วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

วันออกพรรษา

วันออกพรรษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

Dharmacakra flag (Thailand).svg
ประวัติศาสนาพุทธ

ศาสดา
พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์ผู้อยู่จำครบพรรษาจะได้รับอานิสงส์พรรษาหลายอย่าง และพระสงฆ์บางส่วนจะถือโอกาสในช่วงออกพรรษา 9 เดือน ออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไป
วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เรียกว่า "ปวารณา"[1] จัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้ โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอดไตรมาสสามารถว่ากล่าวตักเตือนและ ชี้ข้อบกพร่องแก่กันและกันได้โดยเสมอภาค ด้วยจิตที่ปรารถนาดีซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถให้พระสงฆ์ที่ถูกตักเตือนมีโอกาสรับรู้ข้อบกพร่องของตนและสามารถ นำข้อบกพร่องไปแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อถึงวันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัดวันออกพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร[2]พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย[3]
นอกจากนี้ ช่วงเวลาออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ถือเป็นเวลากฐินกาลตามพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยจะเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานกฐินประจำปีในวัดต่าง ๆ ด้วย โดยถือว่าเป็นงานบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญกุศลมากงานหนึ่ง

เนื้อหา

ความสำคัญ

วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

การออกพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก

ประเภทของการออกพรรษาของพระสงฆ์

อานิสงส์ของพระสงฆ์ที่จำครบพรรษา

เมื่อพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาสได้ปวารณาออกพรรษาและได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ หรือข้อยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ[10] คือ
เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา (ออกจากวัดไปโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นก่อนได้) เที่ยวไปไม่ต้องถือไตรจีวรครบสำรับ 3 ผืน ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงฉันได้) เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ยกเว้นสิกขาบทข้อนิสสัคคิยปาจิตตีย์บางข้อ) จีวรลาภอันเกิดในที่นั้นเป็นของภิกษุ (เมื่อมีผู้มาถวายจีวรเกินกว่าไตรครองสามารถเก็บไว้ได้โดยไม่ต้องสละเข้า กองกลาง)

การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลออกพรรษาในประเทศไทย

ประเพณีเนื่องด้วยการออกพรรษาในประเทศไทย

ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ

เทโวโรหนสถูป เมืองสังกัสสะ แคว้นปัญจาละ สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ปัจจุบันมีเทวาลัยของฮินดูตั้งอยู่ด้านบนสถูป

ประเพณีเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก

ประเพณีถวายผ้ากฐินทาน

วันออกพรรษาในปฏิทินสุริยคติไทย

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป
ปี วันที่ วันที่ วันที่
ปีชวด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2539 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู 16 ตุลาคม พ.ศ. 2540 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ปีขาล 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ปีเถาะ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2542 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2543 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 17 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 7 ตุลาคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย 21 ตุลาคม พ.ศ. 2545 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557  ???
ปีมะแม 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558  ???
ปีวอก 28 ตุลาคม พ.ศ. 2547 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559  ???
ปีระกา 18 ตุลาคม พ.ศ. 2548 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560  ???
ปีจอ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561  ???
ปีกุน 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562  ???

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันออกพรรษาในประเทศไทย

พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนยังนิยมร่วมกันทอดกฐิน ในระยะเวลา 1 เดือนหลังออกพรรษา มีทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน อย่างไรก็ดี ในแต่ละท้องถิ่นยังมีประเพณีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การแข่งเรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นต้น
ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล "ตักบาตรเทโว" ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ในหมู่ชาวไทยและชาวลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง เชื่อว่าในช่วงวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคขึ้นในเวลากลางคืน ที่จังหวัดหนองคายอีกด้วย

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา

  1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
  2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
  3. ร่วมกิจกรรม "ตักบาตรเทโว" (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
  4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาต ิและธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
  5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

เชิงอรรถ

หมายเหตุ 1: ออกปุริมพรรษา คือการออกพรรษาต้น เป็นการเข้าและออกพรรษาตามปกติตามพระวินัยพุทธานุญาต พระสงฆ์ที่ออกพรรษาต้นจะได้รับกรานกฐินและได้รับอานิสงส์กฐิน แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ออกพรรษาในกรณียกเว้นคือ ออกปัจฉิมพรรษา จะไม่มีโอกาสได้รับกฐินและอานิสงส์กฐิน เพราะจำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จึงต้องจำครบ 3 เดือน และต้องออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นเวลาหมดกฐินกาลพอดี (วันรับกฐินได้จะนับวันวันถัดจากวันออกพรรษาแล้ว 1 วัน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น