วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของดาวเทียม แบ่งเป็น 5 ชนิดคือ


ประเภทของดาวเทียม แบ่งเป็น 5 ชนิดคือ
  1. ดาวเทียมสื่อสาร
  2. ดาวเทียมสำรวจ
  3. ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ
  4. ดาวเทียมทางการทหาร
  5. ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์ 
ดาวเทียมสื่อสาร
          ดาวเทียมสื่อสารเป็นดาวเทียมที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าทำงานตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุด เพื่อที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารของโลกเข้าไว้ด้วยกัน ดาวเทียมสื่อสารเมื่อถูกส่งเข้าสู่วงโคจร มันก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที มันจุส่งสัญญาณไปยังสถานีภาคพื้นดิน สถานีภาคพื้นดินจะรับสัญญาณโดยใช้อุปกรณ์ ที่เรียกว่า "Transponder" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่พักสัญญาณ แล้วกระจายสัญญาณไปยังจุดรับสัญญาณต่างๆ บนพื้นโลก ดาวเทียมสื่สารสามารถส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้ไปยังทุกหนทุกแห่ง
ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
          การใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล  หลักการที่สำคัญของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ Remote Sensing โดยใช้คลื่นแสงที่เป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (EME : Electro - Magnetic Energy) ทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมาย และอุปกรณ์บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ถ่ายถาพที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียม มักจะได้รับการออกแบบให้มีความสามารถถ่ายภาพ และมีความหลากหลายในรายละเอียดของภาพได้อย่างเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภททรัพยากรที่สำคัญๆ
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
         ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศด้วยภาพถ่ายเรดาร์ (Radar) และภาพถ่ายอินฟาเรด(Infared) เนื่องจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเป็นดาวเทียมสำรวจประเภทหนึ่งจึงมีอุปกรณ์บนดาวเทียมคล้ายกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร จะแตกต่างก็เพียงหน้าที่ การใช้งาน ดังนั้นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจึงมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากร กล่าวคือ อุปกรณ์สำรวจอุตุนิยมวิทยาบนดาวเทียมจะส่ง สัญญาณมายังเครื่องรับที่สถานีภาคพื้นดิน ซึ่งที่สถานีภาคพื้นดินนี้จะมีระบบรับสัญญาณแตกต่างกันไปตามดาวเทียมแต่ละดวง
ดาวเทียมบอกตำแหน่ง
       ระบบหาตำแหน่งโดยใช้ดาวเทียม (Global Positioning Satellite System - GPS) ถูกพัฒนาโดยทหารสำหรับการใช้งานในกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ โดยใช้เป็นระบบนำร่องให้กับเครื่องบิน เมื่อดาวเทียมที่ใช้กับระบบ GPS ขยายตัวมากขึ้น จึงมีพื้นที่การครอบคลุมมากขึ้น และได้มีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น การนำร่องให้เรือเดินสมุทรพาณิชย์ในบริเวณที่ระบบนำร่องภาคพื้นดิน ไม่สามารถใช้ได้
