วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เขื่อนเจ้าพระยา


เขื่อนเจ้าพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนเจ้าพระยา
ชื่อทางการเขื่อนเจ้าพระยา
ที่ตั้งอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
เริ่มต้นการก่อสร้างพ.ศ. 2495
วันที่เปิด7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
Dam and spillways
ความสูง16.5 เมตร
ความยาว237.5 เมตร
กั้นแม่น้ำเจ้าพระยา
เขื่อนเจ้าพระยา เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 3 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
เขื่อนเจ้าพระยามีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร ติดตั้งบานประตูเหล็กรูปโค้งสูง 7.50 เมตร มีช่องระบายให้น้ำไหลผ่านขนาดกว้าง 12.50 เมตร จำนวน 16 ช่อง ประตูน้ำสำหรับเรือสัญจรติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง 14 เมตร ยาว 170.50 เมตร เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้ บนสันเขื่อนมีสะพานกว้าง 7 เมตร รับรถน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 20 ตัน และมีทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินสร้างบนคันกั้นน้ำซ้ายมือเหนือเขื่อนเจ้าพระยา กว้าง 10 เมตร ยาว 1,000 เมตร เพื่อช่วยระบายน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย อัตราการระบายน้ำผ่านเขื่อนสูงสุดประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่การปล่อยน้ำจะควบคุมให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อมิให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ทัศนียภาพรอบเขื่อนสวยงาม ช่วงเดือนมกราคมในบริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อนจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นมาอาศัยหากิน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายในจังหวัด




 
ท่องเที่ยว

ประวัติ [แก้]

โครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ เป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อการเพาะปลูกสำหรับพื้นที่ราบภาคกลางสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาตั้งแต่ชัยนาทถึงอ่าวไทย เดิมการเพาะปลูกในเขตพื้นที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ปีที่ฝนแล้งเกษตรกรในอดีตจึงได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอ
พ.ศ. 2445 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นายเย โฮมัน วันเดอร์ไฮเด ผู้เชี่ยวชาญการชลประทานชาวฮอลันดาเสนอให้สร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ ที่อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท แต่ประเทศไทยต้องใช้งบประมาณบำรุงประเทศในทางอื่นก่อน แผนการก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่จึงต้องระงับไว้ก่อน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดภาวะฝนแล้ง 2-3 ปีติดต่อกัน ครั้นถึงปี พ.ศ. 2456เซอร์ ทอมมัส เวอร์ด ผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษ ได้เสนอให้ก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ขึ้น แต่เวลานั้นอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่จึงต้องระงับอีกเป็นครั้งที่สอง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปี พ.ศ. 2491 ขณะที่หลายประเทศประสบภาวะขาดแคลนอาหาร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จึงได้พิจารณาถึงความจำเป็นของโครงการเจ้าพระยาใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เดือนตุลาคมปีนั้นกรมชลประทานจึงได้เสนอโครงการต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลพิจารณาเห็นชอบตามที่เสนอ ประกอบกับในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลได้เข้าเป็นสมาชิกธนาคารโลก จึงขอกู้เงินเพื่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 เป็นเงินจำนวน 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
กรมชลประทานได้เริ่มเตรียมงานเบื้องต้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 และเริ่มงานก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกับระบบส่งน้ำในปี พ.ศ. 2495 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 ช่วงระหว่างการก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2498 และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยมีพระราชดำรัสว่า
"ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมในพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้ ประเทศของเราเป็นประเทศกสิกรรม ทั้งข้าวก็เป็นอาหารหลักของประชาชนพลเมือง การอยู่ดีกินดีของอาณาประชาราษฎร์และความสมบูรณ์มั่งคั่งของประเทศยังต้อง อาศัยอยู่กับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกข้าวในภาคกลางนี้ รัฐบาลของเราทุกยุคทุกสมัย ดังที่นายกรัฐมนตรีแถลงมา ได้เล็งเห็นความสำคัญและสนใจในการทำนุบำรุงประเทศโดยการที่จะสร้างโครงการชลประทานเพื่อส่งเสริมช่วยการเพาะปลูกและการทำนาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จึงเป็นที่น่ายินดียิ่งนักที่เขื่อนเจ้าพระยา อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการชลประทานที่ได้ดำริกันมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นอันก่อสร้างสำเร็จลงได้ในปัจจุบัน"
"ทั้งนี้เป็นหลักพยานอันหนึ่งถึงความเพียรพยายามที่จะดำเนินการอันจะก่อประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันดีของคนไทย ตามคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เห็นได้แล้วว่า ความสำเร็จของเขื่อนเจ้าพระยาได้ส่งผลให้แก่พื้นที่นาทั้งสองฝั่งในระยะ เริ่มแรกแล้วเพียงไร ข้าพเจ้าขออนุโมทนาด้วย และขอบรรดาท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนี้จงได้รับคำชมเชยทั่วกัน"
"ได้เวลาแล้วข้าพเจ้าจะได้กระทำพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ขอให้เขื่อนเจ้าพระยานี้จงสถิตอยู่ด้วยความมั่นคงถาวร ได้อำนวยบริการแก่ประเทศชาติและเพิ่มพูนประโยชน์แก่กสิกรต่อไปอย่างไพศาล สมตามปณิธานที่ได้ก่อสร้างขึ้นนั้นทุกประการ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ทุก ๆ คนทั่วกัน"
พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีที่เขื่อนเจ้าพระยาได้ก่อสร้างและทำหน้าที่ในการบริหารจัดการลุ่มน้ำเจ้าพระยามาครบ 50 ปี ทางกรมชลประทานจึงได้จัดงานขึ้นบริเวณเขื่อนเจ้าพระยาระหว่างวันที่ 5-9 กุมภาพันธ์ 2550 โดยใช้ชื่องานว่า "80 พรรษามหาราช ตามรอยพระบาทยาตรา เขื่อนเจ้าพระยา 50 ปี" เนื่องจากเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ 80 พรรษา โดยมีนายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรี เป็นประธานเปิดงาน

เขื่อนขุนด่านปราการชล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ


เขื่อนขุนด่านปราการชล โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พิมพ์อีเมล

          ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536  เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่าน ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน เพื่อช่วยให้ราษฎรทางตอนล่างมีน้ำใช้ทำการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายกเป็นเป็นประจำทุกปี เพื่อการอุตสาหกรรม และเพื่อการแก้ไขพื้นที่ดินเปรี้ยวอีกด้วย
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
tadan-1tadan-2
tadan-4tadan-5

วัตถุประสงค์:

