้ เป็นวงจรพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ไม่มีวงจรอำนวยความสะดวก หรือหน่วยความจำ มาเกี่ยว ข้อง โดยจะได้แสดงวงจรตั้งแต่ระบบ แรก ๆ มาจนถึง วงจรที่ใช้งานในปัจจุบัน เพื่อ จะได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และดูการ พัฒนาว่าเป็นอย่างไร พร้อมทั้งจะได้ อธิบายโครงสร้างวงจรแต่ละแบบ อย่างคร่าวๆ ด้วย 
รูปที่ 2.17 วงจรเครื่องโทรศัพท์ในระบบแม็กนีโต (Magneto) 
         จากวงจรโทรศัพท์ในระบบแม็กนีโต จะเห็นว่ามีสิ่งสำคัญอยู่ 3 อย่าง คือแบตเตอรี่ (Battery) แม็กนีโตเจนเนอเรเตอร์ (Magneto Generator) และวงจรโทรศัพท์ วงจรนี้จะมีแบตเตอรี่อยู่ด้วย เพื่อเป็นไฟเลี้ยงวงจรและเลี้ยงสาย เพราะในระบบนี้จะเป็น ระบบโลคอลแบตเตอรี่ คือผู้เช่า (Subscriber) จะต้องมีแบตเตอรี่ ประจำทุกเครื่องส่วนแม็กนีโต เจนเนอเรเตอร์ นั้น มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์ (ผู้เรียก) หมุนเพื่อเรียก พนักงานต่อสายซึ่งเมื่อหมุนแม็กนีโตเจนเนอเรเตอร์ นั้น จะมีไฟออกมาประมาณ 50 VAC วิ่งไปตามสาย ไปทำให้หลอดไฟ หรือกระดิ่ง ของพนักงานต่อสายทำงาน
รูปที่ 2.18 วงจรเครื่องโทรศัพท์ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Common Battery) 
รูปที่ 2.19 วงจรเครื่องรับโทรศัพท์แบบไดอัลพัลส์ (Dial Pulse) 
2.3 สัญญาณเสียงโทรศัพท์ (Tone)
         ในการใช้โทรศัพท์ทุกครั้ง เราจะได้ยินสัญญาณเสียง ดังอยู่ในหูฟังในสภาวะ ต่างๆ กัน โดยสัญญาณเสียงเหล่านั้น จะมีความหมายแตกต่างกัน บอกให้เรารู้ ว่าชุมสายพร้อมหรือไม่ หรือผู้รับปลายทางเป็นอย่างไร เราสามารถรู้ได้จาก
สัญญาณเสียงเหล่านี้


2.3.1 ไดอัล โทน (Dial Tone) 


         ไดอัล โทน เป็นสัญญาณเสียงที่บอกให้ผู้เรียกทราบว่า ขณะนี้ชุมสาย พร้อมแล้วให้ผู้เรียกเริ่มหมุนเลขหมาย หรือกดปุ่มเลขหมายได้ ลักษณะของไดอัล โทนจะเป็นความถี่ 400 ถึง 450 Hz ผสม (Modulate) กับ 50 Hz ดังต่อเนื่อง (Continuous) นานประมาณ 30 วินาที ถ้าผู้เรียก ไม่หมุนเลขหมาย ชุมสายจะตัดเป็นไม่ว่าง (Busy) ทันที
รูปที่ 2.20 สัญญาณไดอัลโทน (Dial Tone) 
2.3.2 บิวซี่ โทน (Busy Tone) 

         บิวซี่ โทน เป็นสัญญาณเสียงที่บอกให้ผู้เรียกทราบ ถึงความไม่พร้อมของ ชุมสายหรือผู้รับปลายทางไม่ว่าง ดังนั้น เมื่อได้ยินเสียงบิวซี่ โทน ให้วางหูแล้วเริ่มต้นใหม่ ลักษณะของบิวซี่ โทน จะเป็นความถี่ประมาณ 400 ถึง 450 Hz ดังเป็น จังหวะ 0.5 Sec. ON และ 0.5 Sec. OFF 
รูปที่ 2.21 สัญญาณบิวซี่ โทน (Busy Tone) 
2.3.3 ริงกิ้ง โทน (Ringing Tone) 