ดาวเทียมประเภทอื่นๆ
-ดาวเทียมสมุทรศาสตร์
          เราสามารถนำดาวเทียมไปใช้กับงานได้หลากหลายสาขา งานทางด้านสำรวจทางทะเลก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ดาวเทียมได้เข้าไปมีบทบาทปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และนักชีววิทยาทางทะเลสามารถตรวจจับความ เคลื่อนไหวของทุกสรรพสิ่งในท้องทะเลได้ ก็ด้วยการใช้งานจากดาวเทียมนั่นเอง โดยนำข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทางทะเลมาตรวจวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ลักษณะสิ่งมีชีวิต ความแปรปรวนของคลื่นลมและกระแสน้ำ จนกระทั่งได้รายงานสรุปสภาพทางทะเลที่สมบูรณ์
-ดาวเทียมสำรวจอวกาศ
          ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่มาก โดยดาวเทียมประเภทนี้จะถูกนำขึ้นไปสู่วงโคจรที่สูงกว่าดาวเทียมประเภทอื่น ๆ ลึกเข้าไปในอวกาศ ดังนั้นดาวเทียมสำรวจอวกาศจึงให้ภาพที่ไร้สิ่งกีดขวางใด ๆ ไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกมากั้น ดาวเทียมสำรวจอวกาศบางดวงก็จะนำอุปกรณ์ตรวจจับ และบันทึกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า บางดวงก็จะมีหน้าที่ตรวจจับและบันทึกรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต
-ดาวเทียมจารกรรม
          ดาวเทียมที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่งก็คือ ดาวเทียมเพื่อการจารกรรมหรือสอดแนม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ ด้วยกัน แต่ที่นิยมมากที่สุดคือประเภทที่ใช้เพื่อการลาด ตระเวน โดยมีการติดกล้องเพื่อใช้ในการถ่ายภาพพิเศษ สามารถสืบหาตำแหน่งและรายละเอียดเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการได้ ดาวเทียมจะมีอุปกรณ์ตรวจจับ คลื่นวัตถุด้วยเรด้าร์และ แสงอินฟราเรด ซึ่งสามารถตรวจจับได้ทั้งในที่มืด หรือที่ที่ถูกพรางตาไว้
ดาวเทียมที่แบ่งตามประเภทการใช้งาน
ดาวเทียมสามารถแบ่งประเภทการใช้งานได้ เช่น
  • ดาวเทียมที่ใช้ในการสื่อสารแบบจุดต่อจุด เช่น palapa thaicom
  • ดาวเทียมสื่อสารระหว่างดาวเทียม เช่น tdrs
  • ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเคลื่อนที่บนบก ในน้ำ และในอากาศ เช่น inmasat
  • ดาวเทียมเพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรศัพท์ เช่น astra
  • ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก สำรวจทรัพย์ยากรธรรมชาติ เช่น landsat
  • ดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศ เช่น meteor explorer
  • ดาวเทียมเพื่อการพยากรณ์อากาศ เช่น gms noaa 6-9
  • ดาวเทียมเพื่อการปฏิบัติในห้วงอวกาศ เช่น spas skylab
  • ดาวเทียมเพื่อกิจการวิทยุสมัครเล่น เช่น jas-1 jas-2 ao-40
  • ดาวเทียมเพื่อการกำหนดตำแหน่ง เช่น navstar
  • ดาวเทียมเพื่อการนำร่องเรือ และ อากาศยาน เช่น transit cosmos

