วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.jpg
พระนามสังวาลย์
พระอิสริยยศสมเด็จพระบรมราชชนนี
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
ข้อมูลส่วนพระองค์
ประสูติ21 ตุลาคม พ.ศ. 2443
จังหวัดนนทบุรีประเทศสยาม
สวรรคต18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 (94 พรรษา, 270 วัน)
โรงพยาบาลศิริราชกรุงเทพมหานคร,ประเทศไทย
พระบิดาชู ชูกระมล
พระมารดาคำ ชูกระมล
พระสวามีสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
(พ.ศ. 2463 - 2472)
พระโอรส/ธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
    
พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า (พระราชสมภพ วันอาทิตย์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 จังหวัดนนทบุรี - สวรรคตวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระชนมายุ 94 พรรษากรุงเทพมหานคร) พระองค์เป็นพระราชชนนีใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

พระประวัติ[แก้]

ขณะทรงพระเยาว์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ (ไม่มีนามสกุล เนื่องจากพระราชบัญญัติขนานนามสกุลเริ่มมีในปี พ.ศ. 2456) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ในพระชนกชูและพระชนนีคำ มีพระภคินี และพระเชษฐา 2 คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ 2 ปี คือ คุณถมยา[1]
พระชนกชู มีอาชีพเป็นช่างทอง เป็นบุตรชายของคหบดี ชื่อ ชุ่ม มีเชื้อสายสืบมาจากผู้ดีเก่าแถวตึกขาว มีนิวาสสถานอยู่ใกล้ๆวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี พระชนกชูได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่สมเด็จย่ามีพระชนมายุ 3 พรรษา และพระชนนีคำถึงแก่กรรมเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ เพียง 9 พรรษา หลังจากนั้น พระองค์ทรงอยู่ในความอุปการะของป้าซ้วย พี่สาวของพระชนนีคำ ซึ่งมีอาชีพรับจ้างม้วนบุหรี่ และทำขนมขาย
พระชนนีคำ มีมารดาชื่อผา พระชนนีคำเป็นสตรีที่รู้หนังสือซึ่งหาได้ยากในสมัยนั้น[2] จึงได้นำความรู้นี้มาสอนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยพระอุปนิสัยที่ชอบการเรียนรู้ และการอ่านหนังสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์จึงทรงเป็นผู้ที่มีไหวพริบ และเฉลียวฉลาด
และเชื่อว่าเหล่าเครือญาติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีเชื้อสายชาวเวียงจันทน์เนื่องจากทางครอบครัวนิยมรับประทานข้าวเหนียว[3] ซึ่งสอดคล้องกับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับถิ่นฐานเดิมของครอบครัว คือ บ้านช่างทอง ซึ่งตรงกับชุมชนชาวลาวด้านใต้ของธนบุรี อันเป็นชุมชนชาวลาวที่มีชื่อเสียงด้านฝีมือช่าง แต่ปัจจุบันชุมชนลาวดังกล่าวได้ย้ายไปยัง บ้านตีทอง รอบวัดสุทัศนเทพวรารามในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเครือญาติที่นิพนธ์นั้นอาจสืบเชื้อสายมาจากชาวลาวที่เคยในชุมชนบ้านช่างทองก็เป็นได้[4]
วันหนึ่ง ญาติของครอบครัวพระชนกชู มาแนะนำพระชนนีคำ ให้นำสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไปฝากคุณจันทร์ แสงชูโต ซึ่งเป็นญาติและพระพี่เลี้ยงใน สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 7-8 พรรษา

ขณะยังทรงศึกษา[แก้]

สังวาลย์ และเนื่อง จินตดุลย์ สหายคนสนิท
ท่านศึกษาที่ โรงเรียนศึกษานารี ได้ไม่นาน พระองค์ก็ได้ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้านคุณหวน หงสกุล วัดมหรรณพาราม โรงเรียนเพื่อประชาชนสามัญแห่งแรก พระองค์ทรงถูกเข็มเย็บผ้าตำฝ่าพระหัตถ์ ต้องเข้ารับผ่าตัดกับพระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด วีระไวทยะ)
เมื่อปี พ.ศ. 2456 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์
เมื่อไปเรียนต่างประเทศจำเป็นที่จะมีนามสกุลในหนังสือเดินทาง เมื่อขณะนั้นยังไม่มีนามสกุล จึงจำเป็นต้องมีการหานามสกุลให้ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงได้ใช้นามสกุลของข้าราชบริพารที่มีนามสกุลคนหนึ่งคือ ขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฎ) เจ้ากรมของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (เจ้านายที่ทรงกรมคือ เป็นกรมขุน หลวง ฯลฯ จะทรงมี "เจ้ากรม" ซึ่งทำหน้าที่เป็นราชเลขา หรือ ผู้จัดการส่วนพระองค์ ซึ่งจะมีบรรดาศักดิ์ตามเจ้านายของตน เมื่อหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ได้เป็นกรมหลวงสงขลานครินทร์ ขุนสงขลานครินทร์ (หลี ตะละภัฏ) ก็เลื่อนเป็นหลวงสงขลานครินทร์ ) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงมีพระนามในหนังสือเดินทางว่า นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้คำนำนามสตรี พ.ศ. 2460) ต่อมา คุณถมยา พระอนุชาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปขอจดทะเบียนที่อำเภอใช้นามสกุล "ชูกระมล" ถึงแม้ว่าสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่เคยใช้นามสกุลชูกระมล ก็อยากจะถือว่าทรงเกิดมาในสกุลนี้
ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ 1 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยมีพระศิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์
และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น