1.  เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน โดยสามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่ชลประทาน ได้ 185,000 ไร่ 
ด้วยโครงการท่าด่านเดิม 6,000 ไร่ โครงการท่าด่านส่วนขยาย 14,000 ไร่ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก  165,000 ไร่2.  เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรม  3.  เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตจังหวัดนครนายก 4.  เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในเขตจังหวัดนครนายก
สภาพทั่วไป
          1.  ลักษณะภูมิประเทศ อ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล อยู่ในลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อย  ของลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำนครนายกครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ของจังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ 2,433 ตาราง-กิโลเมตร ต้นน้ำของแม่น้ำนครนยกเกิดจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งติดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มียอดเขาสูงประมาณ 1,000 - 1,300 เมตร
    
          2.  สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของลุ่มน้ำนครนายก ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม
          3.  สภาพน้ำฝน  เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำมีเทือกเขาดงพญาเย็น (เขาใหญ่) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นแนวปะทะของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก โดยเฉลี่ยประมาณ2,600 ถึง 2,900 มม./ปี


          4.  สภาพน้ำท่า  ของอ่างเก็บน้ำเขื่อนขุนด่านปราการชล  ข้อมูลน้ำท่าเฉลี่ยมากที่สุดเดือนสิงหาคม มีปริมาณ 70.87 ล้าน ลบ.ม. น้ำท่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเดือนมีนาคม มีปริมาณ 0.66 ล้าน ลบ.ม.รวมปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งหมด 292.45 ล้าน ลบ.ม. 
ระยะเวลาดำเนินการ : 
13 ปี  (2540 - 2552)
tadan-7tadan-8
tadan-6tadan-3
รายละเอียดโครงการ :
        
          เป็นโครงการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น  มีขนาดความจุอ่างเก็บน้ำ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวอ่างฯ ที่ระดับเก็บกักปกติรวม 3,087 ไร่  

1)  เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ  ประกอบด้วย
    (1) เขื่อนหลัก (Main Dam) 
         · เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัด (Roller Compacted Concrete หรือ RCC Dam) สูง 93 เมตร  ระดับสันเขื่อน+112 .รทก.ความยาว 2,594 เมตร ปริมาตรคอนกรีตบดอัด 5,470,000 ลูกบาศก์เมตร
    (2) อาคารระบายน้ำล้น (Spillway) 
         · เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 1,454 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ผ่านช่องระบาย 4 ช่อง มีรูปลักษณะเป็นฝายที่ระดับ +103.50 .รทกซึ่งควบคุมด้วย Radial Gate 4 ชุด ขนาดชุดละ 10.00 x 8.40 เมตร
    (3) อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet) 
         · เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ควบคุมอัตราการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.00 x 5.00  เมตร และButterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร โดยมีระดับธรณีท่อ +28.50 .รทกระบายผ่านท่อเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0 เมตร และควบคุมการปล่อยลงท้ายน้ำด้วย  Hollow Jet Valve Ø 1.80 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 42 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
    (4) อาคารระบายน้ำ (Bottom Outlet) 
         · เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระดับธรณี +29.00 .รทกระบายน้ำผ่านช่องขนาดกว้าง 5.0 เมตร สูง 3.0 เมตร ควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate ขนาด 2.50 x 3.90 เมตร และ Radial Gate ขนาด 2.50 x 3.45 เมตร สามารถระบายน้ำได้182.0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ซึ่งสามารถลดระดับน้ำจากระดับเก็บกักที่ + 110.00 .รทกลงมาที่ระดับ +70.00 .รทก.ภายใน 10 วัน
    (5) อาคารส่งน้ำเข้าคลองชลประทาน (lrrigation Outlet) 
         · เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ระบายน้ำผ่านท่อสแตนเลส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.90 เมตร จำนวน 1 ท่อ มีระดับธรณี+38.45 .รทกควบคุมการไหลโดย Fixed Wheel Gate และ Butterfly Valve ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร รวม 2 ชุด ระบายน้ำลงคลองชลประทานโดย Hollow Jet Valve  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 เมตร (2 ชุดสามารถส่งน้ำเข้าคลองได้รวม6.05 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
    (6) อาคารผันน้ำระหว่างการก่อสร้างเขื่อน ประกอบด้วย 
         · ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม ขนาดสูง 12.00 เมตร ระดับสันทำนบ +39.00 .รทกกว้าง 5.00 เมตร  ความยาวรวม 1,084เมตร
         · อาคารคอนกรีต Retaining Wall ด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ขนาดความสูง 12.00 เมตร และ  13.00 เมตร ตามลำดับ
         · อาคารผันน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ 2 ช่อง ขนาด 7.00 x 9.00 เมตร และ 6.00 x 9.00  เมตร สามารถระบายน้ำได้ 700ลูกบาศก์เมตร/วินาที (Return Period 20 ปีโดยมีระดับธรณี +27.00 .รทก.
    (7) เขื่อนดินปิดช่องเขาต่ำ (Saddle Dam) 
         · เป็นเขื่อนดินสูง 46.0 เมตร สันเขื่อนที่ระดับ +114 .รทกกว้าง 8.0 เมตร ยาว 350 เมตร  ปริมาตรเขื่อน 1,220,000 ลูกบาศก์เมตร

2)  ระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำ  ประกอบด้วย
    (1)  พื้นที่โครงการท่าด่านเดิมและส่วนขยาย  รวม  20,000  ไร่    (2)  พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก  165,000  ไร่
 ประโยชน์ที่ได้รับ :
1.  ส่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่พื้นที่ รวม  185,000  ไร่              2.  ส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค 16 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อปี     3.  เกษตรกรได้รับผลประโยชน์ 5,400 ครัวเรือน4.  บรรเทาปัญหาดินเปรี้ยว5.  ลดความเสียหายจากอุทกภัย ได้ร้อยละ 35การดำเนินงาน :

งานเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์ และเริ่มเก็บกักน้ำ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 
 
ภาพโครงการ : 
thadan02_thadanthadan_dam
        

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์



เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
.....
วันหยุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสไปเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

คนเยอะมาก รถติดตั้งแต่ยังไม่ถึงตัวเขื่อน
กว่าจะเข้าไปได้ ใช้เวลาร่วมชั่วโมง
แล้วต้องวนหาที่จอดรถอีก ตามรถคันหน้าไปเรื่อย ๆ
ได้ที่จอดรถไกลจากตัวเขื่อนมาก
วันนั้นอากาศไม่แจ่มใสเลยครับ ท้องฟ้าครึ้มตลอด
แต่อากาศเย็นสบาย ๆ ได้ลมเย็น ๆ พัดมาจากอ่างน้ำเหนือเขื่อน
ลงไปใต้เขื่อน เก็บภาพสวย ๆ มาฝาก
เก็บภาพแนวสันเขื่อนสวย ๆ อีกสักภาพครับ
ขอบคุณที่ติดตามชมครับ

เขื่อนโบราณแห่งแรกในโลก

เขื่อนโบราณแห่งแรกในโลก

เขื่อนตูเจียงเยี่ยน (Dujiangyan)

