วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระวิปัสสนาจารย์

พระอาจารย์มั่นพระกรรมฐาน พระอริยสงฆ์ สายหลวงปู่มั่น 
ประวัติพระวิปัสสนาจารย์ พระกรรมฐาน พระอริยสงฆ์ สายหลวงปู่มั่น รวบรวมประวัติพระวิปัสสนาจารย์ สายต่างๆ พระวิปัสสนาจารย์ได้แก่ พระภิกษุผู้ทำการสอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
พระวิปัสสนาจารย์ คือพระภิกษุผู้สอนการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยที่พระวิปัสสนาจารย์ต้องมีคุณสมบัติ 1.ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมโดยผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัด 2.ผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ จากกรมการศาสนา

โดยหน้าที่หลักของ พระวิปัสสนาจารย์ คือการอธิบายให้ผู้คนรู้จักวิปัสสนากรรมฐาน คือการเข้าไปเห็น หรือรู้ ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต 3 ประการ ได้แก่ 1.อนิจจัง ความไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 2.ทุกขัง ความไม่สมหวัง 3.อนัตตา ความไม่มีตัวตนของกายและจิต

วิปัสสนากรรมฐานเป็นการปฏิบัติเพื่อพัฒนาให้เกิดสติที่จดจ่อ เฉียบคม การพากเพียรกำหนดรู้สภาวะธรรมทางกายและทางจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะในตัวเรา จะก่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ในธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต ปัญญาญาณนี้เองที่ช่วยให้เราดำรงชีวิตได้อย่างเป็นอิสระ และข้องเกี่ยวกับโลกรอบตัวได้อย่างยึดมั่นถือมั่นน้อยลง กลัวและสับสนน้อยลง ทั้งยังช่วยให้เราดำเนินชีวิตไปพร้อมกับความคิดที่สุขุมถูกต้อง มีความกรุณา และมีปัญญาเป็นตัวกำกับมากยิ่งขึ้น

พระวิปัสสนาจารย์ สอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมถึงพร้อมทั้งทางกาย วาจา ใจ ดังนี้

ทางกาย ควรสะสางหน้าที่การงานให้เรียบร้อย และไม่ติดต่อกับใครตลอดการปฏิบัติ ระหว่างการปฏิบัติเข้มนี้ ไม่ควรอ่านหรือเขียนบทความใดๆ เพราะจะรบกวนสมาธิ เป็นอุปสรรคต่อการเกิดปัญญาญาณ ยกเว้นการจดบันทึกเกี่ยวกับธรรมะที่ได้รับ หรือประสบการณ์ของสภาวะธรรมที่ได้พบ เพียงสั้นๆ

ทางวาจา เมื่อสมาทานกรรมฐานแล้ว ควรงดพูดโดยเด็ดขาด โดยจะพูดกับท่านวิปัสสนาจารย์เมื่อส่งอารมณ์เท่านั้น การพูดคุยเป็นภัยที่ร้ายแรงที่สุดของการปฏิบัติกรรมฐาน นอกจากจะรบกวนการเจริญสมาธิของผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการตัดทอนการพัฒนาปัญญารู้แจ้งของตัวเราเองอีกด้วย

ทางใจ ควรตั้งใจไว้ทุกวันว่าจะปฏิบัติอย่างทุ่มเท ไม่ท้อถอย และจะอดทน พากเพียรปฏิบัติอย่างเต็มสติกำลังตลอดเวลา หัวใจสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติ คือวิปัสสนาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ แตกฉานในปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ สามารถถ่ายทอดธรรมะที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย

พระวิปัสสนาจารย์ที่เชี่ยวชาญจะมีเทคนิคในการสอบอารมณ์ มีความเฉียบคม จับสภาวะของผู้ฝึกได้แม่นยำ และช่วยแก้ไขแต่งอินทรีย์ให้เราได้อย่างถูกต้องตรงตามสภาวะที่เป็นจริงในขณะ นั้น ประหนึ่งบอกทางให้แก่ผู้ที่หลงทาง
ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น