         ริงกิ้ง โทน เป็นสัญญาณกระดิ่งดังขึ้นที่เครื่องโทรศัพท์ แสดงว่ามีคนเรียกเข้ามา (กระดิ่งดังที่เครื่องผู้รับเท่านั้น)
ลักษณะของริงกิ้ง โทน จะเป็นไฟ 90 Volt 25 Hz 1 Sec. ON และ 4 Sec.OFF
รูปที่ 2.22 สัญญาณริงกิ้งโทน (Ringing Tone) 
2.3.4 ริงแบ็ค โทน (Ring Back Tone) 

         ริงแบ็ค โทน เป็นสัญญาณเสียงที่ดังขึ้น ในหูฟังของผู้เรียกบอกให้รู้ว่า ปลายทางว่าง (ริงแบ็ค โทน จะดังสอดคล้องพร้อมกับ ริงกิ้ง โทน) ลักษณะของ ริงแบ็ค โทน จะเป็นความถี่ 400-450 Hz ดัง 1 Sec. ON,4 Sec.OFF 
รูปที่ 2.23 สัญญาณริงแบ็ค โทน (Ring Back Tone)

2.3.5 นู โทน (Nu Tone)
         เป็นเสียงที่บอกให้ผู้เรียกรู้ว่าเบอร์ที่เรียกไปนั้น ยังไม่ได้ติดตั้ง ลักษณะ ของ นู โทน จะเป็นความถี่ 400 - 450 Hz ดัง 0.1 Sec. ON , 0.1 Sec. OFF ดัง ต่อเนื่อง
รูปที่ 2.24 สัญญาณนู โทน (Nu Tone) 
2.4 วิธีการใช้โทรศัพท์อย่างถูกต้อง

         การที่จะให้การใช้โทรศัพท์มีประสิทธิภาพสูงสุด และคงทนถาวรนั้น มีข้อ แนะนำสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

         2.4.1 เตรียมเรื่องที่จะพูดให้พร้อม หรือสรุปเรื่องที่จะพูดให้สั้นๆ ได้ใจความก่อนจะโทรศัพท์ เพื่อที่จะได้ ใช้เวลา ในการโทรศัพท์ น้อยที่สุด อันจะเป็นการประหยัดค่าโทรศัพท์ และมีเวลาในการทำภารกิจอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก อีกทั้งเปิดโอกาสให้
ผู้อื่นได้ใช้ด้วย

         2.4.2 เตรียมเลขหมายที่จะโทรศัพท์ให้พร้อม ก่อนที่จะยกหูโทรศัพท์ขึ้น ควรจดและจำเบอร์โทรศัพท์ปลายทาง ให้พร้อมเสียก่อน เพราะเมื่อยกหูโทรศัพท์ แล้ว จะได้หมุนเลขหมายเลย ไม่ต้องเสียเวลา แต่ถ้าหากเรายกหูก่อน แล้วจึงค้นหา
เลขหมาย ถ้าหากค้นหานั้นนานเกินไปหรือยกหูแล้วเกิน 30 วินาที ยังไม่หมุนเลข หมาย ชุมสายจะตัดทันที และส่งบิวซี่ (Busy) มาให้ นั้นคือ เราต้องวางหูแล้วยกใหม่