ผู้ที่ได้ไปเยือนเมืองเฉิงตู แห่งมณฑลเสฉวน มักจะไม่พลาดในการไปเยี่ยมชม เขื่อนตูเจียงเยี่ยน เพราะมีความยิ่งใหญ่และสวยงามน่าเที่ยวชมไม่แพ้การไปเที่ยวชมแพนด้าที่น่ารัก


สภาพเขื่อนในปัจจุบันสร้างขึ้นภายหลัง

เขื่อนตูเจียงเยี่ยน เป็นหนึ่งในความภูมิใจของชาวจีนในมรดกทางวิศวกรรมโบราณแห่งนี้ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาชาวจีนโบราณ บวกกับความพยายามอันยิ่งใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาทางธรรมชาติ ที่คนมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก เพราะธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่กว่าคนตัวเล็กๆมากนัก


วิวจากด้านบน

เขื่อนนี้นับเป็นมรดกของจีนและของโลกโดยแท้ เป็นเขื่อนที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ทีเดียว เพราะสร้างขึ้นมาเมื่อกว่า 2,200 ปีมาแล้ว ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ โดยใช้เทคนิคที่คิดขึ้นเพื่อชะลอความแรงของน้ำและแบ่งแยกสายน้ำออกเป็นสองทางเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายต้ว โดยมีหลี่ปิงนายช่างโบราณเป็นผู้ออกแบบสร้าง นอกจากแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้พอสมควรแล้ว ยังเป็นการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรกรรมได้อีกด้วย จนทำให้เมืองเฉิงตูเป็นดินแดนอู่ข้าวอู่น้ำของจีนที่สำคัญ การใช้วัสดุที่พื้นๆแต่มีเทคนิคที่น่าทึ่ง ทำให้วัสดุธรรมชาติ เช่นหิน ไม้ และไม้ไผ่สามารถมารวมกันเป็นเขื่อนกั้นสายน้ำอันยิ่งใหญ่ได้


สะพานแขวนข้ามแม่น้ำไปยังเขื่อน

การเดินทางไปยังเขื่อนนั้น เราไปพักค้างคืนกันที่โรงแรมเล็กๆเชิงเขา พอตื่นเช้าจัดการภารกิจกันเสร็จ ก็นั่งรถบัสขึ้นเขากันเลย เป็นการดูแบบย้อนทาง คือขึ้นไปที่สูง แล้วเดินลงมาดูข้างล่าง รถจะจอดที่อาคารบนเชิงเขาบนชั้นบนสุดของอาคารหอคอยขนาดใหญ่ ที่เป็นที่ชมวิวเขื่อนจากที่สูง เห็นแม่น้ำและความยิ่งใหญ่ของเขื่อน แต่เป็นเขื่อนที่ปรับปรุงใหม่ในสมัยปัจจุบันนี้แล้ว กระนั้นก็ตามก็มีความน่าสนใจชวนเที่ยวไม่น้อย เราค่อยเดินลงจากหอคอยใหญ่ทีละชั้น ซึ่งมีสิ่งบริการนักท่องเที่ยวครบครัน ทั้งให้เสียเงินได้สนุกตลอดทาง ลงจากหอคอยได้ก็มาผ่านศาลเจ้าของหลี่ปิงที่สร้างขึ้นเป็นอนุสาวรีย์ให้คนได้เคารพบูชา ที่ถึงขั้นยกให้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งทีเดียว ไหว้ศาลของหลี่ปิงแล้ว จึงลงถึงริมฝั่งแม่น้ำ วิวทิวทัศน์ข้างล่างก็สวยงามไปอีกแบบหนึ่งไม่แพ้วิวข้างบน


สะพานแขวนมองจากด้านล่าง


หอคอยใหญ่ที่เราเดินกันลงมา


โครงสร้างเขื่อนโบราณแบบเดิม

การข้ามไปตัวเขื่อนก็เป็นความสนุกตื่นเต้นของนักท่องเที่ยวอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นสะพานเชือกเล็กๆ แบบสะพานแขวน แต่ยาวเป็นช่วงๆ โยนไปโยนมา กว่าจะถึงตัวเขื่อน ก็เล่นเอาเหงื่อตกไปเหมือนกัน ถึงเขื่อนแล้วมองกลับขึ้นไปที่หอคอย ก็สวยงามน่าประทับใจอีกเช่นกัน ทำให้มีความคิดขึ้นมาแวบหนึ่งว่า มันน่าย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่เสียจริงๆ(ตอนแก่)


เมื่อเดินข้ามสะพานมาแล้ว หันกลับไปดูเห็นหอคอยอยู่ลิบๆ


ร้านค้าของที่ระลึก ริมแม่น้ำ


ป้อมเล็กๆปิดไว้ ไม่รู้เป็นอะไร แต่สวยแบบจีนๆดี

ชมเขื่อนเสร็จก็ชอบปิ้งกันตามประสา แต่ไม่ต้องเดินย้อนขึ้นหอคอยแล้ว รถบัสลงมารอรับเราข้างล่างอยู่แล้ว เพื่อเดินทางต่อไปดูหมีกันนั่นเอง

เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก


ตามไปดู...เขื่อน ทรีกอร์เจียส เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

         เมื่อพูดถึงสิ่งก่อสร้างหลายอย่างที่มนุษย์สร้างขี้นดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว เช่น พีระมิดที่อียิปต์ หรือ กำแพงเมืองจีน ซึ่งในอดีต สิ่งก่อสร้างหลาย ๆ อย่างสร้างขึ้นเพื่อการบูชาเทพเจ้า และสรรเสริญธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน วัตถุประสงค์เหล่านั้นดูจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเขื่อนทรีกอร์เจียส เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกในประเทศจีน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะควบคุมธรรมชาติเอาไว้อย่างแท้จริง

         สำหรับเขื่อนทีกอร์เจียสแห่งนี้นับว่าเป็นโปรเจ็คที่ใหญ่ที่สุดของจีนต่อกำแพงเมืองจีน โดยสร้างขึ้นขวางทางของแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกรองจากแม่น้ำไนล์และแม่น้ำอะเมซอน แม่น้ำแยงซีเกียงมีความยาวกว่า 6,000 กว่ากิโลเมตรเลยทีเดียว เจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนหลายคนคาดว่า เขื่อนแห่งนี้จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศแห่งใหม่ในยุคมิลเลเนียม



เขื่อน ทรีกอร์เจียส ขณะกำลังก่อสร้าง

          ความคิดในการสร้างเขื่อนทรีกอร์เจีนสนี้ เริ่มขึ้นเมื่อสมัยของประธานาธิบดี ซุนยัตเซ็น ซึ่งเสนอการสร้างเขื่อนพลังงานน้ำในปี พ.ศ. 2462 เเละเมื่อช่วงกลาง พ.ศ. 2493 หลังจากที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่จากแม่น้ำแยงซีเกียง ประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง ก็ได้สั่งการให้มีการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนแห่งนี้อีกครั้ง  แต่เขื่อนแห่งนี้ ได้ผ่านการอนุมัติจากสภาประชาชนจริง ๆ และได้มีการก่อสร้างอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปี 2547 และเสร็จสิ้นเมื่อปี 2554 ใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 7 ปีด้วยกัน แต่ในช่วงที่มีการก่อสร้างเจ้าหน้าที่ต้องจ้างคนงานที่ทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืนกว่า 20,000 คน เพื่อสร้างเขื่อนให้เสร็จตามกำหนด