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

สารเคมีในชีวิตประจำวัน


วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำยาย้อมผม

 ยาย้อมผม  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม   ทั้งเพื่อทำให้ดูอ่อนกว่าวัยจากการเปลี่ยนผมสีเทาหรือขาวให้เป็นสีเดิม  หรือเพื่อความสวยงามตามแฟชั่น  ดังนั้นยาย้อมผมจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ตั้งแต่วัยรุ่นถึงผู้สูงอายุ ทั้งเพศหญิงและชาย
ส่วนประกอบของเส้นผม
            เส้นผมของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รากผม ซึ่งฝังอยู่ในผิวหนัง และส่วนของเส้นผมที่ประกอบด้วยเคราติน (keratin)   ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไม่ละลายน้ำ   เมื่อตัดเส้นผมดูตามขวางจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ 1)  ชั้นนอก (cuticle)  ซึ่งมีลักษณะคล้ายเกล็ดงู 2)  ชั้นกลาง (cortex)  ซึ่งเป็นชั้นที่มีเม็ดสี (melanin) อยู่     เป็นสีตามธรรมชาติของเส้นผม    หากขาดเม็ดสีนี้ก็จะทำให้เกิดผมขาว  การเปลี่ยนสีผมจะทำให้เม็ดสีในชั้นนี้เปลี่ยนแปลง    รวมทั้งการดัดหรือยืดผมก็เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารในชั้นกลางนี้  และ 3) ชั้นใน (medulla) เป็นชั้นแกนของเส้นผม
ยาย้อมผมเปลี่ยนสีผมได้อย่างไร?
            ยาย้อมผมอาจเปลี่ยนสีผมเพียงชั่วคราว     หรือเปลี่ยนสีผมอย่างถาวร    (จนกว่าจะมีผมงอกขึ้นมาใหม่) ซึ่งผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมในท้องตลาด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
            1. ยาย้อมผมชนิดชั่วคราว  ประกอบด้วยสีที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่    เคลือบบนชั้นนอกของเส้นผม ซึ่งสีนี้จะหลุดออกภายหลังจากการสระผมด้วยแชมพูเพียงครั้งหรือสองครั้ง
            2. ยาย้อมผมชนิดกึ่งถาวร ประกอบด้วยสีที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก    ซึ่งสามารถซึมเข้าไปถึงชั้นกลางของเส้นผมได้ สีจะคงทนได้นาน 3-5 สัปดาห์
            3. ยาย้อมผมชนิดถาวร ยาย้อมผมชนิดนี้ติดทนบนเส้นผม    และทนต่อการสระด้วยแชมพู  ซึ่งยาย้อมผมชนิดถาวรนี้มี  2  ชนิด   คือ  ยาเคลือบสีผม   ซึ่งสีจะสะสมที่ชั้นนอกของเส้นผมเท่านั้น (โดยสีที่ใช้มี 3 ประเภท  ได้แก่ สมุนไพรย้อมผม เกลือโลหะย้อมผม และสีผสม) และอีกชนิดหนึ่ง คือ ยาย้อมผมชนิดที่ซึมเข้าเส้นผม    ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการเปลี่ยนสีผม   ยาย้อมผมชนิดนี้ประกอบด้วยน้ำยา 2 ขวด คือ
            ขวดที่ 1  ครีมสี  เป็นของเหลวหรือครีม  ซึ่งประกอบด้วยสีที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม ที่เรียกว่า
สีออกซิเดชัน หรือสีพารา ได้แก่ พาราฟีนิลีนไดอะมีน (p-Phenylenediamine, PPD) และ พาราโทลูอีนไดอะมีน (p-Toluenediamine, PTD)  ซึ่งอยู่ในสภาวะด่างจากการเติม แอมโมเนีย (Ammonia) ด่าง  ทำให้ชั้นนอกของเส้นผมบวม  พอง    และแยกออกทำให้สีซึมเข้าสู่ชั้นกลางของเส้นผม  แต่ถ้าน้ำยาเป็นด่างมากจะละลายชั้นนอกของเส้นผม  ทำให้ผมหยาบกระด้าง  นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว ที่ช่วยให้สีซึมเข้าเส้นผมได้ดี และสารที่ทำให้ข้นเพื่อให้สีไม่ไหลออกจากเส้นผม
            ขวดที่ 2  น้ำยาโกรก   ประกอบด้วย    6%    ของ   ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์    (Hydrogen peroxide)  ซึ่งทำหน้าที่ออกซิไดซ์สีพาราให้เกิดสีย้อมผม   หากไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มีความเข้มข้นมากกว่า  6%     จะทำลายเส้นผมและระคายเคืองหนังศีรษะ     แต่ถ้าความเข้มข้นต่ำกว่านี้ก็จะไม่สามารถออกซิไดซ์สีพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการใช้ยาย้อมผมชนิดนี้ต้องผสมน้ำยาทั้ง 2 ขวดทันทีก่อนใช้ย้อมผม   เพื่อให้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์   ปล่อยออกซิเจนอิสระไปออกซิไดซ์สีพาราให้
เกิดสี สำหรับการเปลี่ยนสีผม
สารเคมีที่พบในยาย้อมผมและการเกิดพิษ
โพราโทลูอีนไดอะมีน (p-Toluenediamine, PTD)
ชื่อพ้อง ได้แก่ 2,5-diaminotoluene

สูตรโครงสร้างทางเคมี :



PTD ทำหน้าที่เป็นสีที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือผลึกที่ไม่มีสี
            อาการแพ้ที่พบ   ได้แก่   การระคายเคืองผิวหนังและตา   หากโดนผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำและสบู่ หากกระเด็นเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำ
            ควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
พาราฟีนิลีนไดอะมีน (p-Phenylenediamine, PPD)
ชื่อพ้อง ได้แก่ phenylenediame, phenylenediame dihydrochloride, aminoaniline dihydrochloride, benzenediamine dihydrochloride, 1,4-diaminobenzene, p-aminoaniline  

