วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคพิษสุนัขบ้า
(Rabies)
Rabies Virus EM PHIL 1876.JPG
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
การจำแนก และแหล่งข้อมูลอื่น
ICD-10 A82-
ICD-9 071
DiseasesDB 11148
MedlinePlus 001334
eMedicine med/1374 emerg/493 ped/1974
MeSH D011818
โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ (อังกฤษ: rabies) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการกัดหรือข่วนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ (rabies) ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาหาย แต่สามารถป้องกันได้ ผู้ป่วยมักคงสภาพอยู่ได้นานไม่เกิน 1 สัปดาห์ และเสียชีวิต เนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ ในประเทศไทยยังมีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าโดยสาเหตุหลักเกิดขึ้นจากสุนัข

เนื้อหา

เชื้อพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากไวรัสเรบีส์ซึ่งเป็นอาร์เอนเอไวรัส (RNA virus) สายเดี่ยว จัดอยู่ใน วงศ์ Rhabdoviridae สกุล Lyssavirus และมีทั้งหมด 7 สปีชีส์ ซึ่งไวรัสทุกตัวในสกุลนี้ มี antigenicity ที่คล้ายคลึงกัน แต่จากการทดสอบด้วย Monoclonal antibody พบว่าไวรัสแต่ละตัวมี nucleocapsid และรูปแบบของ surface protein ที่อาจแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลกหรือในสัตว์แต่ละชนิด ไวรัสชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในระบบประสาท จึงทำให้สัตว์ หรือ มนุษย์ที่ป่วยโรคนี้แสดงอาการทางประสาทออกมาอย่างเด่นชัด ลักษณะของเชื้อ รูปร่างคล้ายกระสุนปืน ปลายด้านหนึ่งโค้งมนและปลายอีกด้านหนึ่งตัดตรง เชื้อโรคชนิดนี้ตายได้ง่าย ถ้าถูกแสงแดด หรือแสงอุลต้าไวโอเลต จะตายใน 1 ชั่วโมง ถ้าต้มในน้ำเดือด จะตายภายใน 5 -10 นาที ถ้าถูกน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ไลโซล ฟอร์มาลีน แอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน และโพวีโดนไอโอดีน และสบู่หรือผงซักฟอก เชื้อจะตายภายในเวลารวดเร็ว

อาการของโรค

ผู้ติดเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า
อาการแสดงของโรค มักเป็นการอักเสบสมองและเยื่อสมอง ในระยะ 2-3 วันแรก ผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ คันหรือปวดบริเวณรอยที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อมาจะหงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้นไวต่อสิ่งเร้ารอบกาย ไม่ชอบแสง ลม มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อคอกระตุก เกร็งขณะพยายามกลืนอาหารหรือน้ำ ทำให้เกิดอาการ "กลัวน้ำ" ต่อมาจะเริ่ม เพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นอัมพาต โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรง หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า ยังจำแนก ได้ออกเป็นอีก 2 ประเภท ดังนี้

อาการแบบคลุ้มคลั่ง

โดยเฉลี่ยเสียชีวิตใน 5 วัน เพราะโรคลุกลามอย่างเร็ว โดยอาจแสดงอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. อาละวาด
ผู้ป่วยจะกระวนกระวาย ตื่นเต้นต่อสิ่งเร้าได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น เสียง แสง และ ลมเป็นต้น รู้ตัวและไม่รู้ตัวบ้าง ซึ่งอาการจะรุนแรงยิ่งขึ้น จนอาละวาด ไม่อยู่สุข บางครั้งอาจจำไม่ได้ ไม่เข้าใจตนเอง ขณะแสดงอาการ จะเป็นเช่นนี้ประมาณ 2 - 3 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มซึมเศร้า ไม่รู้สึกตัว มีความดันโลหิตต่ำ ซ็อกและอาเจียนเป็นเลือดได้
2. กลัว
กลัวน้ำ กลัวลม ลักษณะดังกล่าว อาจไม่พบร่วมกัน อาจเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เห็นได้ชัดขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว พอผู้ป่วยเริ่มซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มหายไป ผู้ป่วยจะมีอาการถอนหายใจซึ่งเกิดขึ้นเอง
3. แสดงออกทางร่ายกาย
คันเฉพาะที่ตรงถูกสัตว์กัดในรูปของคัน ปวดแสบปวดร้อน ปวดลึก ๆ ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วแขน ขา หรือหน้าซีดที่ถูกกัด ผู้ป่วยอาจขนลุก รูม่านตาไม่สนองต่อแสง และ น้ำลายไหลมากผิดปกติ จะต้องบ้วน หรือถ่มเป็นระยะๆ

อาการอัมพาต

อาการอัมพาต เกิดจากการที่ไวรัสรุกรามเข้าไปในส่วนต่างๆ โดยเฉลี่ยเสียชีวิตใน 13 วัน โดยจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขา

การป้องกันและรักษา

สุนัขที่ติดเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า
ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการดูแล ประคับประคอง และรักษาตามอาการ เท่าที่จะทำได้เท่านั้น วิธีการดูแลผู้ป่วย ทำได้ดังนี้
  1. แยกผู้ป่วยให้ปราศจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น ห้องที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวน แต่ไม่จำเป็นต้องปิดไฟ
  2. ให้สารอาหารแบบน้ำเข้าทางเส้นเลือด เนื่องจากผู้ป่วยมักจะกินอาหารไม่ได้
  3. ผู้ให้การดูแล ควรใส่เสื้อผ้ามิดชิด ควรใส่แว่นตา ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วย

การป้องกัน

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดคือ ระวังอย่าให้ถูกสุนัขกัดหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะมาจากน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรคอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุด คือ การเสริมภูมิคุ้มกันในสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์นำโรคหลัก รวมทั้ง การควบคุมจำนวนสุนัข

การปฏิบัติหลังคาดว่าได้รับเชื้อ

เมื่อสงสัยว่าได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ควรจะดำเนินการดังต่อไปนี้
  1. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทราบ ประสานกับปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อควบคุมโรค
  2. ตัดหัวสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า นำไปชันสูตรยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบยืนยันว่ามีเชื้ออยู่และจะได้ดำเนินการต่อไป

การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ

ในการการเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ ควรกักขังสัตว์ไว้ในที่ปลอดภัย และเฝ้าดูอาการประมาณ 15 วัน ไม่ควรทำลายสัตว์โดยไม่จำเป็น ควรปล่อยให้สัตว์ตายเอง ซึ่งจะตรวจพบเชื้อได้ง่าย และแน่นอน ในการส่งซาก หลังจากที่สัตว์ตายลง ถ้าเป็นสัตว์เล็กเช่นสุนัข แมว การส่งตัวอย่างอาจส่งเฉพาะหัว หรือส่งทั้งซากก็ได้ แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่เช่น โค กระบือ ต้องตัดหัวหรือสมองสัตว์ใส่ถุงพลาสติกแช่น้ำแข็ง นำส่งห้องปฏิบัติการ เพราะตัวอย่างที่จะใช้ตรวจโรคคือสมองของสัตว์ ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วิธีทุบที่กะโหลก เพราะอาจทำให้สมองเละ ตรวจหาสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ได้ยาก แล้วส่งให้เร็วที่สุด โดยต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง โดยผู้ทำการต้องสวมถุงมือ หรือใช้ถุงพลาสติกหุ้มมือให้มิดชิด และล้างมือให้สะอาดหลังจากเก็บซาก

พาหะนำโรค

สุนัข สาเหตุหลัก ของโรคพิษสุนัขบ้า
พาหะนำโรค เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่า เช่น สุนัข แมว หนู ลิง ชะนี กระรอก สกั้งค์ แรคคูน และค้างคาว ในประเทศไทยมักพบในสุนัข รองลงมาคือแมว และมีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในโค ปีละประมาณ 60 ตัว
ในการติดต่อจากคนถึงคน สามารถเกิดได้ตามทฤษฎี หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผลเนื่องจากมีการพบเชื้อในน้ำลายของผู้ป่วย แต่ไม่เคยมีรายงานยืนยันที่แน่ชัด

การติดต่อ

การติดต่อ อาจเกิดขึ้นได้ โดยเชื้อไวรัสออกมากับน้ำลายสัตว์ที่ติดเชื้อและเข้าสู่ร่างกายคนทางบาดแผล ซึ่งพาหะอาจ กัด ข่วน เลีย หรือมีน้ำลายกระเด็นเข้าตา จมูก นอกจากนี้ เชื้ออาจติดต่อจากการกิน ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากหรือหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์กินเนื้อตัวป่วย หรือที่ตายใหม่ๆ เข้าไป

แนวโน้มของการระบาด

การระบาดของโรคส่วนใหญ่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 30,000 คน
ในทวีปเอเชียมักมีสุนัขเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ในประเทศไทยผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 370 คนในปี พ.ศ. 2523 เป็น 30 คน ในปี พ.ศ. 2545 พบมากในภาคกลาง แต่จากปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาแนวโน้มกลับเพิ่มขึ้นจาก 9 คน เป็น 25 คนในปี พ.ศ. 2552[1] และในต้นปี พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นผู้หญิงวัยกลางคนที่มีอาชีพขายสุนัขที่ตลาดนัดสวนจตุจักร จนเป็นข่าวปรากฏอย่างครึกโครม[2]
ปัจจุบันในทวีปยุโรปยังมีปัญหาในสัตว์ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก ซึ่งหลังจากมีการใช้วัคซีนชนิดกิน ทำให้อุบัติการของโรคลดลงไปมาก ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สามารถกำจัดโรคไปได้ใน ปีค.ศ. 1986 ยังมีรายงานโรคนี้ในค้างคาวในเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก ส่วนในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ยังมีปัญหาโรคนี้ในสัตว์ป่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น