       
          เขื่อนทรีกอร์เจียส  คงจะเป็นคำนิยามที่เห็นภาพได้ของเมกะโปรเจกต์อย่างแท้จริง เพราะนี่คือเขื่อนที่กว้างกว่า 185 เมตร ความสูงด้านล่างมากกว่า 115 เมตร และด้านบนกว่า 40 เมตร  มีความยาวสันเขื่อนกว่า 2,335 เมตร บริเวณอ่างเก็บน้ำ จะสามารถจุน้ำได้กว่า 39,300 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพื้นที่รับน้ำของเขื่อนนั้น  นับเป็น 2 เท่าของประเทศไทยและสามารถระบายน้ำได้  1,160,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ใช้เงินทุนในการก่อสร้าง เฉพาะการสร้างเขื่อนอย่างเดียวกว่า 1 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ เขื่อนแห่งนี้ยังเป็นทางให้เรือขนส่งสินค้าสามารถเดินทางออกสู่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เปิดประตูการค้าให้กับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมของประเทศ และกังหันน้ำที่หมุนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ จะหมุนเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าให้มากกว่าโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้านิวเคลียร์กว่า 18 โรงด้วยกัน

                                                                         
                                                                          
          เจ้าหน้าที่ของจีนเชื่อว่า เขื่อนแห่งนี้จะสามารถขจัดปัญหาหลัก ๆ หลายอย่างของประเทศได้ โดยเขื่อนทรีกอร์เจียส ถือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอนาคตของจีน ตามที่ประเทศจีนมีอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้น รวมไปถึงการป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำแยงซีที่คร่าชีวิตคนไปมากกว่า 1 ล้านคนในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ โปรเจ็คนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นทางยาวกว่า 1,500 ไมล์ให้กับเรือขนส่งสินค้า สามารถขนสิ่งค้าได้ภายในประเทศ โดยส่งตรงถึงเมืองฉงชิ่ง เมืองหลวงที่สร้างขึ้นในมณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 2540 ประกอบด้วยประชากรกว่า 30 ล้านคน และอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่ง ทางการจีนหวังว่า การที่เขื่อนทรีกอร์เจียส  ซึ่งจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าราคาถูกและเป็นแม่น้ำเพื่อการขนส่งสินค้านั้น จะสามารถเปิดประเทศนี้ให้กับการค้าระหว่างประเทศได้ โดยมีเมืองฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจ


          อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังจำนวนมากจากเขื่อนทรีกอร์เจียสนี้ ก็นำมาซึ่งเสียงวิพาษ์วิจารณ์จากทั้งในประเทศจีนเองและต่างประเทศ โดยเชื่อกันว่า การคอร์รัปชั่นจากการสร้างเมกะโปรเจ็คแบบนี้ จะทำให้โครงสร้างของเขื่อนมีคุณภาพต่ำ ซึ่งทางสื่อของจีนเอง ก็ได้มีการรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่การคอร์รัปชั่นและงานสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานนำมาซึ่งภัยพิบัติอันใหญ่หลวง โดยเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สะพานเหล็กในเมืองฉงชิ่งได้พังถล่มลงมาตอนเดือนมกราคม ปี 1999 และมีผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน ทำให้หลายคนเกรงว่าหากเขื่อนแห่งนี้พังลง อาจจะทำให้ประเทศจีนกว่าครึ่งประเทศเสียหายไปได้




          ทั้งนี้ จากการสร้างเขื่อนแห่งนี้ยังกินพื้นที่จำนวนมาก ส่งผลให้เมืองกว่า 100 แห่งต้องจมใต้บาดาล คนกว่า 1.2 ล้านคนต้องหาที่อยู่ใหม่ และที่ดินทำกินแห่งใหม่อีกจำนวนหนึ่งให้ชาวนากว่า 300,000 คน ซึ่งทางการจีนได้ประเมินว่ามีคนแค่ 700,000 คน ที่จะต้องย้ายถิ่นฐานออกไปจริง ๆ แต่พอย้ายออกจากพื้นที่สร้างเขื่อนจำนวนประชากรมีจำนวนมาก จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการแจกจ่ายที่ทำกินแห่งใหม่ และสิ่งที่แย่ก็คือว่า เมื่อคนเหล่านี้ย้ายออกจากถิ่นฐานเดิมซึ่งเคยอุดมสมบูรณ์ ต้องไปอยู่ในถิ่นฐานใหม่ที่อุดมสมบูรณ์น้อยกว่า อาจจะส่งผลเสียต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านได้  ขณะที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ต่างหวั่นเกรงผลกระทบของเขื่อนที่จะมีต่อการอนุรักษ์สถานที่สำคัญ ๆ ของจีน เพราะพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ๆ กว่า 1,300 แห่ง จมหายไปภายใต้อ่างเก็บน้ำของเขื่อน โดยเฉพาะอย่าง หมู่บ้านของชนเผ่าบา ชนเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคนี้เมื่อ 4,000 ปีก่อน และมีประชากรเหลืออยู่เพียงน้อยนิดในจีน ก็จะถูกอ่างเก็บน้ำกลืนไปเช่นกัน

          ถึงแม้ว่า ทางรัฐบาลจีนได้ทราบถึงปัญหาของเขื่อนทรีกอร์เจียสเหล่านี้เป็นอย่างดี แต่พวกเขาก็มองว่า โปรเจ็คนี้นี้มีประโยชน์มากกว่า และจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่าทำลาย เนื่องจากเขื่อนแห่งนี้ จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จำนวนกว่า 1 ใน 9 ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ทั้งประเทศผลิตขึ้นมาได้ ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศจีนใช้ถ่านหินกว่า 50 ล้านตันต่อปีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หมายความว่า ผลดีต่อต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน




          อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เขื่อนทรีกอร์เจียสก็ได้สร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย และเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม โดยเก็บค่าเข้าชมคนละประมาณ 400 หยวน หรือ 2,000 บาท ซึ่งผู้เข้าชมจะได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ของเขื่อน เพื่อทราบประวัติความเป็นมา และวิธีปฏิบัติ และที่สำคัญคือ เขื่อนแห่งนี้มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา เพราะหากเกิดความเสียหาย จะเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศได้

หลักการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ


โรงไฟฟ้า พลังน้ำเขื่อนภูมิพล มีหลักการผลิตกระแสไฟฟ้า คือ จะใช้แรงดันน้ำที่กักเก็บในอ่างเก็บน้ำ (Reservoir) 
มาดันให้กังหันน้ำ(Turbine) หมุนโดยกังหันน้ำซึ่งเป็นตัวต้นกำลังต่อเชื่อมกับส่วนที่หมุน(Rotor) ของ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า(Generator) ด้วยแกน shaft ในแนวตั้ง ทำให้ Rotor หมุนตามด้วยความเร็วรอบที่เท่ากัน
กับ Turbine 150 รอบต่อนาที เมื่อป้อนไฟฟ้ากระแสตรง(Excite)เพื่อกระตุ้นให้ขดรวดของ Rotor 
(Rotor winding)จะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นที่ Rotor winding เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนตัดกับขดรวดที่อยู่กับที่ (Stator winding) แรงดันไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นที่ Stator winding ที่ระดับ 13,800 โวลต์ และแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นไปที่ระดับ 230,000 โวลต์ ด้วยหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า ก่อนที่จะส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้เข้าระบบไฟฟ้าของประเทศ


ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร

ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร       นักเรียนเคยเห็นฟ้าแลบและฟ้าผ่าหรือไม่ ปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าผ่าเกิดจากกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านก้อนเมฆและอากาศ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่กระแสไฟฟ้าไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในธรรมชาติเท่านั้น มนุษย์สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ได้

เบนจามิน แฟรงคลิน ค้นพบไฟฟ้าขณะทดลองชักว่าวเวลาฟ้าผ่า
       ไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถทำงานได้ เราใช้ประโยชน์จากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยต่อสายไฟระหว่างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ เตารีด เมื่อเปิดสวิทช์แล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานโดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงานแสง พลังงานเสียง พลังงานกล

วงจรไฟฟ้า       หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม
       จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า สายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current)
       สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน


วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
       1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่
       2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
       3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด

       สำหรับสวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย

เครื่องโทรศัพท์

เครื่องโทรศัพท์

 
รูปที่ 2.1 แสดงลักษณะของเครื่องโทรศัพท์แบบต่างๆ
         เครื่องโทรศัพท์ ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หลายรูปแบบ หลายรูปร่าง หลายขนาดหลายราคา มีทั้งแบบรูปที่ทันสมัย หรือแบบทรงโบราณ บางรุ่นมีหน่วยความจำ หรือมีปุ่มอำนวยความสะดวกมากมาย มีทั้งแบบกดปุ่มหรือแบบหมุน ให้ประชาชน ได้เลือกใช้ตามความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามเครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่องมีหน้าที่เหมือนกันคือ ใช้สำหรับสนทนากัน ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามานั้นเป็นการช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย ในการใช้งานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง


รูปที่ 2.2 แสดงสัญลักษณ์ของเครื่องโทรศัพท์
2.1 ส่วนประกอบเบื้องต้นของเครื่องโทรศัพท์
        เนื่องจากเครื่องโทรศัพท์ที่อยู่ในท้องตลาดปัจจุบันนี้ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมเข้าไปมากมาย แท้จริงแล้วถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เครื่องโทรศัพท์ก็สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงขอกล่าวเฉพาะส่วนประกอบเบื้องต้นที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้น
รูปที่ 2.3 แสดงส่วนประกอบภายนอกของเครื่องโทรศัพท์

รูปที่ 2.4 แสดงวงจรของเครื่องโทรศัพท์เบื้องต้น 
2.1.1 ปากพูด (Transmitter) 
         โดยทั่วไป เราเรียกว่า "ปากพูด" อุปกรณ์ตัวนี้แท้จริงแล้วก็คือ ไมโครโฟน (Microphone) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ปากพูดที่ใช้อยู่ ในเครื่องโทรศัพท์ปัจจุบันมี 3 แบบ คือ
         1. คาร์บอน (Carbon)
         2. ไดนามิกส ์(Dynamic)
         3. คอนเดนเซอร ์(Condenser)
เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะนิยมใช้ คอนเดนเซอร์ เป็น ปากพูด เพราะขนาดเล็ก ราคาถูก ความไวสูงกว่าแบบอื่น ๆ

2.1.2 หูฟัง (Receiver) 

         โดยทั่วไปเรียกว่า "หูฟัง" ซึ่งก็คือ ลำโพง (Speaker) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง ลักษณะโครงสร้างของ หูฟัง อาจไม่เหมือนลำโพง ทั่ว ๆ ไปนักเพราะต้องออกแบบให้มีขนาดเล็กและอยู่ในรูปร่างที่ถูกจำกัดไว้ด้วยพื้นที่ แต่หลักการทำงานก็ยังคงเหมือนเดิม

2.1.3 ฮุคสวิตช์ (Hook Switch) 
         ลักษณะของ ฮุคสวิตช์ ก็คือ สวิตช์ 2 ทาง ทำหน้าที่เลือกว่าจะให้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับวงจรกระดิ่ง (Ringer) หรือต่อกับวงจรปากพูดหูฟัง ดังแสดงตาม รูปที่ 2.6


รูปที่ 2.5 ลักษณะและสัญลักษณ์ของฮุคสวิตช์ (Hook Switch)

รูปที่ 2.6 บล็อคไดอะแกรม (Block Diagram) แสดงหน้าที่ฮุคสวิตช์ (Hook Switch)

         ในขณะที่ไม่มีการใช้โทรศัพท์ ฮุคสวิตช์จะต่อสายโทรศัพท์ (L1 , L2) เข้ากับวงจรกระดิ่ง แต่เมื่อมีการยกหู ฮุคสวิตช์จะต่อสายเข้ากับวงจรปากพูดและหูฟังทันที โดยตัดวงจรกระดิ่งออกไป
ฮุคสวิตช์จะทำงานเมื่อมีการยกหูหรือวางหูเพราะหูฟังโทรศัพท์ (Hand Set) จะวางทับฮุคสวิตช์ไว้เวลายกขึ้นก็จะปล่อย เวลาวางหูฟังโทรศัพท์ ลงก็จะทับ ทำให้ ฮุคสวิตช์ทำงาน

2.1.4 
หูฟังโทรศัพท์ (Hand Set)
รูปที่ 2.7 ลักษณะของ หูฟังโทรศัพท์ (Hand Set)
         หูฟังโทรศัพท์ โดยทั่วไปเรียกว่า "มือถือ" หรือ หูฟังโทรศัพท์ ดังเช่นเราพูดว่า "ถือหูโทรศัพท์" หรือ "ยกหูโทรศัพท์" เป็นต้น หูฟังโทรศัพท์ จะทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของปากพูดและ หูฟัง ซึ่งจะออกแบบหูฟังโทรศัพท์ ให้เหมาะสม ง่ายต่อการพูดและฟังพร้อม ๆ กัน ซึ่งรูปร่างทั่ว ๆ ไป แสดงตามรูปที่ 2.7
       เนื่องจากภายในหูฟังโทรศัพท์ จะมีปากพูดและหูฟังอยู่ภายใน เวลาโทรศัพท์ต้องให้ตำแหน่งปากพูดอยู่ใกล้ปากและหูฟังอยู่ใกล้หู จึงจะทำให้การสนทนาได้ยิน ซึ่งกันและกัน 
2.1.5 ขดลวดเหนี่ยวนำ (Induction Coil)

