น้ำยาลบคำผิด หรือ ลิควิดเปเปอร์ อันตรายทีเราอาจมองข้าม
- เผยแพร่เมื่อ วันเสาร์, ๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ ๐๒:๕๑
- เขียนโดย วิจิตรา กลิ่นหอม

ทั่วไปจะประกอบด้วยสารทึบแสงซึ่งช่วย ปิดทับคำผิด เช่น titanium dioxide ตัวทำละลาย เช่น น้ำ ตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย สารที่ช่วยให้สารทึบแสงกระจายตัวได้ในตัวทำละลาย และอาจแต่งสีบ้าง ส่วนประกอบที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์นี้เองที่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้หาก มีการใช้ไม่ถูกต้อง หรือมีการสัมผัสอย่างต่อเนื่องนานๆ ตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในน้ำยาลบคำผิดได้แก่ เมธิลคลอโรเฮกเซน (methylchlorohexane)
ชื่ออื่นๆ : chlorohexylmethane, hexahydrotoluene, toluene hexahydride
โครงสร้างเคมี : C7H14
คุณสมบัติทั่วไป :ของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายเบนซีน ไม่ละลายในน้ำ ติดไฟได้ ทำปฏิกิริยากับกับ oxidizing agent

การติดไฟและระเบิด
methylchlorohexane จัดเป็นสารที่ติดไฟได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการนำสารนี้เข้าไปใกล้เปลวไฟ ประกายไฟ หรือบุหรี่ เมื่อเกิดการลุกไหม้แล้วให้ดับด้วยเคมีชนิดแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำยาดับเพลิงชนิดโฟม เนื่องจากน้ำไม่มีประสิทธิภาพดีพอ นอกจากนี้ยังควรระวังการสูดดมก๊าซที่เกิดจากการเผาไม้ของ methylchlorohexane เนื่องจากเป็นก๊าซที่เป็นอันตราย

methylchlorohexane มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยทำให้เกิดอาการระคายเคืองจมูก และลำคอ เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงนอน และการสูดดมเข้าไปก็เป็นวิธีการที่จะได้รับสารนี้ได้ง่ายที่สุด ดังนั้นเมื่อต้องการทำงานโดยใช้น้ำยาลบคำผิดอย่างต่อเนื่องนานๆ ควรทำในบริเวณที่มีการระบายอากาศดี หรือพยายามหลีกเลี่ยงไม่สูดดมน้ำยาโดยตรง หรือมีอุปกรณ์เพื่อป้องกันหรือลดการสูดดมเข้าไป หากเริ่มมีอาการเวียนศีรษะควรหยุดใช้แล้วย้ายออกไปสูดอากาศที่บริสุทธิ์

เมื่อสัมผัสกับ methylchlorohexane บ่อยๆ จะทำให้ผิวหนังแห้ง ดังนั้นจึงควรล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด

ทำให้เกิดอาการตาแดง ดังนั้นให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ หลายๆ ครั้งเป็นเวลา 15 นาที โดยเปิดเปลือกตาบนและเปลือกตาล่างเป็นระยะ

ทำให้คลื่นไส้ และหากสำลักอาจทำให้เกิดปอดอักเสบจากสารเคมี เมื่อได้รับ methylchlorohexane เข้าไปโดยการรับประทาน ให้บ้วนปากมากๆ แล้วนำผู้ป่วยไปพบแพทย์

ยังไม่มีการทดสอบการก่อมะเร็งจากสารนี้ แต่อาจมีผลต่อตับและไต

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น