สูตรโครงสร้างทางเคมี :
ลักษณะเป็นผลึกสีขาวหรือแดง และมีสีเข้มขึ้นเมื่อทิ้งไว้ในอากาศ
            PPD มีคุณสมบัติเป็นตัวรีดิวซ์อย่างแรง เมื่อได้รับออกซิเจนจากตัวออกซิไดซ์ คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมดำที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม ในส่วนผสมของครีมสีจะมีความเข้มข้นต่าง ๆ (0.08-6%) กัน ซึ่งเมื่อผสมกับสารตัวอื่นจะให้สีต่างๆ กันด้วย
            เป็นสารเคมีตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ใช้ อาการแพ้ที่พบ  ได้แก่ หน้าและคอบวม ผื่นแพ้จากการสัมผัส (contact dermatitis)  ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ แสบร้อน หากโดนตาทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ตาบวม หากสูดดมทำให้ไอ จาม วิงเวียนและหายใจไม่ออก
การปฐมพยาบาล
            ผู้ที่เกิดอาการแพ้ หากโดนผิวหนังและตา ให้ล้างออกด้วยน้ำ  และให้อยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท หากอาการแพ้เกิดขณะทำการย้อมผม  ให้ล้างผมและหนังศีรษะด้วยสบู่อ่อน และน้ำเพื่อล้างสีย้อมออกไปให้หมด อาจนวดหนังศีรษะด้วยน้ำมันมะกอก แล้วทาด้วยครีมสเตียรอยด์ที่ละลายน้ำได้
            นอกจากนี้ผู้ที่มีประวัติแพ้    PPD    ควรหลีกเลี่ยงการใช้ครีม    และครีมกันแดดที่มี   PABA (p-aminobenzoic acid)   รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มี benzocaine หรือ procaine  เป็นส่วนผสม และไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มซัลฟา (sulfonamides) เนื่องจากอาจพบอาการแพ้ได้เช่นกัน
แอมโมเนีย (Ammonia)  
ชื่อพ้อง ได้แก่ ammonia gas   aqueous ammonia    ammonium hydroxide
สูตรโครงสร้างทางเคมี : NH3
            ลักษณะเป็นก๊าซที่ไม่มีสี และมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
            แอมโมเนียที่เป็นส่วนผสมในครีมสี  จะอยู่ในรูปของแอมโมเนียม  ไฮดรอกไซด์ (Ammonium Hydroxide)  ซึ่งเป็นสารละลายในน้ำที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า 1%  และมีความเป็นด่างสูง มีคุณสมบัติในการกัดกร่อน (corrosive) ทำให้ชั้นนอกของเส้นผมแยกออกเพื่อให้สีย้อมผมผ่านเข้าไปได้
            อาการพิษที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส   สูดดม   หรือเมื่อกระเด็นเข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองทั้งต่อผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และตา อาจมีน้ำตา น้ำมูกไหล และไอ
            หากผิวหนังหรือเส้นผมสัมผัสกับแอมโมเนียให้ล้างด้วยน้ำสะอาดนานไม่ ต่ำกว่า 5 นาที แล้วตามด้วยสบู่และน้ำอีกครั้งหนึ่ง หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำหรือน้ำเกลือนาน 15 นาที  ทั้งนี้ก่อนการใช้ยาย้อมผมผู้ที่ใส่เลนส์สัมผัส  (contact lens) ควรถอดเลนส์ออกก่อน เพื่อป้องกันไอระเหยของแอมโมเนียและสารเคมีอื่นๆ ที่อาจกระเด็นเข้าตา
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide)
สูตรโครงสร้างทางเคมี : H2O2
            ลักษณะเป็นของเหลวใส  ไม่มีสี  ไม่คงตัว สามารถปลดปล่อยออกซิเจนได้โดยเฉพาะเมื่ออยู่รวมกับสารที่มี คุณสมบัติเป็นตัวรีดิวซ์