        ขดลวดเหนี่ยวนำ ในเครื่องโทรศัพท์จะทำหน้าที่ปรับ อิมพีแดนซ์ (Impedance) ให้เหมาะสมกับสาย และป้องกันไม่ให้เกิด เสียงข้าง (Side Tone) ที่แรงเกินไปหรือเบาเกินไป เพราะถ้าไซด์โทนแรงเกินจะทำให้ผู้พูด พูดเบา และถ้าไซด์โทนเบาเกินจะทำให้ผู้พูด พูดแรง
รูปที่ 2.8 แสดงการต่อขดลวดเหนี่ยวนำ (Induction coil)
2.1.6 หน้าปัดโทรศัพท์ (Dial) 

        ไดอัลหรือหน้าปัดโทรศัพท์ ทำหน้าที่ให้ผู้โทรศัพท์ หมุนหรือกดเลขหมายปลายทางที่ต้องการ เมื่อหมุนหรือกดแล้วก็จะมีวงจรสร้างสัญญาณรหัสขึ้นมา ตามตัวเลขที่เรากดหรือหมุนส่งไปยังชุมสายโทรศัพท์ ให้ถอดรหัสแล้วค้นหาผู้รับต่อไป หน้าปัดของเครื่องโทรศัพท์มี 2 แบบ คือ
       - แบบหมุน (Rotary Dial)
       - แบบกดปุ่ม (Push Button)
รูปที่ 2.9 ลักษณะของหน้าปัดโทรศัพท์
2.1.7 ตัวป้องกัน (Protector) 

        ตัวป้องกัน จะทำหน้าที่ป้องกันโทรศัพท์ไม่ให้ได้รับอันตรายจากไฟสูง หรือ กระชาก ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอโดยเฉพาะ ฟ้าผ่า (ป้องกันได้ระดับหนึ่ง) หรือไฟกระชากที่เกิดจากการยกหู วางหู หรือหมุนหน้าปัดอันจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ โดยทั่วไปจะมีตัวป้องกันไฟ แรงสูงต่ออยู่ ก่อนที่สายโทรศัพท์ จะเข้าบ้านอยู่แล้ว แต่ในเครื่องก็ยังคงมีอีก เพื่อจะ ได้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น
รูปที่ 2.10 สัญลักษณ์ตัวป้องกัน (Protector)
2.1.8 กระดิ่ง (Ringer) 

        กระดิ่ง หรือ เบลล์ (Bell ) เป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียงกระดิ่งดังขึ้น ในเครื่องโทรศัพท์ เพื่อเรียกให้ผู้รับ มารับโทรศัพท์
ปัจจุบันกระดิ่ง มีอยู่ 3 แบบ
              - กระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer)
              - กระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer)
              - กระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)

2.1.8.1 กระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer) 

        เป็นวงจรกระดิ่งที่มีอยู่ในเครื่องโทรศัพท์รุ่นเก่า โครงสร้างแบบกระดิ่งแบบ
แม็กนีโตแสดงตามรูป 2.11
รูปที่ 2.11 โครงสร้างกระดิ่งแบบแม็กนีโต (Magneto Ringer)
        การทำงานของกระดิ่งแบบแม็กนีโต เมื่อไฟกระดิ่งจากชุมสาย ประมาณ 50 Volt AC มาเข้าขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในขดลวด และทำให้ P1 และP2 เกิดเป็นแม่เหล็กขึ้นมาด้วย โดยมีขั้วสลับ N-S กันตลอดเวลา และดูดก้านตีให้เคลื่อนที่ ก้านตีจะไปตีกระดิ่งให้ดัง ด้วยความเร็วตามความถี่ไฟกระดิ่ง ประมาณ 25 Hz
2.1.8.2 กระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer) 

        ในเครื่องรุ่นใหม่จะนิยมใช้ บัสเซอร์ เพราะ บัสเซอร์ นี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก กินกระแสน้อย และยังสามารถเลือกชนิดของเสียงได้ ตามชนิดของ บัสเซอร์ การทำงานกระดิ่งแบบบัสเซอร์ เมื่อมีไฟกระดิ่ง 90 Volts AC 25 Hz เข้ามาจะถูกลดขนาดแรงเคลื่อนลง ให้เหลือพอเหมาะ D1-D4 จะเรียงกระแส และ C1 จะกรอง (Filter) ให้เป็นไฟ DC ส่วน Z1 จะปรับแรงเคลื่อนให้คงที่ เพื่อป้อนไฟเลี้ยงให้ IC1 และ IC2 จะเกิดลูกคลื่น พัลล์( Pulse) ออกมาใหม่มีความถี่ประมาณ 10 Hz เพื่อให้บัสเซอร์ โดยมี R3 และ R4 เป็นตัวเร่งหรือลดเสียง
รูปที่ 2.12 วงจรกระดิ่งแบบบัสเซอร์ (Buzzer Ringer)
รูปที่ 2.13 สัญญาณที่จุดต่าง ๆ ในวงจรกระดิ่ง
        ปกติแล้วบัสเซอร์ ที่ใช้จะเป็น ปีโซบัสเซอร์ (Piezo Buzzer) ซึ่งจะทำงานด้วย AC Pulse ถ้าเราเอาสัญญาณ AC 25 Hz ที่เข้ามาแล้วลดขนาดลงให้พอเหมาะ ป้อนให้บัสเซอร์ โดยตรงก็ได้ แต่ความถี่ AC 25 Hz สูงเกินไป ทำให้เสียงที่ออกมา ไม่น่าฟัง จึงต้องมี IC1 สร้าง ลูกคลื่นพัลล์ (Pulse) ที่มีความถี่ ที่เหมาะสมขึ้นมาใหม่

2.1.8.3 กระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)
รูปที่ 2.14 วงจรกระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)

        เครื่องที่มีราคาสูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกมาก ๆ เช่น มีวงจรแฮนด์ฟรี (Hand Free)
(สนทนาได้โดยไม่ต้องยกหู) ด้วย ส่วนมากจะใช้ลำโพงเป็น กระดิ่งเพราะในเครื่องมีลำโพง ใช้อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีบัสเซอร์อีก โดยดัดแปลงวงจรกระดิ่ง แบบบัสเซอร์ ให้สามารถใช้กับลำโพงได้ดังรูปที่ 2.14 วงจรกระดิ่งแบบลำโพง จะดัดแปลงมาจากกระดิ่งแบบบัสเซอร์ โดยนำ
สัญญาณจาก IC1 ป้อนเข้าหม้อแปลง (Transformer) เพื่อลด หรือเพิ่มแรงเคลื่อนและลดเหลี่ยมของ ลูกคลื่นพัลล์ให้มี สโลป (Slope) บ้าง ซึ่งจะช่วยทำให้ลำโพงไม่เสียหาย 
รูปที่ 2.15 สัญญาณจุดต่างๆ ในวงจรกระดิ่งแบบลำโพง (Speaker Ringer)

