กระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงแรงงาน ราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
![]() | |
เครื่องหมายราชการกระทรวงแรงงาน | |
กระทรวงแรงงาน (อังกฤษ: Ministry of Labour) เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศไทย เดิมคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
การดำเนินนโยบายด้านแรงงานของประเทศไทย เริ่มต้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลสมัยนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับในระยะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ประชาชนจึงเกิดภาวะการว่างงานจำนวนมาก หน่วยงานของรัฐบาลที่ปฏิบัติงานบริหารแรงงาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก โดยคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้กำหนดนโยบายประการหนึ่งระบุว่า "จะต้องบำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจและหางานให้ราษฎรทุกคนทำ" จึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475[3] ขึ้นบังคับใช้เมื่อวันที่31 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ให้สิทธิแก่เอกชนที่จะจัดตั้งสำนักงานรับจัดหางานให้แก่ประชาชนได้ โดยเรียกค่าบริการจากประชาชน ผู้มาใช้บริการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด และในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้ตรา พระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475[4] ขึ้นบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ฉบับนี้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานกลางจัดหางาน ขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ทำหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจด้านแรงงานของรัฐบาลไทยประวัติ[แก้]
ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2536 โดยการโอนภารกิจบางส่วนจากกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย[5] มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรก และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อกระทรวงอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า กระทรวงแรงงาน
หน่วยงานในสังกัด[แก้]
กระทรวงแรงงาน มีหน่วยงานในสังกัด ได้แก่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น