วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิญญาณ

วิญญาณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิญญาณ[1] (อังกฤษ: soul; สันสกฤต: जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ[2] ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น[3] บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู
คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน[4]

จิตรกรรม

จิตรกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ โมนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก
จิตรกรรม (อังกฤษ: painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์

[แก้] การจำแนก

จำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุอุปกรณ์การสร้างสรรค์เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียน
  • จิตรกรรมภาพวาด (Drawing) จิตรกรรมภาพวาด เรียกเป็นศัพท์ทัศนศิลป์ภาษาไทยได้หลายคำ คือ ภาพวาดเขียน ภาพวาดเส้น หรือบางท่านอาจเรียกด้วยคำทับศัพท์ว่า ดรอวิ้ง ก็มี ปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาดลายเส้น และ การ์ตูน
  • จิตรกรรมภาพเขียน (Painting) ภาพเขียนเป็นการสร้างงาน 2 มิติบนพื้นระนาบด้วยสีหลายสีซึ่งมักจะต้องมีสื่อตัวกลางระหว่างวัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอีก ซึ่งกลวิธีเขียนที่สำคัญ คือ
  1. การเขียนภาพสีน้ำ (Colour Painting)
  2. การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting)
  3. การเขียนภาพสีอะคริลิค (Acrylic Painting)
  4. การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting)
  5. จิตรกรรมแผง(Panel Painting)
จำแนกตามยุคสมัยและแหล่งสร้างสรรค์ เช่น

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
จิตรกรรม

โรคอ้วน

โรคอ้วน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคอ้วน
(Obesity)
Obesity-waist circumference.PNG
ภาพแสดงเส้นรอบเอวของคนปกติ น้ำหนักเกิน และภาวะอ้วน
การจำแนกโรคหรืออาการ และแหล่งข้อมูลอื่น
ICD-10E66
ICD-9278
DiseasesDB9099
MedlinePlus003101
eMedicinemed/1653
MeSHC23.888.144.699.500
โรคอ้วน หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไป

เนื้อหา

 [ซ่อน

[แก้] สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอ้วน

  • กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
  • นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
  • การไม่ออกกำลังกาย
- ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย
  • อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
  • ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
  • เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
  • อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
  • กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
  • ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
  • โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์

[แก้] โรคที่พบบ่อยในคนอ้วนมาก

[แก้] วิธีการลดความอ้วน

  • ควบคุมอาหารการลดความอ้วน
  • ออกกำลังกาย
  • ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม
  • แนวทางพึงปฏิบัติ
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเอื้อต่อการลดความอ้วน
  • เลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับคนอ้วน

โรคหอบหืน

โรคหอบหืด

ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก  โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี
เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรค รวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศ และของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง
นิยาม  
โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]
 เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้
  1. Acute bronchoconstriction
มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  • Air way edema
  • เนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
  • Chronic mucous plug formation
  • มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  • Air way remodeling
  • มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
    Normal Lungs หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ
    Asthmatic Lungs เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

    จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
    • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
    • แน่นหน้าอก
    • ไอ
    • หายใจเสียงดัง

    โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ
    • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
    • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
    • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
    • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
    การวินิจฉัย
    จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด
    • ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
    • ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
    • ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
    • สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
    • ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
    • ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
    • สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
    • หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
    • ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
    • ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
    • ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
    • สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
    หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ
    การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้
    ผู้ป่วยทุกคนควรทราบถึงปัจจัยที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น
  • การจำแนกความรุนแรงของโรคหอบหืด
  • เมื่อให้ผู้ป่วยทราบความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในขั้นไหนจะทำให้ทราบว่าควรจะได้รับยาอะไรบ้าง
  • ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืด
  • ผู้ป่วยควรทราบว่ายาที่ใช้อยู่เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหรือเป็นยาที่ใช้รักษาโรคในระยะยาว
  • แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
  • เป็นแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในแต่ละขั้น
  • แผนการรักษาหอบหืดฉับพลันสำหรับผู้ป่วย
  • เป็นแผนการรักษาเมื่อเกิดหอบหืดเฉียบพลันเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้าน
  • คุณต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนพบแพทย
  • ์เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้แพทย์ทราบอาการของโรค
  • ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันท
  • ีเพื่อให้ผู้ป่วยเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความรุนแรงและเร่งด่วนของโรค
  • ผู้ป่วยคนไหนที่ควรอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา
  • ผู้ป่วยคนไหนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด
  • โรคหอบหือในภาวะพิเศษ
  • เช่นโรคหอบกลางคืน หอบขณะออกกำลังกาย หอบขณะตั้งท้อง

    โรคหอบหืน

    โรคหอบหืด

    ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก  โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี
    เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรค รวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศ และของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง
    นิยาม  
    โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]
     เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
    ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
    เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้
    1. Acute bronchoconstriction
    มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  • Air way edema
  • เนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
  • Chronic mucous plug formation
  • มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  • Air way remodeling
  • มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
    Normal Lungs หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ
    Asthmatic Lungs เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

    จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
    • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
    • แน่นหน้าอก
    • ไอ
    • หายใจเสียงดัง

    โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ
    • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
    • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
    • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
    • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน
    การวินิจฉัย
    จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด
    • ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
    • ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
    • ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
    • สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
    • ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
    • ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
    • สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
    • หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
    • ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
    • ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
    • ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
    • สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ
    หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ
    การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้
    ผู้ป่วยทุกคนควรทราบถึงปัจจัยที่ทำให้หอบหืดเป็นมากขึ้น
  • การจำแนกความรุนแรงของโรคหอบหืด
  • เมื่อให้ผู้ป่วยทราบความรุนแรงของโรคว่าอยู่ในขั้นไหนจะทำให้ทราบว่าควรจะได้รับยาอะไรบ้าง
  • ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืด
  • ผู้ป่วยควรทราบว่ายาที่ใช้อยู่เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการหรือเป็นยาที่ใช้รักษาโรคในระยะยาว
  • แผนการรักษาโรคหอบหืดเรื้อรัง
  • เป็นแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงในแต่ละขั้น
  • แผนการรักษาหอบหืดฉับพลันสำหรับผู้ป่วย
  • เป็นแผนการรักษาเมื่อเกิดหอบหืดเฉียบพลันเพื่อให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้าน
  • คุณต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนพบแพทย
  • ์เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้แพทย์ทราบอาการของโรค
  • ผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันท
  • ีเพื่อให้ผู้ป่วยเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงความรุนแรงและเร่งด่วนของโรค
  • ผู้ป่วยคนไหนที่ควรอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อรักษา
  • ผู้ป่วยคนไหนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหืด
  • โรคหอบหือในภาวะพิเศษ
  • เช่นโรคหอบกลางคืน หอบขณะออกกำลังกาย หอบขณะตั้งท้อง

    พระบรมรูปทรงม้า

    พระบรมรูปทรงม้า

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    พระบรมรูปทรงม้าในยามสาย

    พระบรมรูปทรงม้า อยู่ระหว่างการปั้นในสตูดิโอในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
    พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอย่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450
    พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง
    พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังทรงเสด็จไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว พระบรมรูปทรงม้าหล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ เป็นที่ม้ายืน หนาประมาณ 25 เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรอง ทำด้วยหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา มีโซ่ขึงล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ตรงฐานด้านขวามีอักษรฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อชาวไว้ว่า C.MASSON SEULP 1980 และ G.Paupg Statuare และด้านซ้ายเป็นชื่อบริษัทที่ทำการหล่อพระบรมรูปทรงม้าว่า SUSSF Fres FONDEURS. PARIS สำหรับแท่นศิลาอ่อนด้านหน้า มีแผ่นโลหะจารึกอักษรไทย ติดประดับแสดงพระบรมราชประวัติและพระเกียรติคุณ ลงท้ายด้วยคำถวายพระพรให้ทรงดำรงราชสมบัติอยู่ยืนนาน[1]

    [แก้] การบูชา


    เอกสารเรี่ยไรหาทุนสร้างพระบรมรูป
    ในปัจจุบันถึงแม้มิใช่วันที่ 23 ตุลาคม ก็จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปสักการบูชาที่ลานพระบรมรูปอยู่เสมอโดยเฉพาะในคืนวันอังคาร ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพของพระองค์ โดยมีความเชื่อว่าจะเสมือนหนึ่งไปรอเฝ้ารัชกาลที่ 5 โดยในเวลา 4 ทุ่ม พระองค์ท่านจะเสด็จมาประทับ ณ พระบรมรูปทรงม้าด้วย
    สิ่งที่นิยมใช้สักการบูชา คือ ดอกกุหลาบสีชมพู ด้วยความเชื่อที่ว่า ดอกกุหลาบที่มีความงามและมีหนามแหลมคม (คืออำนาจ) หากนำมาบูชาจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจ และสีชมพูยังเป็นสีของวันอังคาร (วันพระราชสมภพ)
    นอกจากนี้ ประชาชนบางคนยังนิยมจัดเป็นโต๊ะบูชา ส่วนใหญ่ประกอบด้วย บายศรี หมากพลู บุหรี่ เหล้า/ไวน์ สตางค์ น้ำมนต์ เชิงเทียน กระถางธูป ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการจัดอย่างบูชา “เทพ” ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเปรียบพระองค์เสมือนดั่งเทพยดาที่ปกปักษ์รักษาประเทศชาติ และราษฎรให้อยู่รอดปลอดภัย และเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีพระคาถาสำหรับบูชารัชกาลที่ 5 มากมายหลายหลายพระคาถา เช่น พระคาถาที่กล่าวกันว่านำสุดยอดพระคาถาอื่นๆ มารวมกัน คือ “ สยามเทวะนุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสภา สันตุ จะปัททะวา อเนกา อันตะรายาปี วินัสสันตุ อะเสสะโต ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตภิภาคะยัง สุขัง พลัง สิริ อายุ จะวัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิจะ ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันต เม”