วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสาร (ภาษาสันสกฤต: बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ. 53) [1][2] เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ แคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดแคว้นหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อ กรุงราชคฤห์ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี พระองค์มีมีอัครมเหสีพระนามว่า เวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล [3]
พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระพุทธเจ้าสมัยที่ยังทรงเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงมีความสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม
พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่า โกศลเทวี หรือ เวเทหิ เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระโอรสนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกลมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ "ชนวสภะ" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายทั่วแคว้นมคธ[4]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Rawlinson, Hugh George. (1950) A Concise History of the Indian People, Oxford University Press. p. 46.
  2. ^ Muller, F. Max. (2001) The Dhammapada And Sutta-nipata, Routledge (UK). p. xlvii. ISBN 0-7007-1548-7.
  3. ^ พระเจ้าพิมพิสาร
  4. ^ ชาดกและประวัติพุทธสาวก-พุทธสาวิกา โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม

[แก้] ดูเพิ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น