            ทำหน้าที่  2  อย่าง  คือ  เป็นสารฟอกสี (bleaching หรือ lightening agent) ที่ทำลายเม็ดสีตามธรรมชาติ   ทำให้เส้นผมมีสีอ่อนลง ง่ายต่อการเปลี่ยนสีผม และเป็นสารออกซิไดซ์ (oxidizing agent)  ปลดปล่อยออกซิเจน เพื่อออกซิไดซ์สีพาราให้เกิดสีที่ย้อมติดกับผม ในยาย้อมผมไม่ควรมีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เกิน 6% แต่ที่พบในท้องตลาดมีตั้งแต่ 3-40%
            หากใช้โดยไม่มีการเจือจางจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง         
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่พบในยาย้อมผม   เช่น   Nonoxynol-6, Nonoxynol-4, Propylene Glycol, EDTA, Sodium Metabisulfite, Resorcinol, O-Aminophenol, M-Aminophenol
จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณแพ้สารเคมีในยาย้อมผมหรือไม่?
            ก่อนการใช้ยาย้อมผมแต่ละครั้ง ควรทดสอบว่าคุณจะแพ้สารเคมีที่เป็นส่วน ผสมอยู่ในยาย้อมผมหรือไม่  แม้คุณจะเคยใช้ยาย้อมผมชนิดนั้นโดยไม่เกิดการแพ้มาก่อนก็ตาม โดยปกติจะมีวิธีทดสอบการแพ้ที่เรียกว่า  Patch Test   ระบุในใบแทรกที่แนบมากับผลิตภัณฑ์  ซึ่งทำได้โดยทำความสะอาดบริเวณหลังใบหู   หรือบริเวณข้อพับข้อศอกด้านใน  แล้วใช้ก้านสำลีจุ่มยาย้อมผมที่ผสมแล้วเพียงเล็กน้อยทาที่บริเวณดังกล่าว  ให้กว้างประมาณครึ่งนิ้ว   ทิ้งไว้ให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออกเป็นเวลา 24 ถึง 48 ช.ม.หากมีอาการคันหรือผื่นแดง ก็ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์นั้น
ผื่นแพ้จากการสัมผัส (Contact Dermatitis)
            สารเคมีหลายตัวในยาย้อมผม อาจทำให้เกิดอาการผื่นคัน โดยเฉพาะ PPD  ทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ใช้ยาย้อมผมส่วนใหญ่  ลักษณะผื่นแพ้อาจเป็นผื่นแดง  หรือตุ่มน้ำใสเล็กๆ  คันมาก  และจะขึ้นเฉพาะที่บริเวณที่สัมผัสถูกยาย้อมผม   ตุ่มน้ำใสอาจรวมกันจนเป็นตุ่มพองใหญ่    เมื่อแตกออกจะมีน้ำเหลืองไหล  เมื่ออาการดีขึ้น  ผิวหนังอาจแห้งเป็นขุย หรือหนาตัวขึ้น อาจมีสีคล้ำลง หรือเป็นรอยด่างขาวชั่วคราว เมื่อมีอาการคันไม่ควรเกาจนเป็นแผลเพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
            การรักษาผื่นแพ้จากการสัมผัส  ขั้นแรก  คือ การหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้  หากอาการแพ้เกิดขึ้นแล้ว   ให้ชะแผลด้วยน้ำเกลือ   แล้วเช็ดให้แห้ง   ทาด้วยครีมสเตียรอยด์   แต่ถ้าเป็นบริเวณกว้างควรกินยาแก้แพ้ร่วมด้วย    ถ้ามีหนองหรือน้ำเหลือง   ให้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ข้อควรระวังในการใช้ยาย้อมผม
          - ไม่ควรย้อมผมหากมีแผลบนศีรษะ
          - ทดสอบการแพ้ก่อนย้อมผม 24-48 ช.ม.
          - สวมถุงมือยางขณะทำการย้อมผม
          - ทำตามวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์
          - ให้หยุดใช้  และล้างออกด้วยน้ำทันที  เมื่อมีอาการคัน ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่ใช้ หรือที่ถูกน้ำยา
          - เก็บผลิตภัณฑ์ย้อมผมในที่มืด และเย็น
          - ไม่เทน้ำยาผสมที่เหลือกลับขวด  เนื่องจากภาชนะบรรจุอาจระเบิด  ให้ทิ้งในที่ที่เหมาะสม
          - ไม่ใช้ยาย้อมผม ย้อมขนตา หรือขนคิ้ว เพราะอาจทำให้ตาบอด
          - หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาย้อมผม

            เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข  ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง  พ.ศ. 2517  เกี่ยวกับคำเตือนซึ่งผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายต้องระบุไว้บนฉลากของน้ำยาย้อมผม         
            หากคุณเกิดอาการแพ้เมื่อใช้ยาย้อมผมชนิดถาวรแบบที่ซึมเข้าเส้นผมตามที่ได้ กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผมชนิดอื่นๆ ให้คุณเลือกใช้ได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารจากธรรมชาติ ซึ่งปราศจาก PPD ที่มักทำให้เกิดอาการแพ้  ดังนั้นการอ่านฉลากที่ระบุส่วนประกอบสำคัญในยาย้อมผม     จะช่วยให้คุณเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตัวเอง      และทำให้คุณสวยสมวัยอย่างปลอดภัยได้

น้ำยาลบคำผิด หรือ ลิควิดเปเปอร์ อันตรายทีเราอาจมองข้าม


น้ำยาลบคำผิด หรือ ลิควิดเปเปอร์ อันตรายทีเราอาจมองข้าม

User Rating:  / 1 
PoorBest 
น้ำยาลบคำผิด (ลิควิดเปเปอร์)
ทั่วไปจะประกอบด้วยสารทึบแสงซึ่งช่วย ปิดทับคำผิด เช่น titanium dioxide ตัวทำละลาย เช่น น้ำ ตัวทำละลายอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย สารที่ช่วยให้สารทึบแสงกระจายตัวได้ในตัวทำละลาย และอาจแต่งสีบ้าง ส่วนประกอบที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์นี้เองที่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้หาก มีการใช้ไม่ถูกต้อง หรือมีการสัมผัสอย่างต่อเนื่องนานๆ ตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในน้ำยาลบคำผิดได้แก่ เมธิลคลอโรเฮกเซน (methylchlorohexane)
ชื่ออื่นๆ : chlorohexylmethane, hexahydrotoluene, toluene hexahydride
โครงสร้างเคมี : C7H14
คุณสมบัติทั่วไป :ของเหลวไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายเบนซีน  ไม่ละลายในน้ำ ติดไฟได้ ทำปฏิกิริยากับกับ oxidizing agent
อันตราย ความเป็นพิษ และการป้องกันแก้ไข

การติดไฟและระเบิด
methylchlorohexane จัดเป็นสารที่ติดไฟได้ง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการนำสารนี้เข้าไปใกล้เปลวไฟ ประกายไฟ หรือบุหรี่ เมื่อเกิดการลุกไหม้แล้วให้ดับด้วยเคมีชนิดแห้ง คาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำยาดับเพลิงชนิดโฟม เนื่องจากน้ำไม่มีประสิทธิภาพดีพอ นอกจากนี้ยังควรระวังการสูดดมก๊าซที่เกิดจากการเผาไม้ของ methylchlorohexane เนื่องจากเป็นก๊าซที่เป็นอันตราย
อันตรายจากการสูดดม
methylchlorohexane มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยทำให้เกิดอาการระคายเคืองจมูก และลำคอ เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงนอน และการสูดดมเข้าไปก็เป็นวิธีการที่จะได้รับสารนี้ได้ง่ายที่สุด ดังนั้นเมื่อต้องการทำงานโดยใช้น้ำยาลบคำผิดอย่างต่อเนื่องนานๆ     ควรทำในบริเวณที่มีการระบายอากาศดี หรือพยายามหลีกเลี่ยงไม่สูดดมน้ำยาโดยตรง หรือมีอุปกรณ์เพื่อป้องกันหรือลดการสูดดมเข้าไป หากเริ่มมีอาการเวียนศีรษะควรหยุดใช้แล้วย้ายออกไปสูดอากาศที่บริสุทธิ์

อันตรายจากการสัมผัสทางผิวหนัง
เมื่อสัมผัสกับ methylchlorohexane บ่อยๆ จะทำให้ผิวหนังแห้ง ดังนั้นจึงควรล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด
อันตรายเมื่อเข้าตา
ทำให้เกิดอาการตาแดง ดังนั้นให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ หลายๆ ครั้งเป็นเวลา 15 นาที โดยเปิดเปลือกตาบนและเปลือกตาล่างเป็นระยะ

อันตรายเมื่อรับประทานเข้าไป
ทำให้คลื่นไส้ และหากสำลักอาจทำให้เกิดปอดอักเสบจากสารเคมี เมื่อได้รับ methylchlorohexane เข้าไปโดยการรับประทาน ให้บ้วนปากมากๆ แล้วนำผู้ป่วยไปพบแพทย์
อันตรายจากการได้รับสารเรื้อรัง
ยังไม่มีการทดสอบการก่อมะเร็งจากสารนี้ แต่อาจมีผลต่อตับและไต