2.2 วงจรเครื่องโทรศัพท์
         วงจรเครื่องโทรศัพท์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน มีมากมายหลายแบบ มีทั้งวงจร ง่าย ๆ มี อุปกรณ์ R - L - C ไม่กี่ตัว และมีทั้ง วงจรที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย บางรุ่นไม่มีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) บางรุ่นจะมีอุปกรณ์ สารกึ่งตัวนำ มากมาย วงจรที่มีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ จะอาศัยไฟเลี้ยงวงจรจากสาย ซึ่งปกติจะมีไฟใน สาย ประมาณ 12 Volts (เวลายกหู) แต่ถ้า สายยาวมาก อาจเหลือประมาณ 5 ถึง 6 Volts เครื่องรุ่นใหม่ก็ยังทำงานได้ เพราะได้ออกแบบให้เครื่องทำงาน ที่ไฟประมาณ 5 ถึง 6 Volts ขึ้นไปจากบล็อกไดอะแกรม (Block Diagram) จะเห็นว่าวงจรโทรศัพท์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ วงจรกระดิ่ง และวงจรปากพูด หูฟัง ซึ่งจะมี ฮุคสวิทช์ เป็นตัวเลือก ว่าจะให้สายต่อเข้ากับวงจรใด ซึ่งในขณะที่วางหูอยู่ ฮุคสวิทช์ จะต่อสาย เข้ากับ กระดิ่ง แต่เมื่อมีการยกหูขึ้น ฮุคสวิทช์จะต่อสาย เข้ากับวงจรปากพูดหูฟังทันที
รูปที่ 2.16 บล็อคไดอะแกรม (Block Diagram) ของวงจรโทรศัพท์ 
         วงจรเครื่องโทรศัพท์ที่กล่าวต่อไปนี้ เป็นวงจรพื้นฐานทั่ว ๆ ไป ไม่มีวงจรอำนวยความสะดวก หรือหน่วยความจำ มาเกี่ยว ข้อง โดยจะได้แสดงวงจรตั้งแต่ระบบ แรก ๆ มาจนถึง วงจรที่ใช้งานในปัจจุบัน เพื่อ จะได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และดูการ พัฒนาว่าเป็นอย่างไร พร้อมทั้งจะได้ อธิบายโครงสร้างวงจรแต่ละแบบ อย่างคร่าวๆ ด้วย 
รูปที่ 2.17 วงจรเครื่องโทรศัพท์ในระบบแม็กนีโต (Magneto) 
         จากวงจรโทรศัพท์ในระบบแม็กนีโต จะเห็นว่ามีสิ่งสำคัญอยู่ 3 อย่าง คือแบตเตอรี่ (Battery) แม็กนีโตเจนเนอเรเตอร์ (Magneto Generator) และวงจรโทรศัพท์ วงจรนี้จะมีแบตเตอรี่อยู่ด้วย เพื่อเป็นไฟเลี้ยงวงจรและเลี้ยงสาย เพราะในระบบนี้จะเป็น ระบบโลคอลแบตเตอรี่ คือผู้เช่า (Subscriber) จะต้องมีแบตเตอรี่ ประจำทุกเครื่องส่วนแม็กนีโต เจนเนอเรเตอร์ นั้น มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้โทรศัพท์ (ผู้เรียก) หมุนเพื่อเรียก พนักงานต่อสายซึ่งเมื่อหมุนแม็กนีโตเจนเนอเรเตอร์ นั้น จะมีไฟออกมาประมาณ 50 VAC วิ่งไปตามสาย ไปทำให้หลอดไฟ หรือกระดิ่ง ของพนักงานต่อสายทำงาน
รูปที่ 2.18 วงจรเครื่องโทรศัพท์ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Common Battery) 
รูปที่ 2.19 วงจรเครื่องรับโทรศัพท์แบบไดอัลพัลส์ (Dial Pulse) 
2.3 สัญญาณเสียงโทรศัพท์ (Tone)
         ในการใช้โทรศัพท์ทุกครั้ง เราจะได้ยินสัญญาณเสียง ดังอยู่ในหูฟังในสภาวะ ต่างๆ กัน โดยสัญญาณเสียงเหล่านั้น จะมีความหมายแตกต่างกัน บอกให้เรารู้ ว่าชุมสายพร้อมหรือไม่ หรือผู้รับปลายทางเป็นอย่างไร เราสามารถรู้ได้จาก
สัญญาณเสียงเหล่านี้


2.3.1 ไดอัล โทน (Dial Tone) 


         ไดอัล โทน เป็นสัญญาณเสียงที่บอกให้ผู้เรียกทราบว่า ขณะนี้ชุมสาย พร้อมแล้วให้ผู้เรียกเริ่มหมุนเลขหมาย หรือกดปุ่มเลขหมายได้ ลักษณะของไดอัล โทนจะเป็นความถี่ 400 ถึง 450 Hz ผสม (Modulate) กับ 50 Hz ดังต่อเนื่อง (Continuous) นานประมาณ 30 วินาที ถ้าผู้เรียก ไม่หมุนเลขหมาย ชุมสายจะตัดเป็นไม่ว่าง (Busy) ทันที
รูปที่ 2.20 สัญญาณไดอัลโทน (Dial Tone) 
2.3.2 บิวซี่ โทน (Busy Tone) 

         บิวซี่ โทน เป็นสัญญาณเสียงที่บอกให้ผู้เรียกทราบ ถึงความไม่พร้อมของ ชุมสายหรือผู้รับปลายทางไม่ว่าง ดังนั้น เมื่อได้ยินเสียงบิวซี่ โทน ให้วางหูแล้วเริ่มต้นใหม่ ลักษณะของบิวซี่ โทน จะเป็นความถี่ประมาณ 400 ถึง 450 Hz ดังเป็น จังหวะ 0.5 Sec. ON และ 0.5 Sec. OFF 
รูปที่ 2.21 สัญญาณบิวซี่ โทน (Busy Tone) 
2.3.3 ริงกิ้ง โทน (Ringing Tone) 

         ริงกิ้ง โทน เป็นสัญญาณกระดิ่งดังขึ้นที่เครื่องโทรศัพท์ แสดงว่ามีคนเรียกเข้ามา (กระดิ่งดังที่เครื่องผู้รับเท่านั้น)
ลักษณะของริงกิ้ง โทน จะเป็นไฟ 90 Volt 25 Hz 1 Sec. ON และ 4 Sec.OFF
รูปที่ 2.22 สัญญาณริงกิ้งโทน (Ringing Tone) 
2.3.4 ริงแบ็ค โทน (Ring Back Tone) 