         2.4.3 การยกหูโทรศัพท์โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว คนเราจะถนัดมือขวาเป็น ส่วนมากโดยเฉพาะการเขียนการหมุน และกดปุ่มหน้าปัดโทรศัพท์ ดังนั้นเครื่อง โทรศัพท์จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน สำหรับคนถนัดมือขวา ดังจะเห็น
ว่าสายจากเครื่องโทรศัพท์ไปหาหูโทรศัพท์ (Hand Set) จะออกทางด้านซ้ายของเครื่อง โทรศัพท์ (เมื่อเราหันหน้าเข้าหาโทรศัพท์) ดังนั้น การยกหูโทรศัพท์ควรยกหูด้วยมือ ซ้าย ส่วนมือขวาเอาไว้หมุนเลขหมาย และโน๊ตข้อความ เมื่อยกมือซ้ายแล้ว ก็ควรฟัง
ด้วยหูซ้ายด้วย

         2.4.4 การฟังสัญญาณ เมื่อยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาแล้ว ให้ฟังสัญญาณเสียงโทรศัพท์ ที่ดังอยู่ในเครื่องโทรศัพท์ดังนี้
ถ้าได้ยิน ไดอัล โทน (Dial Tone) แสดงว่าชุมสายพร้อมแล้ว ให้หมุนเลขหมายได้ ถ้าได้ยิน บิวซี่ โทน (Busy Tone) แสดงว่าชุมสายไม่พร้อมให้วางหู และเริ่มต้นใหม่ ถ้าไม่ได้ยินเสียงใด ๆ แสดงว่าเครื่องเสีย สายขาด หรือชุมสายเสีย ให้
ตรวจสอบ

         2.4.5 การหมุนเลขหมาย ในเครื่องที่เป็นแบบหมุน การหมุนควรใช้นิ้วชี้ มือขวาลอดไปในรูตัวเลขที่ต้องการ แล้วหมุนให้มาถึง ตัวหยุด (Lock) จึงหยุด และปล่อยให้หน้าปัดหมุนกลับเอง โดยไม่ต้องช่วยหมุนไม่ควรใช้ปากกาหรือวัสดุ
อื่นใด ใช้หมุนแทนนิ้วมือเพราะอาจทำให้มีรอยขีด หรือสกปรกได้ และในช่วงที่หน้าปัด หมุนกลับนั้น ถ้าเราใช้มือหมุนช่วย จะทำให้หน้าปัดหมุนเร็วกว่าปกติ นั่นคือ จะทำให้ จำนวนลูกคลื่นพัลล์ (Pulse) ต่อวินาทีผิดไป และ ความกว้างของลูกคลื่นพัลล์ (Pulse Width) ก็เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้การนับลูกคลื่นพัลล์ ที่ชุมสายผิดเพี้ยนไปได้ ทำให้การต่อปลายทางผิดพลาด เมื่อหมุนเลขหมายแล้ว ให้ฟังสัญญาณเสียงโทรศัพท์ในหูฟัง ดังนี้ ถ้าได้ยิน ริงแบ็ค โทน (Ring Back Tone) แสดงว่า ติดต่อปลายทางได้แล้ว ให้รอสักครู่ (ในกรณีที่สายโทรศัพท์ปลายทางขาด ก็จะได้ยินริงแบ็ค โทน เช่นกัน) ถ้าได้ยิน บิวซี่โทน (Busy Tone) แสดงว่าปลายทางไม่ว่าง ให้วางหูแล้วเริ่มต้นใหม่ ในกรณีที่สายโทรศัพท์ปลายทาง ลัดวงจร (Short) ก็จะได้ยินบิวซี่ โทน เช่นกัน ถ้าได้ยิน นู โทน (Nu Tone) แสดงว่าเลขหมายนั้นถูกยกเลิก หรือยังไม่ได้ติดตั้ง

         2.4.6 การสนทนา การสนทนาควรใช้ภาษาที่สุภาพ พูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่เบา หรือแรงเกินไป พูดให้ชัดเจน และกระทัดรัดที่สุด

         2.4.7 การวางหู ให้วางเบา ๆ เพื่อถนอมเครื่อง และไม่เป็นการเสียมารยาทกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจยังถือหูอยู่ หากวางแรง ๆ จะทำให้เกิด เสียงดังขึ้นที่เครื่องอีกฝ่ายหนึ่งได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น