พบหลุมดำยักษ์ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก

พบหลุมดำยักษ์ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก

Home> News> Global> พบหลุมดำยักษ์ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก

พบหลุมดำยักษ์ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก



ดาวเทียมสวิฟต์ของนาซาค้นพบหลุมดำขนาดยักษ์ ใกล้กับใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก หลังตรวจจับเจอปรากฏการณ์การปะทุของรังสีเอกซ์พลังงานสูง

รังสีเอกซ์ที่พบนี้ได้ปะทุออกมาจากแหล่งกำเนิดเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นหลุมดำ ที่มีดาวฤกษ์สหายอยู่ใกล้กัน ซึ่งเรียกว่า ระบบดาวคู่

ดาวเทียมสวิฟต์

นีล เกห์เรลส์ หัวหน้าทีมวิทยาศาสตร์ของสวิฟต์ บอกว่า แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกซ์เรย์ โนวา นี้ เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ยากมาก นับเป็นครั้งแรกที่สวิฟต์ได้ตรวจพบ

เอกซ์เรย์ โนวา (X-ray nova) จะปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาอย่างปุบปับ ระดับพลังงานจะพุ่งสูงสุดอยู่ไม่กี่วัน แล้วค่อยๆจางไปเมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน

การปะทุเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อก๊าซที่ถูกสะสมไว้ได้ถูกดึงดูดเข้าหาวัตถุที่มีมวลอัดแน่น เช่น ดาวนิวตรอน หรือหลุมดำ

แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ที่สว่างวาบขึ้นอย่างปุบปับได้แจ้งเตือนให้อุปกรณ์เฝ้าตรวจการปะทุของกล้องโทรทรรศน์สวิฟต์จับภาพไว้เมื่อวันที่ 16 กันยายน และอีกครั้งหนึ่งในวันต่อมา

โนวาที่ปล่อยรังสีเอกซ์นี้ ถูกตั้งชื่อตามพิกัดบนท้องฟ้าว่า สวิฟต์ เจ1745-26 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งห่างไม่กี่องศาเมื่อมองไปทางกลุ่มดาวคนยิงธนู

นักดาราศาสตร์ไม่รู้แน่ชัดว่า หลุมดำนี้อยู่ห่างจากโลกแค่ไหน แต่คาดระยะห่างว่าตกประมาณ 20,000-30,000 ปีแสง ในบริเวณใจกลางกาแล็กซีของเรา

กล้องดูดาวหลายแห่งบนภาคพื้นดินได้ตรวจพบการปล่อยรังสีความร้อนและคลื่นวิทยุ แต่เนื่องจากหลุมดำถูกปกคลุมด้วยม่านฝุ่นหนาทึบ จึงไม่สามารถถ่ายภาพของ Swift J1745-26ในย่านความถี่ที่เป็นแสงสว่างได้

โนวาดังกล่าวได้สว่างวาบสูงสุดด้วยรังสีเอกซ์เข้มข้น ซึ่งมีพลังงานเกิน 10,000 อิเล็กตรอนโวลต์ หรือสูงกว่าระดับพลังงานของแสงสว่างหลายพันเท่า เมื่อวันที่ 18 กันยายน ซึ่งนับว่าสว่างเท่ากับเนบิวลาปู

เนบิวลาปู (Crab Nebula) เป็นซากหลงเหลือของซูเปอร์โนวา ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดเทียบเคียงกับปริมาณพลังงานสูงที่ถูกปล่อยออกมาจากวัตถุต่างๆ นับเป็นแหล่งปล่อยพลังงานที่สุกสว่างที่สุดนอกระบบสุริยะของเรา

หลุมดำดังกล่าวมีสหายเป็นดาวฤกษ์ ก๊าซจากดาวสหายได้ไหลไปยังแผ่นจานสะสมสารที่ล้อมรอบหลุมดำ เมื่อเข้าใกล้หลุมดำก็จะเกิดความร้อนจัด แล้วปล่อยพลังงานออกมาเป็นลำรังสีเอกซ์