         ริงแบ็ค โทน เป็นสัญญาณเสียงที่ดังขึ้น ในหูฟังของผู้เรียกบอกให้รู้ว่า ปลายทางว่าง (ริงแบ็ค โทน จะดังสอดคล้องพร้อมกับ ริงกิ้ง โทน) ลักษณะของ ริงแบ็ค โทน จะเป็นความถี่ 400-450 Hz ดัง 1 Sec. ON,4 Sec.OFF 
รูปที่ 2.23 สัญญาณริงแบ็ค โทน (Ring Back Tone)

2.3.5 นู โทน (Nu Tone)
         เป็นเสียงที่บอกให้ผู้เรียกรู้ว่าเบอร์ที่เรียกไปนั้น ยังไม่ได้ติดตั้ง ลักษณะ ของ นู โทน จะเป็นความถี่ 400 - 450 Hz ดัง 0.1 Sec. ON , 0.1 Sec. OFF ดัง ต่อเนื่อง
รูปที่ 2.24 สัญญาณนู โทน (Nu Tone) 
2.4 วิธีการใช้โทรศัพท์อย่างถูกต้อง

         การที่จะให้การใช้โทรศัพท์มีประสิทธิภาพสูงสุด และคงทนถาวรนั้น มีข้อ แนะนำสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

         2.4.1 เตรียมเรื่องที่จะพูดให้พร้อม หรือสรุปเรื่องที่จะพูดให้สั้นๆ ได้ใจความก่อนจะโทรศัพท์ เพื่อที่จะได้ ใช้เวลา ในการโทรศัพท์ น้อยที่สุด อันจะเป็นการประหยัดค่าโทรศัพท์ และมีเวลาในการทำภารกิจอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีก อีกทั้งเปิดโอกาสให้
ผู้อื่นได้ใช้ด้วย

         2.4.2 เตรียมเลขหมายที่จะโทรศัพท์ให้พร้อม ก่อนที่จะยกหูโทรศัพท์ขึ้น ควรจดและจำเบอร์โทรศัพท์ปลายทาง ให้พร้อมเสียก่อน เพราะเมื่อยกหูโทรศัพท์ แล้ว จะได้หมุนเลขหมายเลย ไม่ต้องเสียเวลา แต่ถ้าหากเรายกหูก่อน แล้วจึงค้นหา
เลขหมาย ถ้าหากค้นหานั้นนานเกินไปหรือยกหูแล้วเกิน 30 วินาที ยังไม่หมุนเลข หมาย ชุมสายจะตัดทันที และส่งบิวซี่ (Busy) มาให้ นั้นคือ เราต้องวางหูแล้วยกใหม่

         2.4.3 การยกหูโทรศัพท์โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว คนเราจะถนัดมือขวาเป็น ส่วนมากโดยเฉพาะการเขียนการหมุน และกดปุ่มหน้าปัดโทรศัพท์ ดังนั้นเครื่อง โทรศัพท์จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน สำหรับคนถนัดมือขวา ดังจะเห็น
ว่าสายจากเครื่องโทรศัพท์ไปหาหูโทรศัพท์ (Hand Set) จะออกทางด้านซ้ายของเครื่อง โทรศัพท์ (เมื่อเราหันหน้าเข้าหาโทรศัพท์) ดังนั้น การยกหูโทรศัพท์ควรยกหูด้วยมือ ซ้าย ส่วนมือขวาเอาไว้หมุนเลขหมาย และโน๊ตข้อความ เมื่อยกมือซ้ายแล้ว ก็ควรฟัง
ด้วยหูซ้ายด้วย

         2.4.4 การฟังสัญญาณ เมื่อยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาแล้ว ให้ฟังสัญญาณเสียงโทรศัพท์ ที่ดังอยู่ในเครื่องโทรศัพท์ดังนี้
ถ้าได้ยิน ไดอัล โทน (Dial Tone) แสดงว่าชุมสายพร้อมแล้ว ให้หมุนเลขหมายได้ ถ้าได้ยิน บิวซี่ โทน (Busy Tone) แสดงว่าชุมสายไม่พร้อมให้วางหู และเริ่มต้นใหม่ ถ้าไม่ได้ยินเสียงใด ๆ แสดงว่าเครื่องเสีย สายขาด หรือชุมสายเสีย ให้
ตรวจสอบ

         2.4.5 การหมุนเลขหมาย ในเครื่องที่เป็นแบบหมุน การหมุนควรใช้นิ้วชี้ มือขวาลอดไปในรูตัวเลขที่ต้องการ แล้วหมุนให้มาถึง ตัวหยุด (Lock) จึงหยุด และปล่อยให้หน้าปัดหมุนกลับเอง โดยไม่ต้องช่วยหมุนไม่ควรใช้ปากกาหรือวัสดุ
อื่นใด ใช้หมุนแทนนิ้วมือเพราะอาจทำให้มีรอยขีด หรือสกปรกได้ และในช่วงที่หน้าปัด หมุนกลับนั้น ถ้าเราใช้มือหมุนช่วย จะทำให้หน้าปัดหมุนเร็วกว่าปกติ นั่นคือ จะทำให้ จำนวนลูกคลื่นพัลล์ (Pulse) ต่อวินาทีผิดไป และ ความกว้างของลูกคลื่นพัลล์ (Pulse Width) ก็เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้การนับลูกคลื่นพัลล์ ที่ชุมสายผิดเพี้ยนไปได้ ทำให้การต่อปลายทางผิดพลาด เมื่อหมุนเลขหมายแล้ว ให้ฟังสัญญาณเสียงโทรศัพท์ในหูฟัง ดังนี้ ถ้าได้ยิน ริงแบ็ค โทน (Ring Back Tone) แสดงว่า ติดต่อปลายทางได้แล้ว ให้รอสักครู่ (ในกรณีที่สายโทรศัพท์ปลายทางขาด ก็จะได้ยินริงแบ็ค โทน เช่นกัน) ถ้าได้ยิน บิวซี่โทน (Busy Tone) แสดงว่าปลายทางไม่ว่าง ให้วางหูแล้วเริ่มต้นใหม่ ในกรณีที่สายโทรศัพท์ปลายทาง ลัดวงจร (Short) ก็จะได้ยินบิวซี่ โทน เช่นกัน ถ้าได้ยิน นู โทน (Nu Tone) แสดงว่าเลขหมายนั้นถูกยกเลิก หรือยังไม่ได้ติดตั้ง

         2.4.6 การสนทนา การสนทนาควรใช้ภาษาที่สุภาพ พูดด้วยน้ำเสียงปกติ ไม่เบา หรือแรงเกินไป พูดให้ชัดเจน และกระทัดรัดที่สุด

         2.4.7 การวางหู ให้วางเบา ๆ เพื่อถนอมเครื่อง และไม่เป็นการเสียมารยาทกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจยังถือหูอยู่ หากวางแรง ๆ จะทำให้เกิด เสียงดังขึ้นที่เครื่องอีกฝ่ายหนึ่งได้